โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เรื่องควรรู้ของ โควิด-19 กับเสื้อผ้า - เพจฉันเรียนแฟชั่นที่มิลาน

TOP PICK TODAY

เผยแพร่ 04 เม.ย. 2563 เวลา 17.00 น. • เพจฉันเรียนแฟชั่นที่มิลาน

ช่วงนี้ ถ้าเป็นไปได้ เราก็คงไม่อยากออกจากบ้านกัน แต่ถ้าต้องออกบ้านด้วยความจำเป็น ทั้งไปทำงาน หรือไปซื้อกับข้าว แม้ว่าตอนออกจากบ้านมาสก์จะพร้อม เจลล้างมือก็พร้อม แต่พอกลับมาถึงบ้าน  เคยมีคำถามกันมั้ย

"เอ… เราควรเปลี่ยนชุดเลยรึเปล่า?"

"ผ้านี้ ซักยังไงถึงฆ่าไวรัสได้หมดจด"

ไปจนถึง

"สรุปใส่ชุดแบบไหนออกจากบ้านดีนะ"

 

มาค่ะ บทความนี้มีคำตอบ

 

เราควรเปลี่ยนชุดทันทีที่กลับเข้าบ้านมั้ย

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำว่า ถ้าไม่ลำบาก แนะนำให้เปลี่ยนชุดทันทีที่เข้าบ้านพร้อมทั้งอาบน้ำสระผมด้วยเลยค่ะ เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะไม่นำเชื้อไวรัสกลับเข้ามาในบ้านจริงๆใครมีโค้ทนอก ก็แขวนไว้หน้าบ้านดีกว่า ส่วนเสื้อผ้าใส่ไว้ในถังซักได้เลย แนะนำให้เป็นถังหรือตะกร้าเฉพาะที่เอาไว้ใส่เสื้อผ้าที่ใส่ออกไปข้างนอกนะคะ จะได้ไม่เผลอนำตะกร้ามาใส่ผ้าใหม่ ไม่งั้นก็ใส่ผ้าในถุงไว้เลยไม่ฟุ้งแน่นอน อย่างแพรเองทุกวันนี้ถอดรองเท้าไว้หน้าประตู ถอดชุดเสร็จก็วิ่งเข้าห้องน้ำเลยค่า

 

ซักผ้ายังไงให้ไวรัสตายสนิท

จริงๆ ถ้าเราใส่เสื้ออยู่บ้านอย่างเดียวก็ซักปกติได้ไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไรแต่ถ้าวันไหนเรามีเสื้อที่ไปลุยข้างนอกมา หรือผ้าที่ต้องสะอาดเป็นพิเศษ เช่น เสื้อกีฬา ผ้าที่ใช้เช็ดจานชาม ผ้าของคนป่วยเราก็สามารถซักด้วยน้ำอุ่นตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก(WHO) ในนำผ้าไปซักในน้ำอุณหภูมิประมาณ60 -90 องศาเซลเซียสกับผงซักฟอกหรือไม่ก็นำผ้าไปเข้าเครื่องอบผ้าให้แห้งเลย ซึ่งวิธีนี้มั่นใจได้ว่าตายหมด ตายสนิทแน่นอน อย่าลืมว่าไม่ใช้ผ้าทุกชนิดจะสามารถซักด้วยน้ำอุ่น น้ำร้อนได้น้าฉะนั้นต้องดูฉลากด้วย ไม่งั้นก็สามารถฆ่าเชื้อได้โดยการซักผสมน้ำยาฆ่าเชื้อค่ะ อีกคำแนะนำคือเวลาซักผ้า ไม่ควรถือให้ผ้าที่สกปรกโดนตัวเรานะไม่งั้นต้องเปลี่ยนชุดใหม่อีก รวมทั้งไม่ควรสะบัดผ้าที่สกปรกก่อนซักเผื่อป้องกันการฟุ้งกระจายจ้า

 

