โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เลือกตั้ง 62 : ไทยยังเสี่ยงเจอ "รัฐประหาร" หากผลลัพธ์ไม่ตรงใจผู้มีอำนาจ

มติชนสุดสัปดาห์

เผยแพร่ 21 มี.ค. 2562 เวลา 03.48 น.
53934076_2293997687549716_3956005788350152704_n-696x448

จากการเสวนาของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศหรือ FCCT เรื่อง “เลือกตั้งประเทศไทย เดินหน้าหรือถอยหลัง?” เมื่อคืนวันที่ 19 มี.ค.2562 นักวิชาการต่างชาติที่ติดตามสถานการณ์การเมืองไทยมายาวนานมองว่า มีความเป็นไปได้ที่ไทยจะเกิดรัฐประหารอีก หากผลการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามที่ผู้มีอำนาจหวังไว้

ผู้ร่วมเสวนาครั้งนี้ ได้แก่ อ.คริส เบเกอร์ ผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองไทย ชาวอังกฤษ, อ.อนุสรณ์ อุณโณ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์, อ.พอล แชมเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกองทัพไทย จากสหรัฐอเมริกา และ นายธีรนัย จารุวัสตร์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ “ข่าวสดภาคภาษาอังกฤษ”

อ.คริส วิเคราะห์ว่า หลังจากสั่งห้ามแสดงออกทางการเมืองมาเกือบ 5 ปีหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 2557 คสช.อาจคิดว่าตนเองสามารถทำอะไรก็ได้ และคงคิดว่าจะลงเลือกตั้งได้อย่างสบายๆ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่พรรคพลังประชารัฐเปิดตัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นแคนดิเดตนายกฯอย่างเป็นทางการ เห็นได้ชัดว่ากระแสไม่ได้ดีดังที่คาดไว้

นักวิชาการท่านนี้ยังวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยว่า มีปัจจัย 5 อย่างอยู่เบื้องหลังการเลือกตั้ง 24 มี.ค. นั่นคือ 1. การเมืองแบบผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นได้กลับมามีบทบาทอีกครั้ง เชื่อว่าคนจะเลือกลงคะแนนให้นักการเมืองที่ใหญ่โตแถวบ้านตนเอง 2. การถกเถียงกันว่า ทหารควรมีบทบาทเช่นไรในระบอบประชาธิปไตย 3. ความนิยมและเกลียดชังต่ออดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร 4. ความแตกต่างระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ และ 5. พล.อ.ประยุทธ์เชื่อว่าตนเองจะชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งอีกสมัยได้หรือไม่

“ถ้าหาก คสช. เริ่มแตกตื่นว่าตัวเองจะไม่ชนะ พวกเขาอาจจะทำในสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง” อ.คริสกล่าว และเสริมว่าอะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้

ด้านอ.พอล ระบุว่า ก่อนหน้านี้คณะรัฐประหารอาจจะคิดว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์แก่พวกตนได้ เพราะมีการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นต่างๆ มาเกือบ 5 ปี แต่การเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมากลับชี้ว่า ประชาชนยังตื่นตัวในการออกไปใช้สิทธิ์ ขณะที่หลายพรรคการเมืองมีนโยบายลดอำนาจและบทบาทของกองทัพ

“กองทัพไม่ได้คาดการณ์ว่าจะมีกระแสเรียกร้องเช่นนี้เกิดขึ้น” อ.พอลกล่าว

พอลกล่าวอีกว่า ถ้าหากพรรคพลังประชารัฐชนะ ประเทศไทยก็จะกลับไปสู่ “มุขเดิมๆ” สมัยรัฐประหารของพล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่หัวหน้าคณะรัฐประหารกลับมาดำรงตำแหน่งนายกฯได้ และฝ่ายทหารเองก็รู้สึกว่าจำเป็นที่จะชนะการเลือกตั้งให้ได้ เพื่อที่คนอย่างนายทักษิณ จะไม่สามารถกลับคืนสู่อำนาจได้อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แปลว่าพรรคพลังประชารัฐจะชนะอย่างแน่นอน ตนเองเชื่อว่ากองทัพได้ทำโพลล์ของตนเองแล้วว่าจะได้คะแนนเสียงเท่าไหร่ หรือต่อให้ชนะได้จริง แต่ได้เป็นแค่เพียงเสียงส่วนน้อยในสภาผู้แทนราษฎร จนทำให้ส.ส.ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล สามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และคัดค้านการออกกฎหมายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จนรัฐสภาเกิด “ทางตัน” ฝ่ายกองทัพก็มีหมากสำคัญคือ รัฐประหารอีกครั้ง

“ทางออกสุดท้ายของพวกเขาคือทำรัฐประหารเสียเลย” อ.พอลกล่าว พร้อมเสริมว่าผู้บัญชาการกองทัพบกเองก็เคยพูดทำนองว่า อาจมีรัฐประหารหากมีความไม่สงบในบ้านเมือง

นอกจากนี้ ตนอยากเตือนว่า กว่ากกต.จะรับรองผลการเลือกตั้ง ก็ปาเข้าไปต้นเดือนพฤษภาคม หากผู้สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ ได้ข้อมูลว่าพรรคพลังประชารัฐจะแพ้แล้วแน่ๆ ก็อาจจะมีการร้องเรียนไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การเลือกตั้ง 24 มี.ค.เป็นโมฆะ และให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นรัฐบาลรักษาการอีกอย่างน้อยหนึ่งปี กว่าจะมีเลือกตั้งอีกครั้ง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0