โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เร่งสืบทรัพย์บังคับคดีข้าวจีทูจี 20,000 ล้านบาท

คมชัดลึกออนไลน์

อัพเดต 17 ก.พ. 2563 เวลา 17.00 น. • เผยแพร่ 17 ก.พ. 2563 เวลา 17.00 น.

18 กุมภาพันธ์ 2563 นายศุภฤกษ์ เอี่ยมลออ รักษาการผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) กล่าวว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้เร่งติดตามการบังคับคดียึดทรัพย์สินรวมกว่า 20,000 ล้านบาท จากกลุ่มเอกชนที่เกี่ยวข้องกับคดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ซึ่งหน่วยงานรัฐ 5 แห่งเป็นโจทย์ร่วมได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก) กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง

ทั้งนี้ศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 ระบุว่า อัยการสูงสุดซึ่งเป็นฝ่ายโจทก์ร่วมกับทั้ง 5 หน่วยงานได้ฟ้องร้องจำเลยประกอบด้วย นายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว เป็นจำเลยที่ 1 นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว จำเลยที่ 2

พ.ต. นพ. ดร. วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตเลขานุการ รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 3 นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ จำเลยที่ 4 นายทิฆัมพร นาทวรทัต อดีตรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ จำเลยที่ 5 นายอัครพงศ์ ช่วยเกลี้ยงหรือทีปวัชระ อดีต ผอ.สำนักการค้าข้าวต่างประเทศ จำเลยที่ 6 นายสมคิด เอื้อนสุภา จำเลยที่ 7 นายรัฐนิธ โสจิระกุล จำเลยที่ 8

นายลิตร พอใจ จำเลยที่ 9 บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด จำเลยที่ 10 น.ส.รัตนา แซ่เฮ้ง จำเลยที่ 11 น.ส.เรืองวัน เลิศศลารักษ์ จำเลยที่ 12 น.ส.สุทธิดาหรือสุธิดา ผลดีหรือจันทะเอ จำเลยที่ 13 นายอภิชาติ หรือเสี่ยเปี๋ยง จันทร์สกุลพร นักธุรกิจค้าข้าวคนสำคัญ จำเลยที่ 14 นายนิมล หรือโจ รักดี จำเลยที่ 15 นายสุธี เชื่อมไธสง คนสนิทของนายอภิชาติหรือเสี่ยเปี๋ยง จำเลยที่ 16

นางสุนีย์ จันทร์สกุลพร ญาติเสี่ยเปี๋ยง จำเลยที่ 17 นายกฤษณะ สุระมนต์ จำเลยที่ 18 นายสมยศ คุณจักร จำเลยที่ 19 บริษัท กีธา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัดหรือบริษัท สิราลัย จำกัด จำเลยที่ 20 น.ส.ธันยพร จันทร์สกุลพร บุตรสาวเสี่ยเปี๋ยง จำเลยที่ 21 ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงสีกิจทวียโสธร จำเลยที่ 22 นายทวี อาจสมรรถ หุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 23

บริษัท กิจทวียโสธรไรซ์ จำกัดโดยนายทวี อาจสมรรถ กรรมการ จำเลยที่ 24 บริษัท เค.เอ็ม.ซี. อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด จำเลยที่ 25 นายปกรณ์ ลีศิริกุล กรรมการบริษัท จำเลยที่ 26 บริษัท เจียเม้ง จำกัด จำเลยที่ 27 และนางประพิศ มานะธัญญา กรรมการบริษัท จำเลยที่ 28 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์ ใช้อำนาจโดยทุจริตสร้างความเสียหายแก่รัฐ

อย่างไรก็ตามในส่วนของคดีแพ่งศาลพิพากษาให้จําเลยได้แก่ บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด นายอภิชาติ หรือเสี่ยเปี๋ยง จันทร์สกุลพร นักธุรกิจค้าข้าวคนสำคัญ และนายนิมล หรือโจ รักดีร่วมกันชําระเงิน 20,057,723,761.66 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 4,717,165,241.54 บาท นับแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2554 ของต้นเงิน 1,337,547,891.79 บาท นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2555 ของต้นเงิน5,694,745,496.73 บาท นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 และของต้นเงิน 162,665,543.00 บาท นับแต่วันที่ 10 กันยายน 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จ

สำหรับบริษัท กีธา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัดหรือบริษัท สิราลัย จำกัด และน.ส.ธันยพร จันทร์สกุลพร บุตรสาวเสี่ยเปี๋ยง ร่วมกันชําระเงิน 2,135,632,483.87 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จ โดยดอกเบี้ยนับถึงวันยื่นคําร้อง ต้องไม่เกินจํานวนตามที่ผู้ร้องทั้ง 5 ขอ กับให้จําเลยที่ 22 และที่ 23 ร่วมกันชําระเงิน 27,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 เมษายน 2559 เป็นต้น ไปจนกว่าจะชําระเสร็จ

จําเลยที่ 23 และที่ 24 ร่วมกันชําระเงิน 47,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้บริษัท เค.เอ็ม.ซี. อินเตอร์ไรซ์ (2002) จำกัด นายปกรณ์ ลีศิริกุล กรรมการบริษัท ร่วมกันชําระเงิน 15,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่วันที่ 21 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จ

ให้บริษัท เจียเม้ง จำกัด จำเลยที่ 27 และนางประพิศ มานะธัญญา กรรมการบริษัท จำเลยที่ 28ร่วมกัน ชําระเงิน 55,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 เมษายน 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จ

นายศุภฤกษ์ บอกอีกว่า ตามขั้นตอนหลังคำพิพากษา หน่วยงานรัฐทั้ง 5 แห่งต้องร่วมกันเร่งบังคับคดีเพราะหากปล่อยเนิ่นนาน จำเลยอาจโอนย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปเสียหมด ทำให้ติดตามได้ยากขึ้น ดังนั้นอ.ต.ก. จึงยื่นเรื่องต่อกรมบังคับคดีเพื่อบังคับหรือยึดทรัพย์จำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว โดยไม่รอกรมการค้าต่างประเทศ อคส. กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง ขณะนี้ทำหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมที่ดิน ธนาคาร และอื่นๆ เพื่อสืบทรัพย์ของจำเลยว่า มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดและอยู่ที่ไหนบ้างเพื่อให้นำทรัพย์ขายทอดตลาด แล้วชำระคืนรัฐเพื่อไม่ให้รัฐเสียหายไปมากกว่านี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0