ไวรัสเกาะอยู่บนเสื้อผ้าของเราได้นานแค่ไหน

ไวรัสสามารถเกาะอยู่บนวัสดุผิวเรียบแข็งได้นานกว่าผิวไม่เรียบก็จริง แต่วัสดุอย่างเสื้อผ้าที่มีรูพรุนก็เป็นพื้นผิวที่ไวรัสเกาะติดได้เช่นกันซึ่งอาจอยู่นานหลายชั่วโมง หรือเป็นวันเลยทีเดียว ตามความเห็นของนักวิจัย เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่นฝ้าย อาจจะทำให้พวกdroplet(ละอองฝอยที่ออกมาจากการไอ จามของคนเรา) ที่มาเกาะเสื้อผ้าเรา แห้งไว้กว่าพวกผ้าประดิษฐ์ อย่างไนลอน หรือโพลีเอเตอร์ ซึ่งตัวไวรัสที่ต้องอาศัยdroplet ก็จะหมดฤทธิ์ไปด้วย แต่อย่าลืมว่าก็ต้องใช้เวลาไม่น้อย ดีไม่ดี เรากลับถึงบ้านก่อนไวรัสแห้งตายแน่นอน ทั้งนี้สิ่งที่ต้องระวังมากกว่า กลับเป็นพวก กระดุม ซิปพาสติก ที่มีพื้นผิวเรียบ ทำให้ไวรัสเกาะอยู่ได้นานกว่า

 

เราควรใส่เสื้อผ้าแบบไหนออกจากบ้านช่วงนี้

นอกจากหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัยแล้วที่ต้องใส่ไปแล้ว เสื้อผ้าที่เราใส่ควรเป็นผ้าที่ซักง่าย เช่น เสื้อยืดธรรมดาๆ กางเกงยางยืด ไม่แนะนำเสื้อผ้าที่มีพวกเลื่อม ปัก มีรอยจีบ มีมุมอับเยอะ เพราะจะทำให้ทำความสะอาดได้หมดจดลำบาก แนะนำให้ใส่ชุดที่ทะมัดทะแมง พวกกางเกงจะดีกว่า กระโปรงบานที่จะไปกวาดโดนตามผนังได้เวลาเดิน ช่วงนี้คงต้องเก็บไปก่อน ส่วนถุงมือถือว่ายังไม่จำเป็นขนาดนั้น เน้น ล้างมือบ่อยๆ ดีกว่า เพราะถ้าเอามือที่ใส่ถุงมือมาจับหน้า มันก็ไม่ได้ช่วงป้องกันอะไรเนอะ กระเป๋าก็ควรเป็นอะไรที่ทำความสะอาดได้ง่าย อย่างแพรเองช่วงนี้พกถุงผ้ายาวๆ กลับมาก็โยนถุงผ้าลงถังซักพร้อมชุดเลยค่ะ พยายามใส่เครื่องประดับให้น้อย จะได้ไม่ต้องมาทำความสะอาดเพิ่ม และถ้าใครใส่แว่น กลับบ้านอย่างลืมทำความสะอาดแว่นตาด้วยน้า

 

หวังว่าบทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจไม่มากก็น้อยนะ ช่วงนี้ดูแลสุขภาพกันนะคะ ขอให้ไม่ป่วย ไม่ว่าจะเป็นโควิด-19 หรือโรคไหนๆ ก็ขอให้ไม่เป็น ให้กำลังใจทุกๆ คน เรามาร่วมมือกัน ไม่ส่งต่อเชื้อ ป้องกันตัวเองเต็มที่กัน เหตุการณ์นี้จะได้ผ่านไปไวๆ เราจะได้กลับมาใส่ชุดสวยๆ ไปเที่ยวกันได้อีกเนอะ

 

อ้างอิง

https://www.express.co.uk/life-style/life/1257402/coronavirus-news-laundry-cleaning

https://www.refinery29.com/en-us/2020/03/9581543/how-to-wash-outside-clothes-coronavirus

https://www.huffpost.com/entry/how-long-coronavirus-live-clothing-washing_l_5e724927c5b6eab779409e74

 


ติดตามบทความใหม่ ๆ จากเพจฉันเรียนแฟชั่นที่มิลาน ได้ทุกวันอาทิตย์ที่ 1 และ 3 ของเดือน บน LINE TODAY และหากสามารถอ่านบทความอื่นได้ที่เพจฉันเรียนแฟชั่นที่มิลาน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0