โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

"เลือกตั้งปีหน้า"ไม่กระทบการเบิกจ่ายเมกกะโปรเจคท์

เดลินิวส์

อัพเดต 15 พ.ย. 2561 เวลา 06.08 น. • เผยแพร่ 15 พ.ย. 2561 เวลา 06.01 น. • Dailynews
เมกกะโปรเจคท์ หนุนงานก่อสร้างปีหน้าคึกคัก  คาดเลือกตั้งไม่ส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายคาดว่าแตะระดับ40,000 ล้านบาท

รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย แจ้งว่า การลงทุนโครงการเมกะโปรเจคปี 62 ที่ได้รับการอนุมัติแล้วและคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปีหน้า มีมูลค่าโครงการรวมประมาณ 950,200 ล้านบาท โดยเน้นยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ EEC ที่มีโครงการรัฐเป็นมูลค่ารวมเกือบ 684,018 ล้านบาทหรือคิดเป็นสัดส่วน 72% ของมูลค่าโครงการที่อยู่ในแผนงานการก่อสร้างทั้งหมด ซึ่งปัจจุบัน อยู่ระหว่างกระบวนการสรรหาผู้ชนะการประกวดราคา ทั้ง โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน, โครงการท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุดเฟสที่ 3, และโครงการเมืองการบินภาคตะวันออก โดยการวางโครงสร้างพื้นฐานถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาในพื้นที่นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับผ่าน พ.ร.บ.อีอีซี

นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งเป็นรถไฟทางคู่สายใหม่ที่คาดว่าจะก่อสร้างเป็นเส้นทางแรกจากทั้งหมด 9 เส้นทาง รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์) ที่จะมีการประมูลภายในช่วงต้นปีและเชื่อว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า

ทั้งนี้เชื่อว่าการลงทุนภายใต้เงื่อนไขของการเลือกตั้ง และการดำเนินงานของรัฐบาลชุดใหม่ไม่กระทบต่อความคืบหน้า ของการดำเนินโครงการต่างๆอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงขั้นตอนการหาผู้ชนะการประกวดราคาของโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้วเป็นไปตามแผนที่วางไว้  สำหรับการการเบิกจ่ายเงินของภาครัฐจากเมกกะโปรเจคอาจสูงกว่าปี 61 โดยการเร่งตัวของการเบิกจ่ายน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 62 หรือหลังผ่านการเลือกตั้งในช่วงครึ่งปีแรกแล้ว คาดว่าจะอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท เนื่องจากหลายโครงการอยู่ในขึ้นตอนต่อเนื่องของการเบิกใช้เงิน ได้แก่ รถไฟทางคู่เฟสที่ 1 ทั้ง 7 เส้นทาง, รถไฟฟ้าสายสีแดงที่ยังมีการเบิกจ่าย ในส่วนของงานโยธาสถานีกลางบางซื่อ เป็นต้น

แนวโน้มที่ดีของเม็ดเงินก่อสร้างจากภาครัฐที่จะเข้าสู่ระบบที่สูงขึ้นมีบทบาทกระตุ้นห่วงโซ่อุปทานทั้งในส่วนต้นน้ำ คือกลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มปลายน้ำ คือ กลุ่มผู้รับเหมาช่วง (Sub-contractors) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเมินต่อไปในช่วงปี ถัดๆ ไป หรืออย่างน้อยในปี 63 คาดว่าการเบิกจ่ายเงินสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นอีก บนสมมติฐานที่ประเทศไทยมีเสถียรภาพทางการเมืองและมีการผลักดันโครงการเหล่านี้้อย่างต่อเนื่อง สำหรับประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่ การบริหารจัดการแหล่งที่มาของเงินทุน ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน ภายใต้สถานการณ์ที่ต้นทุนทางการเงินในประเทศมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปีข้างหน้า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0