โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit

Next Empire

อัพเดต 14 ส.ค. 2561 เวลา 02.31 น. • เผยแพร่ 23 มิ.ย. 2561 เวลา 05.50 น. • NextEmpire Team
เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit
เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit
เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit
เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าชีวิตของคนเราขึ้นอยู่กับคะแนนที่คนอื่นมอบให้?

    ในซีรีส์ Black Mirror ของ Netfix เราจะเห็นตอนหนึ่งที่มีชื่อว่า ‘Nosedive’ ซึ่งเล่าถึงสังคมเมืองที่มีระบบการให้คะแนนนิยม ยิ่งคะแนนสูงมากยิ่งได้รับสิทธิพิเศษมาก แต่ตอนนี้สังคมที่ว่านั้นไม่ได้อยู่แค่ในซีรีส์อีกต่อไป เพราะในปัจจุบันประเทศจีนเองก็มีการใช้ระบบที่ใกล้เคียงกันนี้ ในชื่อว่า Social Credit

เมื่อแดนมังกรกลายเป็น Black mirror ในโลกแห่งความจริง

    ถึงจะบอกว่าเหมือนกัน แต่จริงๆแล้วในโลกแห่งความจริงและโลกซีรีส์ก็มีระบบที่แตกต่างกันอยู่

    ใน Nosedive จากซีรี่ส์ Black Mirror มีระบบการให้คะแนนค่านิยมโดยเพื่อนทางออนไลน์ ผู้คนมีดวงตาที่สามารถเห็นคะแนนค่านิยมของคนรอบข้างได้ ซึ่งสิ่งสำคัญของการใช้ชีวิตในสังคมนี้คือการสร้างภาพให้ตัวเองมีความสุขและทำตัวเป็นคนดีของสังคม เป็นเพื่อนกับคนที่มีคะแนนสูงกว่าโดยหวังว่าอีกฝ่ายจะให้คะแนนตัวเอง เรียกได้ว่าระบบนี้มีส่วนสำคัญคือการทำดีต่อสังคม ทำตามกฎระเบียบ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง 

    แต่ในโลกความจริงนั้นต่างออกไป เพราะที่ประเทศจีนได้เริ่มทำระบบที่คล้ายคลึงกันอย่างระบบ Social Credit ซึ่งยังคงเป็นการทำตามกฎระเบียบและการทำดีต่อสังคม แต่การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างอาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอย่างในซีรี่ย์ เพราะระบบจะเป็นผู้ให้คะแนนผ่านข้อมูลออนไลน์และการใช้ชีวิตประจำวันในสังคม ดวงตาในการสำรวจผู้คนเป็นของกล้องวงจรปิด และการเป็นเพื่อนกับคนที่มีคะแนนต่ำกว่านอกจากจะไม่สามารถช่วยเพื่อนคนนั้นได้แล้ว ยังเป็นการฉุดคะแนนของตัวเองให้ต่ำลงไปด้วย!

    ถึงกระนั้น สิ่งที่เหมือนกันทั้งในโลกของซีรีส์และโลกความจริงคือสิทธิพิเศษสำหรับผู้มีคะแนนสูง ยิ่งคะแนนสูงมากเท่าไหร่สิทธิพิเศษที่ได้ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่มีคะแนนต่ำคุณจะถูกตัดสินว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ และถูกจำกัดสิทธิต่างๆในทันที ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือการทำตัวดีในสังคมเพื่อให้ได้คะแนนค่านิยมซึ่งหากเพิ่มหรือลดเพียงนิดเดียวก็อาจเปลี่ยนชีวิตไปตลอดกาล

เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit
เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit

