โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

บันเทิง

เราเข้าใจตัวเองมากพอหรือเปล่า ?

ATIME

อัพเดต 29 ส.ค. 2562 เวลา 08.32 น. • เผยแพร่ 23 ส.ค. 2562 เวลา 14.37 น. • Green Wave
เราเข้าใจตัวเองมากพอหรือเปล่า  ?
เราเข้าใจตัวเองมากพอหรือเปล่า ?

มารู้จักตัวเอง และ คนรอบข้างกัน  “You Are Not Alone”  เพราะเราไม่ได้โดดเดียว..คนข้างๆ จึงสำคัญ .✅ เพื่อให้เราเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง
✅ เราสามารถดูแลจิตใจตัวเองได้อย่างไร
✅ เราจะสื่อสารและทำความเข้าใจคนที่เรารักได้อย่างไร
✅ เพราะการเข้าใจกันและกันคือสิ่งสำคัญ ที่ทำให้เรารู้สึกไม่อ้างว้าง
วันนี้มีโอกาสได้คุยกับหมอเอิ้น พิยะดา  หมอจะมาบอกให้เรารู้จักตัวเองและคนรอบข้างมากขึ้น  จะได้เข้าใจและสื่อสารตรงกัน .. บางทีเราอาจเถียงในใจว่า เราเข้าใจตัวเองดี และ เข้าใจคนอื่นดี  แต่จริงๆ แล้วอาจไม่ใช่ !!!  มารู้จักตัวเองให้มากกว่าที่เราเคยรู้จัก   ทำความเข้าใจตัวเองมากกว่าที่เคยเข้าใจ   เพื่อจะได้รู้จักและเข้าใจคนข้างๆ มากขึ้นค่ะ      

