โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เลือกตั้ง 62 | ใบเหลือง-ส้ม-แดง-ดำ ส่งผลอย่างไรกับการเลือกตั้ง

TODAY

อัพเดต 23 เม.ย. 2562 เวลา 11.49 น. • เผยแพร่ 23 เม.ย. 2562 เวลา 11.49 น. • Workpoint News
เลือกตั้ง 62 | ใบเหลือง-ส้ม-แดง-ดำ ส่งผลอย่างไรกับการเลือกตั้ง

ก่อนประกาศรับรองผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ กกต. สามารถแจก'ใบส้ม' ให้กับผู้สมัครเป็นรายบุคคล เพื่อระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งชั่วคราวไม่เกิน1 ปีได้ และต้องเลือกตั้งใหม่ทั้งเขตในกรณีที่ผู้ถูกตัดสิทธิเป็น'ว่าที่ ส.ส.' ซึ่งได้คะแนนโหวตสูงสุดของเขตนั้น  ส่วนกรณีหลังจาก กกต. ประกาศรับรองผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการไปแล้ว หากพบหลักฐานว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งเพิ่มเติม กกต. สามารถยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้พิจารณาแจก'ใบเหลือง' เพื่อเลือกตั้งใหม่ หรือแจก'ใบแดง' ให้กับผู้ที่ทุจริต เพื่อตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือตัดสิทธิเลือกตั้งได้ และในกรณีที่ศาลฎีกาตัดสินให้ตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งจากผลของใบแดง ผู้สมัครคนนั้นจะได้รับ'ใบดำ' ไปด้วย และส่งผลตัดสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต

 

 

ก่อนวันที่9 พ.ค. 62 ซึ่งคาดว่า กกต. จะประกาศรับรองผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ กกต. สามารถแจก'ใบส้ม' ให้กับผู้สมัครเป็นรายบุคคล หากพบหลักฐานที่เชื่อได้ว่าผู้สมัครหรือผู้ใดทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างไม่สุจริต โดยผู้ที่ได้รับใบส้มจะถูกระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งชั่วคราวไม่เกิน1 ปี  และต้องเลือกตั้งใหม่ทั้งเขตในกรณีที่ผู้ถูกตัดสิทธิเป็น'ว่าที่ ส.ส.' ซึ่งได้คะแนนโหวตสูงสุดของเขตนั้น และพรรคของคนที่ได้ใบส้มจะส่งผู้สมัครคนอื่นลงสมัครแทนอีกไม่ได้ แต่ถ้าคนที่ได้ใบส้มเป็นผู้สมัครที่ได้คะแนนโหวตอันดับ2 เป็นต้นไป คะแนนของผู้สมัครคนนั้นๆ จะถูกตัดเป็น0 ไม่ถูกนับรวมให้พรรคในการคำนวณ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์

 

สำหรับช่วงหลังจาก กกต. ประกาศรับรองผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว กกต. ยังสามารถยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้พิจารณาแจก'ใบเหลือง' ในกรณีที่พบหลักฐานอันเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งไม่สุจริต เที่ยงธรรม แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำผิดได้อย่างชัดเจน  โดยผลของใบเหลืองดังกล่าวจะส่งผลให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในเขตดังกล่าว แต่จะไม่มีผู้สมัครคนใดถูกตัดสิทธิทางการเมือง

 

ส่วน'ใบแดง' กกต. สามารถยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้พิจารณาแจกแก่ผู้สมัครที่ทุจริตการเลือกตั้งได้หลังจากประกาศรับรองผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้วเช่นกัน โดยผู้สมัครที่ได้ใบแดงอาจถูกตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง10 ปี หรือถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง10 ปี แล้วแต่การพิจารณาของศาลฎีกา  นอกจากนี้ กกต. ยังต้องจัดเลือกตั้งใหม่ในกรณีที่ผู้ถูกตัดสิทธิเป็น'ว่าที่ ส.ส.' ซึ่งได้คะแนนโหวตสูงสุดของเขตนั้น และพรรคของคนที่ได้ใบแดงจะส่งผู้สมัครคนอื่นลงแทนไม่ได้ แต่ถ้าคนที่ได้ใบแดงเป็นผู้สมัครที่ได้คะแนนโหวตอันดับ2 เป็นต้นไป คะแนนของผู้สมัครคนนั้นๆ จะถูกตัดเป็น0 ไม่ถูกนับรวมให้พรรค

 

นอกจากนั้น ผู้สมัครที่ได้ใบแดงที่ศาลตัดสินตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งยังจะได้'ใบดำ' ซึ่งหมายถึงการถูกตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิตไปโดยอัตโนมัติด้วย  เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา235 ระบุว่าผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่ว่าในกรณีใด ผู้นั้นไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ อีก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0