Social Credit หนทางใหม่ในการควบคุมประชากร 

    วันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2014 เป็นวันแรกที่ข้อมูล Social Credit ออกมาอย่างเป็นทางการ และในเวลาต่อมารัฐบาลจีนได้ขอความร่วมมือจากภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba โซเชียลมีเดียอย่าง Wechat และขอความร่วมมือจากบริษัทการเงินถึง 44 แห่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลของประชาชนอย่างครบวงจรที่สุด ทำให้รัฐบาลจะมีข้อมูลตั้งแต่ประวัติการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ การจับจ่ายซื้อของ หรือแม้แต่ความคิดเห็นทางการเมืองซึ่งเป็นข้อมูลส่วนตัว

    แต่วันที่14 มิถุนายน ไม่ใช่วันแรกที่มีการใช้งานระบบนี้ ก่อนหน้านี้รัฐบาลก็ได้มีการทดลองระบบนำร่องตั้งแต่ปี 2010 แต่ในตอนนั้นโครงการนี้ล้มเหลวเพราะข้อมูลที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รัฐบาลจีนได้ประกาศว่า Social Credit นั้นเกิดขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานของความซื่อสัตย์ ความจริงใจ และสร้างความน่าเชื่อถือในประเทศ

    เกณฑ์ในการให้คะแนนนั้นมีอยู่ 3 ส่วนหลักๆคือ พฤติกรรมการใช้จ่าย, พฤติกรรมในสังคม และพฤติกรรมออนไลน์ โดยรัฐบาลจะตรวจสอบตั้งแต่เวลาการจ่ายค่าอุปโภคบริโภค การทำตามกฎระเบียบของสังคม การดูแลคนในครอบครัว บทสนทนาทางออนไลน์ แม้แต่การซื้อของออนไลน์ก็จะถูกนำมารวมอยู่ในเกณฑ์ตัดสินด้วย 

สำหรับผู้มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ดี จะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ อาทิ 

  • สามารถกู้เงินได้มากขึ้น 

  • ได้รับส่วนลดในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ 

  • สามารถซื้อตั๋วเครื่องบินและรถไฟในราคาพิเศษ 

  • ได้รับทุนการศึกษา หรืออาจได้รับการเลื่อนตำแหน่งงานที่ดีกว่าปัจจุบัน

แต่สำหรับผู้ที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ก็จะถูกตัดสิทธิ์บางอย่าง ไม่ว่าจะเป็น

  • การลดความเร็วอินเทอร์เน็ต 

  • ห้ามทำธุรกรรมบางอย่างกับธนาคารหรือระบบราชการ เช่น การกู้ยืมเงิน 

  • หรือล่าสุดที่มีการประกาศว่าผู้ที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ไม่สามารถซื้อตั๋วเดินทาง และไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้

เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit
เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit

    จะเห็นได้ว่าระบบ Social มีการมอบรางวัลให้กับผู้ที่ทำคะแนนได้ดี และมอบบทลงโทษให้กับผู้ที่ทำคะแนนได้ไม่ถึงเกณฑ์อย่างชัดเจน ซึ่งรัฐบาลจีนก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่ามีการใช้ระบบนี้อย่างจริงจัง และหากวิเคราะห์จะเห็นว่าระบบนี้ทำให้ประเทศจีนมีการพัฒนาขึ้นในหลายๆด้าน 

  • ทำให้สังคมมีระเบียบวินัยมากขึ้น ชาวจีนจะเคารพกฎหมายและกฎจราจรมากขึ้น เนื่องจากกลัวถูกตัดคะแนนจากการผิดกฎ

  • ลดการเกิดหนี้ในระบบ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต หนี้บัตรเครดิต ซึ่งทำให้ระบบการเงินหมุนเวียนขึ้น 

  • ช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายจากสินค้าฟุ่มเฟือยทำให้มีเงินเก็บมากขึ้น

  • ทำให้ผู้ที่ประพฤติตัวดีได้รับโอกาสและรางวัลที่ดี เช่นรางวัลเล็กๆเช่นการเช่าจักรยานฟรี ไปจนถึงโอกาสในการได้รับงานที่ดีกว่า

