โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เลี้ยงแหนแดง สุดยอดปุ๋ยบำรุงข้าว

รักบ้านเกิด

อัพเดต 20 พ.ย. 2562 เวลา 01.49 น. • เผยแพร่ 20 พ.ย. 2562 เวลา 01.49 น. • รักบ้านเกิด.คอม

คุณลำพอง สู้วงศ์ เป็นชาวนามาแต่ดั้งเดิม ก่อนหน้าคุณลำพองทำเกษตรกรรมในรูปแบบเชิงเดี่ยว ทำนาเพียงอย่างเดียว ไม่มีการปลูกพืชผสมผสานอื่นๆร่วมด้วย อีกทั้งการทำนายังพึ่งพาเพียงแต่ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงอีกด้วย ทำให้ต้นทุนในการทำนาสูง จึงทำให้การทำนานั้นขาดทุน เมื่อประสบกับปัญหาขาดทุน คุณลำพองจึงเริ่มต้นที่จะศึกษาเพื่อหาทางเลือกในการทำการเกษตรในรูปแบบใหม่ จากเดิมที่ทำนาเพียงเพื่อขายข้าวเปลือก ได้ปรับเปลี่ยนมาทำนามาเพื่อขายเมล็ดพันธุ์ หลังจากที่คุณลำพองปรับเปลี่ยนวิธีการทำนามาเป็นทำนาเพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ คุณลำพองประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการขายเมล็ดพันธุ์ข้าว กข. 57. ที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยนาท

แหนแดงเป็นเฟินน้ำ ขนาดเล็ก ลอยบนผิวน้ำ ต้นแก่ที่ได้รับแสงเต็มที่จะเป็นสีแดงคล้ำ ต้นอ่อนหรือได้รับแสงไม่เต็มที่จะเป็นสีเขียว แตกกิ่งแบบขนนก รากเป็นรากพิเศษ ยาวอยู่ทางด้านใต้ของลำต้น ทั้งต้นและกิ่งมีใบขนาดเล็กปกคลุม เรียงสลับซ้อนกัน ใบแต่ละใบแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน ส่วนบนหนา สีเขียวหรือสีแดง ส่วนล่างบางอยู่ใต้น้ำ ไม่ค่อยมีสี ใบล่างสุดสร้าง sporocrap 2-4 อัน ที่แกนของใบด้านใต้ใบ ภายในมีเมกะสปอร์และไมโครสปอร์
แหนแดงเป็นพืชน้ำมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น และมีโปรตีนสูง เน่าสลายปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

แหนแดงมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
-ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน โดยที่ในโพรงใบแหนแดง สามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำหรับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ หลังถูกไถกลบจะย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในระยะเวลาที่สั้นประมาณ 8 สัปดาห์ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงจะคลุมผิวน้ำป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้ำ ทำให้วัชพืชในน้ำเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
-แหนแดงสามารถเลี้ยงได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแหนแดงในนาข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลา พบว่า มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตข้าวใกล้เคียงกับการเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีตามปกติ และยังให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว
-โครงสร้างของชีวมวลของแหนแดงมีหมู่คาร์บอกซิลและหมู่ฟอสเฟตจึงใช้เป็นตัวดูดซับโลหะหนักได้ โดยแหนแดงที่ทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมคลอไรด์จะดูดซับตะกั่ว, แคดเมียม, ทองแดง และสังกะสีในน้ำเสียได้ดี

วิธีการเลี้ยง คือ ต้องเอาไปหว่านประมาณ 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ จะเห็นผลภายใน 15 วัน มันจะแผ่เต็มที่เลย พอเสร็จแล้วก็ปล่อยน้ำเข้านา ที่นาของคุณลำพอง 80 วัน สามารถใส่รองเท้าลงไปได้เลย มันแห้งแล้วก็ปูด้วยแหนแบบนี้ แหนมันไม่ตาย พอเราหล่อน้ำมันก็จะโตอยู่ในนาตลอดอายุของมัน ประมาณ 50 วันมันก็แดง มันจะย่อยเป็นปุ๋ย เรียกว่าปุ๋ยพืชสด

คุณลำพองได้แหนมาจากจังหวัดชัยนาท ในบ่อที่วิทยาลัยพยาบาลชัยนาท แถวเขื่อนเจ้าพระยา แต่ก็มีที่เขาเลี้ยงอยู่เป็นของอาจารย์ธวัช ที่ จ.ลพบุรี ท่าวุ้ง คุณลำพองก็ไปขอเขามา เอามาแบบนี้เลย เอามาเลี้ยงตั้งแต่ปี 2554 การเลี้ยงก็คือการปล่อยลงน้ำไว้ ธรรมดาเลี้ยงไว้ในบ่อนี้ บ่อหนึ่งประมาณ 5 กิโล วิธีการคือเอาไปวาง แล้วเขาก็จะขยายไป ใส่แค่กำมือเดียวมันก็จะขยาย ประมาณอาทิตย์หนึ่งก็จะหนาเต็มเลย เขาเรียกแหนแดง เพราะมันจะหมด มันจะแก่ เราก็ต้องขยับเอามันออกไปบ้าง ให้มันเหลือน้อยลง เป็นการเพิ่มไนโตรเจนและเป็นการคุมวัชพืชให้ขึ้นยากขึ้นในตอนน้ำแห้ง แต่ตอนนี้คุณลำพองไม่ได้ทำแล้ว เพราะในช่วงแล้งมันไม่ค่อยได้ผล ต้องทำช่วงเดือนเมษายนไปถึงพฤษภาคม เข้าหน้าฝนจะเห็นชัด

ก่อนที่จะเอาแหนลง ต้องหว่านข้าวให้โตก่อน แล้วค่อยปล่อยแหน หลังจากนั้นก็ทำให้แห้ง ประมาณเจ็ดวันมันก็จะเต็มบ่อ ก็สามารถเอาส่วนนี้ไปใส่นาพอใส่นาไปสัก 10 กิโลกรัมต่อไร่ ราวๆ หนึ่งเดือน จะเห็นแหนขึ้นเต็มนาเลย มันจะเต็มตามช่องนาดำ พอเราปล่อยน้ำแห้งมันก็จะเหมือนเดินบนพรม เขาเรียกแหนเป็ดเป็นแหนไม่มีประโยชน์เพราะมันไม่มีราก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0