    A :         ความรัก ความเข้าใจบางทีก็เป็นเรื่องใหญ่  เราจะปรับตัวเข้าหาคนรักยังไง บางคนรักกัน แต่เข้ากันไม่ได้                 และความไม่เข้าใจกันทำให้ความสัมพันธ์แย่ลงยังไงบ้าง   หมอเอิ้น  : แน่นอนค่ะ ความไม่เข้าใจกันทำให้ความสัมพันธ์แย่อยู่แล้ว  รักกันแต่ไม่เข้าใจกัน แล้วจะทำยังไงให้เรา เข้าใจกันได้ คือความรักบางทีมันแปลความยากเหมือนกันเน้อะ จริงๆ ความรักเนี่ยมันเป็นความรู้สึกนึงอ่ะ ที่โดยธรรมชาติแล้ว มันก็มักที่จะผ่านมาแล้วผ่านไป มันเป็นอารมณ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แต่ว่าความเข้าใจเนี่ยมันจะสามารถทำให้เราอยู่ด้วยกันได้ แบบยืนยาว มั่นคง  คือถ้าเกิดว่าอยู่ไปแล้วเริ่มรู้สึกไม่เข้าใจ อารมณ์ของความรักที่มันเคยเบ่งบาน มันเริ่มห่อเหี่ยวลงเรื่อยๆ เรารู้สึกว่าไอ้อารมณ์นี้มันสำคัญนะกับใจเรา กับการที่เราจะอยู่ร่วมกัน  ก็คือเริ่มต้นเลยให้กลับไปนึกถึงวันที่เรารักกันวันแรก เพราะอะไรเราถึงเลือกที่จะรักคนๆ นี้ เหตุผลนี้ มันจะทำให้เราเริ่มกลับมาเห็นข้อดีของกันและกัน  เค้ามีความน่ารักยังไง แล้วเราทำความเข้าใจเค้าค่ะ คือตั้ง mind set ใหม่ว่า วันนี้เค้าเปลี่ยนไป เราอยากทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงนี้ คือทำให้ความไม่เข้าใจไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป    มันไม่ใช่ความไม่เข้าใจที่ทำให้ใครบาดเจ็บ แต่มันจะเป็นความไม่เข้าใจที่ มันจะทำให้เราเห็นหัวข้อที่เราเรียนรู้ ในการรักษาความรักในครั้งนี้  พอเรารู้แบบนี้แล้ว ต่อไปเราก็ต้องฝึกที่จะสื่อสาร โดยเฉพาะคนที่เป็น Extrovert จะรู้ว่าตัวเองเนี่ยอยากทำความเข้าใจ แต่ไม่รู้ว่าจะสื่อสารยังไง เราฝึกได้ค่ะ   ฝึกการสื่อสาร  แต่ประเด็นสำคัญคือ เราต้องวางความคิดให้ถูกก่อนว่า ไม่เข้าใจ อยากทำความเข้าใจ เพราะอะไรถึงเปลี่ยนแปลง แล้วก็ ไม่เอาประเด็นของความเปลี่ยนแปลงมาว่ากัน  มาทำให้ความสัมพันธ์แย่ลง   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
A : แล้วการที่เราไม่เข้าใจความสัมพันธ์  ไม่เข้าใจกันเลย  ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือคนรักเนี่ย มันส่งต่อความรู้สึก ต่อชีวิตเรายังไงบ้าง อย่างเช่นแบบ เห้ย เราต้องไปทำงานอ่ะ แต่ตอนออกจากบ้าน ความคิดในหัวแบบฉันไม่เข้าใจคนนี้เลย มันจะทำให้เราไปต่อยังไง เพื่อให้มันหลุดพันความคิดตรงนี้  
หมอเอิ้น : อันนี้ต้องแบ่งเป็นเฟสเลยแหล่ะว่า ปัจจุบันขณะ ในระยะสั้นเนี่ย เรื่องบางเรื่องน  ปัญหาบางอย่างมันไม่จำเป็นต้องจัดการ แล้วเรื่องบางเรื่องก็จัดการไม่ได้ด้วย มันเหนือการควบคุมของเราจนเกินไป แล้วมันจะคลี่คลายด้วยเวลา และการปล่อยวาง  แต่เรื่องบางเรื่องมันต้องจัดการ มันต้องกลับไปทำความเข้าใจ ไม่งั้นมันก็จะเกิดเรื่องนี้ซ้ำๆ  ดังนั้นถ้าเราแยกปัญหาได้ว่าปัญหาอะไรที่เราต้องจัดการ และเราจัดการได้ กับปัญหาอะไรที่เราจัดการไม่ได้ อันนี้มันจะช่วยเราไปได้เปราะนึง  อันที่สองพอเราแยกปัญหาได้แล้ว  เราต้องดูแลตัวเองในสองสเต็ป สเต็ปแรกคือดูแลตัวเองในปัจจุบัน  คือตอนนี้ฉันนั่งทำงานอยู่ แต่ว่าหัวฉันเนี่ยยังคิดถึงการที่ฉันทะเลากะคนที่บ้านเมื่อเช้า  แม่ด่าแฟนหึง หรืออะไรเนี่ย ยังวนเวียนอยู่ในหัวอยู่เลย ทำให้เราโฟกัสกับงานไม่ได้ ทำให้เราประชุมไม่รู้เรื่อง