    แต่ในขณะเดียวกัน หากมองลงไปอีกจะพบว่าระบบ Social Credit เองก็ยังมีข้อเสียที่เห็นได้ชัดอยู่หลายอย่าง อาทิ

  • หากได้รับหรือถูกตัดคะแนนจนเหลือน้อยจะถูกตัดสิทธิ์บางอย่าง เช่น ลดความเร็วอินเทอร์เน็ต ห้ามออกนอกประเทศ

  • ทันทีที่ระบบตัดสินว่าคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ รายชื่อก็จะถูกจัดให้อยู่ใน Black list ทันทีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง

  • หากเคยมีประวัติอาชญากรรมหรือมีความผิดจากชั้นศาล ข้อมูลนั้นจะถูกนำมาใช้กับการนับคะแนนในปัจจุบันด้วย

  • รัฐบาลสามารถรับรู้บทสนทนาส่วนตัวได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

  • การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเสี่ยงต่อการถูกตัดคะแนน

  • หากคะแนนของเพื่อนทางออนไลน์ต่ำกว่า ก็จะทำให้คะแนนของคุณถูกลดลงไปด้วย

เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit
เรื่องจริงยิ่งกว่า Black Mirror : จะเป็นไงถ้าต่อไปคนต้องอยู่ด้วย Social Credit

ไม่ใช่ครั้งแรกที่จีนทอดลองใช้ Social Credit

  • ปี 2010 รัฐบาลจีนได้เปิดตัวโครงการนำร่องระบบที่เมืองชุ่ยหนิง ซึ่งโครงการก็ล้มเหลวเนื่องจากข้อมูลที่ไม่สม่ำเสมอ แม้แต่หนังสือพิมพ์ของรัฐอย่าง China Youth Daily ยังวิจารณ์โครงการนี้ว่าเป็นการใช้ข้อมูล “ทางการเมือง” และ “ประชาชนควรเป็นฝ่ายให้คะแนนเจ้าหน้าที่รัฐ”

  • ปี 2103 รัฐบาลได้ทดลองระบบนี้อีกครั้ง โดยคราวนี้ทดลองถึง 30 กว่าเมือง มีเพียงเมืองเดียวที่ประสบความสำเร็จ คือ เมืองหยงเฉิง 

  • ปี 2014 รัฐบาลจีนเปิดเผยเอกสารเกี่ยวกับระบบ Social Credit 

  • ปี 2015 เริ่มใช้ระบบ Social Credit

  • ปี 2018 Xi Jinping ประธานาธิบดีจีนคนปัจจุบันออกมาประกาศใช้ Social Credit อย่างเป็นทางการ 

    ในปัจจุบันประเทศจีนกำลังขยายระบบนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากระบบนี้ทำให้ชาวจีน 9 ล้านคนไม่สามารถซื้อเที่ยวบินภายในประเทศ และอีก 3 ล้านคนไม่สามารถซื้อตั๋วเครื่องบินชั้น Business class ยังไม่รวมชาวจีนอีก 6 ล้านคนที่ไม่สามารถออกนอกประเทศ และขึ้น Black list เนื่องจากคะแนนไม่ถึงเกณฑ์

    นาย Zhang Yong รองอธิบดีคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) กล่าวว่า 

ระบบนี้จะกระจายไปทั่วประเทศในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยจะมีการเพิ่มรางวัลและบทโทษให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นประชาชน 

    ในประเทศจีน ชาวจีนส่วนใหญ่ค่อนข้างเห็นด้วยกับระบบ Social Credit พฤติกรรมของชาวจีนในปัจจุบันที่ใช้จ่ายออนไลน์ผ่านระบบ sesame credit และ Alipay ทำให้ง่ายต่อการได้คะแนน พวกเขาพอใจกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ และสังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

