โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เวนคืนที่ดิน! สร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ใครได้? ใครเสีย?

Another View

เผยแพร่ 10 ม.ค. 2562 เวลา 13.00 น.

เวนคืนที่ดิน!  สร้างรถไฟเชื่อมสนามบินใครได้? ใครเสีย?

หลังการเฟ้นหาผู้ที่เหมาะสมดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จบลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่ากลุ่ม CP เอาชนะ BTS ไปได้ด้วยการขอเงินสนับสนุนจากรัฐบาลในจำนวนที่น้อยกว่า และสามารถพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ให้เกิดผลกำไรเพิ่มเติมได้ โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินอู่ตะเภานี้มีมูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท ประกอบไปด้วย ค่าลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน 168,718 ล้านบาท ค่าลงทุนในระบบเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาท ค่าพัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชาอีกราว 45,155 ล้านบาท

เวนคืนที่ดินใน 5 จังหวัด

จากความชัดเจนของโครงการที่เกิดขึ้น ล่าสุดหลังเทศกาลปีใหม่ 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็มีมติอนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ด้วยระยะทางรวม 220 กิโลเมตร โดยเขตที่ดินที่จะเวนคืนอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ

1.ท้องที่แขวงคลองสามประเวศ แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

2. ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

3. ตำบลบางเตย ตำบลวังตะเคียน ตำบลท่าไข่ ตำบลบางขวัญ ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

4. ตำบลบ้านสวน ตำบลหนองข้างคอก ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมืองชลบุรี / ตำบลบางพระ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา ตำบลนาเกลือ ตำบลหนองปรือ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง / ตำบลนาจอมเทียน ตำบลบางเสร่ ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

5. ตำบลสำนักท้อน ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

ที่ดินที่เวนคืนเหล่านี่จะนำไปก่อสร้างทางเข้าออกสถานีทางรถไฟและดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์แก่โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยรวมแล้วมีที่ดินที่จะต้องเวนคืนประมาณ 850 ไร่ และสิ่งปลูกสร้างประมาณ 245 หลัง โดยจะมีการสำรวจเส้นทางการเวนคืนพื้นที่ พร้อมทำความเข้าใจกับประชาชนทันที โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เจ้าของที่ดินได้หรือเสีย?

แต่ไหนแต่ไรมาราคาที่รัฐบาลเวนคืนที่ดินจากประชาชนนั้น จะอ้างอิงจากราคาประเมินโดยกรมที่ดิน ซึ่งมักไม่สูงนัก ขณะที่ราคาซื้อขายจริงสามารถขยับขึ้นไปได้ 2-3 เท่า เป็นอย่างต่ำ ยกตัวอย่างเช่นราคาที่ดินบางพื้นที่ใน จ.สระแก้ว ที่มีการสำรวจมา พบว่าราคาประเมินโดยกรมที่ดินอยู่ที่ 70,000 บาท แต่มีราคาซื้อขายจริงสูงถึง 150,000 – 210,000 เลยทีเดียว จึงน่าเป็นห่วงสำหรับเจ้าของที่ดินที่อาจซื้อที่ดินมาในราคาที่แพงกว่าราคาประเมิน แต่ต้องขายไปในราคาประเมิน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการขาดทุนไปโดยปริยาย แต่อย่างไรก็ตามราคาซื้อขายที่ดินก็นับว่าขื้นอยู่กับความพึงพอใจเป็นสำคัญ หากเจ้าของที่ดินไม่พึงพอใจกับราคาที่ได้รับก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ แม้จะดูเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล แต่นี่อาจทำให้การก่อสร้างโครงการเกิดความล่าช้าจนกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมก็เป็นได้

 อดเปรี้ยวไว้กินหวาน…อย่าเสียรู้นายทุน! 

อีกกรณีที่น่าเป็นห่วง คือ บรรดานายทุนอาจถือโอกาสนี้เข้าขอซื้อที่ดินจากชาวบ้านเพื่อเก็งกำไรที่ดิน อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ในเวลานั้นราคาที่ดินในย่านลาดกระบังก็ทะยานสูงขึ้นพอ ๆ กับการไต่ระดับของเครื่องบินเลยทีเดียว หากคุณหรือคนรอบข้างถือครองที่ดินในย่านที่มีการก่อสร้างโครงการ ก็ขอให้เข้าตรวจสอบกับหน่วยงานรัฐในพื้นที่ให้ชัวร์ อย่าเห็นแก่กำไรเล็ก ๆ น้อย ๆ จากนายทุน แต่ถ้าคุณถือครองที่ดินในย่านใกล้เคียง ก็ขอให้พิจารณาดูว่าจะพัฒนาที่ดินต่อยอดประโยชน์ในอนาคต หรือจะรอขายในจังหวะราคาที่พึงพอใจ…ก็สุดแล้วแต่ใจคุณ.

http://www.thansettakij.com/content/368938

https://mgronline.com/specialscoop/detail/9610000114309

https://brandinside.asia/cp-consortium-beat-bts-consortium-bid-high-speed-train-3-airports-project/

https://www.thebangkokinsight.com/82264/

http://www.realist.co.th/blog/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%94-3-%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99/

http://www.green.it/edilizia-circolare/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0