คุยกับลูกค้าก็กังวล อันนี้คือเราต้องรู้สึกตัวถึงความกังวล แล้วก็พยายามกลับมา กับกิจกรรมที่เราทำในปัจจุบัน อันนี้เป็นวิธีการระยะสั้นที่เราต้องจัดการทันที ก็คือรู้ตัวแล้วกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะให้เร็วที่สุด อันที่สองพอถึงเวลาเนี่ยเราควรไปแก้ที่เหตุ อย่างที่พระพุทธเจ้าเคยบอกไว้ว่า เราต้องไปดับที่เหตุแห่งทุกข์ใช่มั้ย ทุกข์อะไรก็ต้องไปดับที่เหตุอันนั้น คือเราไม่เข้าใจเรื่องนี้มากี่ครั้งแล้ว บางทีเราต้องทบทวนนะ แล้วแต่ละครั้งที่เกิดขึ้นเนี่ย อะไร เป็นตัวกระตุ้น แล้วในจังหวะที่ใจของเราเป็นปกติ ใจของคนที่เรารักเป็นปกติ ลองมาพูดคุยกัน ไม่ใช่อารมณ์ คือเราไม่จำเป็นว่า เห้ยฉัน ทะเลาะกับเธอตอนนี้ฉันต้องเคลียร์ตอนนี้ จะเอาตอนนี้ให้ได้ พังนะคะ  !!!!!   และสิ่งที่ดีที่สุดคือ กลับไปทำในสิ่งที่ควรทำ ตอนนั้น แล้วเวลาที่จิตแต่ละคนเป็นปกติเนี่ย ลองกลับมาคุยกัน  เห้ยวันนั้น เราทะเลาะกันเรื่องนั้น เพราะว่าก่อนที่เราทะเลาะเนี่ยเธอพูดแบบนี้นะ เออ เห้ยไอ้คำพูดแบบนี้เนี่ยมันทำให้ฉันรู้สึก เค้าคงอาจจะไม่ได้เลยเว้ยว่าอ๋อ ฉันพูดแบบนี้แล้ว เธอคิดแบบนั้นเหรอ นึกออกมะ เออ คือต่างคนคือต่างพ่อต่างแม่ไง แล้วเนี่ยการที่จะได้กลับมาพูดคุยกันในวันที่หัวใจเป็นปกติเนี่ยคือสิ่งที่ดีที่สุดในการทำความสัมพันธ์   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
A : ทำไมคนที่เรารักถึงบอกว่าเข้าใจ สมมติเวลาเป็นแฟนกันเนี่ยเวลาพูดอะไรปุ๊บ เห้ยเราเข้าใจ แต่จริงๆ เราอาจจะไม่เข้าใจ ทำไมเราถึงออโต้พูดออกไปแบบนั้น ทั้งๆ ที่บางทีเราอาจจะยังไม่เข้าใจแท้จริงก็ได้
หมอเอิ้น : เค้าอาจจะคิดว่าเค้าเข้าใจก็ได้  ใช่มั้ย จริงๆถ้าพูดสถานการณ์นี้เป็นได้หลายแบบมาก   อย่างที่หนึ่งเนี่ยก็เข้าใจจริงๆ  แต่ในมุมของฉัน ก็ฉันเข้าใจแบบนี้ เราเลยคิดว่าเราเข้าใจ แล้วนี่เรียกว่ามันเป็นมาตรฐานสากลของความคิดคนเลยนะ เราก็จะคิดว่าเราคิดแบบนี้คนอื่นก็ควรจะคิดแบบนี้ เห้ย ! คือเพื่อนทำแบบนี้แล้วเราน้อยใจ เราก็คิดว่าถ้าเราทำแบบนี้แล้วคนอื่นจะน้อยใจ ซึ่งมันอาจจะไม่ใช่  เพราะเราเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน แล้วถามว่าผิดมั้ยคนที่เป็นแบบนี้ ไม่ผิดนะ  แต่มนุษย์จริงๆ เก่งกว่านั้น เพราะเราสังเกตตัวเองได้ ว่านี่เป็นความคิดของเรา หรือเป็นความคิดของคนอื่น เราฝึกแยกแยะได้  ฝึกยอมรับความแตกต่างได้  สัตว์ทั่วไปเนี่ยไม่เข้าใจเรื่องนี้   อันที่สอง มันอาจจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะตัวก็ได้ สังเกตมั้ย บางคนเนี่ยพอเวลาเจอเพื่อนมาร้องไห้แบบเครียดๆเนี่ย  แต่ตัวเองอาจจะไม่อยากอยู่กะความเครียดไง หรือไม่อยากอยู่กับปัญหา หรือรู้สึกตัวเองจัดการไม่ได้ ก็จะ Automatic ไปว่าเห้ย เข้าใจ หรือบางคนก็เล่นมุขไปเลย บางคนพูดสนุกสนานเฮฮา ในขณะที่ตัวเองรู้สึกว่ากำลังช่วยอีกคนนะ แต่คนที่เป็นเจ้าของเรื่องก็จะรู้สึกว่า กูเศร้าขนาดนี้ มึงยังมาเล่นมุขกับกูอีกเหรอ  คือวิธีการอันนี้ เป็นวิธีการช่วยของเค้า คือคนบางคนก็พูดคำว่าเข้าใจ เพื่อที่เจตนาว่าอยากจะช่วยอีกฝ่ายนึงเหมือนกัน โดยอัตโนมัตินะ คือไม่ได้คิดอะไร แค่อยากพาเค้าออกไปจากตรงนั้น มันก็เลยทำให้รู้สึกว่า เข้าใจในแบบที่เค้าไม่ได้เข้าใจ   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