    Chen ผู้ประกอบการรายหนึ่งเห็นว่า ตั้งแต่มีการใช้ระบบ Social Credit ผู้คนก็มีความประพฤติที่ดีขึ้นตามลำดับ เช่นเมื่อขับรถ เราจะต้องหยุดรถก่อนถึงทางม้าลายไม่เช่นนั้นจะถูกหักคะแนน 

    แต่ระบบ Social Credit ในตอนนี้ก็ยังไม่ถือว่าสมบูรณ์แบบ 

    Li Xiaolin เป็นหนึ่งในคนที่ถูกตัดสินจากระบบ Social Credit ว่าเป็นบุคคลไม่น่าเชื่อถือ ทำให้เขาไม่สามารถซื้อตั๋วเครื่องบินได้ จากข้อมูลระบบพบว่าเขาไม่ทำตามคำสั่งของศาลในปี 2015 ทั้งที่ Li Xiaolin ปฏิบัติตามคำสั่งศาลด้วยการเขียนจดหมายขอโทษแล้ว แต่ศาลถือว่าคำขอโทษของนาย Li Xiaolin ไม่จริงใจ เพราะเขียนในวันที่ 1 เมษายน

    นอกจากกรณีของ Li Xiaolin แล้ว ชาวจีนเองก็ไม่พอใจกับเกณฑ์การนับคะแนนบางอย่างของ Social Credit ที่ชัดเจนที่สุดคือการเสียคะแนนเนื่องจากเพื่อนบนโลกออนไลน์นั้นมีคะแนนต่ำ ชาวจีนมองว่าระบบนี้ไร้สาระและพวกเขาไม่คิดจะเลิกกับเพื่อนเพื่อรักษาคะแนน

    แม้ว่าระบบ Social Credit จะดำเนินการมาเนิ่นนานแล้ว แต่ระบบนี้ก็ยังมีจุดบกพร่องในการใช้ข้อมูลเก่ามารวมกับการให้คะแนนในปัจจุบัน การนำรายชื่อของผู้ที่มีคะแนนต่ำเข้าBlack list ทันที และการนำปัจจัยอื่นอย่างคะแนนของเพื่อน หรือความคิดเห็นทางการเมืองมาใช้ในการนับคะแนนร่วม ทำให้ระบบนี้ยังขาดความเป็นกลางในการให้คะแนน 

    แต่ก็ต้องยอมรับว่าระบบ Social Credit นี้ทำให้สังคมจีนเคารพกฎระเบียบและมีวินัยกันมากขึ้น จากข้อดีนี้ทำให้ประเทศเยอรมันเองก็สนใจที่จะนำระบบนี้ไปใช้ ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปว่านอกจากเยอรมันแล้วจะมีใครสนใจนำระบบนี้ไปใช้อีกหรือไม่ และบางทีไทยอาจเป็นรายต่อไปก็ได้

Write by KUNWARA.C

Source: 

https://twitter.com/kashthefuturist/status/1005724226114998273

https://www.cbsnews.com/news/chinas-social-credit-system-keeps-a-critical-eye-on-everyday-behavior-even-jaywalking-2018-04-24/

https://www.forbes.com/sites/sarahsu/2017/10/12/debtors-exposed-in-china-as-social-credit-system-unfolds/2/#4ecb71b0151d

https://www.telegraph.co.uk/news/2018/03/24/chinas-social-credit-system-bans-millions-travelling/

https://www.zerohedge.com/news/2016-11-29/china-launch-social-credit-system-monitor-everything-jaywalking-internet-activity

http://www.businessinsider.com/china-social-credit-system-punishments-and-rewards-explained-2018-4

https://www.hrw.org/news/2017/12/12/chinas-chilling-social-credit-blacklist

https://www.youtube.com/watch?v=AAIKh7AnTIk

https://www.independent.co.uk/life-style/gadgets-and-tech/china-social-credit-system-punishments-rewards-explained-a8297486.html

http://nationalpost.com/entertainment/television/black-mirrors-chilling-social-credit-score-is-a-reality-in-china

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0