A : แล้วเราจะจัดการคำว่าเข้าใจตรงนี้ยังไงบ้าง
หมอเอิ้น : คือจริงๆ ถ้าเราอยากจะเข้าใจคนอื่น สำคัญเลยต้องฝึกเข้าใจตัวเองก่อน คือหลายครั้งที่เราพยายามจะไปเข้าใจคนอื่นด้วยวิธีการของเรา คือเราเองก็ยังไม่เข้าใจตัวเองด้วยซ้ำเลยว่า เอ๊ย แล้วเราจะไปทำความเข้าใจเค้าเพื่อ อะไร   บางทีมันอาจจะเป็นเรื่องที่เราไม่จำเป็นต้องไปทำความเข้าใจก็ได้   เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกอย่างบนโลกนี้นะ แต่เรามีสิทธิ์จะเลือกจะเข้าใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดในชีวิตเราและชีวิตอีกคนนึงที่เรารัก   สิ่งสำคัญเลยก็ต้อง มาทำความเข้าใจตัวเองก่อน  เช่น  เราทะเลาะกับแฟนด้วยคำพูดบางอย่างของแฟน คือก็ต้องมาเข้าใจว่า เห้ย ทำไมอ่ะ ทำไมคำนี้มันถึงมีความหมายต่อชีวิตเรานะ อย่างเช่น เธอไม่ได้เข้าใจฉันจริงๆ คือเอิ้นก็เคยโดนนะ สามีบอกว่า เอิ้นเนี่ยเข้าใจคนทั้งโลกเลยหว่ะ ยกเว้นเรา  เจ็บป่ะล่ะ  เราก็บอกว่าเออ  ทำไมคำนี้เจ็บขนาดนี้  แล้วสิ่งที่เอิ้นทำความเข้าใจก็คือ เราเป็นคนที่ทำให้คำนี้ออกมาจากใจเค้าเอง มันทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นคนที่ละเลย  มันสะท้อนถึงความไม่ใส่ใจของเรา กับคนที่เรารัก    เรารู้สึกว่ามันกระทบคุณค่าในตัวเรา คือหนึ่ง เราคิดว่าเราเป็นคนใส่ใจคน แต่วันนึงคนที่เรารักบอกว่าเห้ยคุณไม่ใส่ใจเรา มันเป็นเหมือนแบบสะเทือนเซลฟ์อ่ะ แล้วเราก็กลับมาถามตัวเอง ว่า เราไม่เก่งรึเปล่าวะ วิชาอาชีพนี้ เราทำหน้าที่ในการเข้าใจคนอ่ะ แต่ว่าคนใกล้ตัวไม่เข้าใจ แสดงว่าศักยภาพฉันที่ฉันคิดว่ามันมีเนี่ย จริงๆ มันมีศักยภาพรึเปล่า พอเอิ้นเห็นความหมายของความเจ็บที่ได้จากคำนี้ ก็ยอมรับว่าเออ เอิ้นไม่เก่งพอจริงๆ อ่ะ  มันก็คือการยอมรับค่ะ  ไอ้ที่เราเจ็บอ่ะ คือเราไม่ยอมรับอ่ะ     สมมติมีคนเขวี้ยงหินใส่ประตูบ้านก็คือว่าเห้ยถ้าเค้าเขวี้ยงมาโดนประตูอย่างงี้ เออประตูแบบอาจจะพัง ในขณะเดียวกันถ้าเราเปิดรับมันเข้ามานะ แต่ว่าในพื้นที่นั้นเราไม่ต้องเอาหน้าเราออกไปรับ เราก็แค่ดูว่าเค้าโยนอะไรเข้ามาในบ้านเรา เราก็จะจัดการถูก อย่างสมมุติเค้าโยนระเบิดเข้ามา เราก็จะโยนกลับทันที สุดท้ายมันก็คือการยอมรับ ยอมรับว่ามันก็มีบางอย่างที่เรายังเข้าใจไม่ได้จริงๆ นะ แค่นั้นเลย   แล้วทำยังไง?   ก็เลยโอเคงั้นฉันยอมรับ เลือกว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเนี่ย  ยอมรับในความเป็นเค้า ยอมรับคำพูดของเค้า คือแค่การยอมรับเนี่ย ทำให้เอิ้นเข้าใจว่าการยอมรับกับความเข้าใจเนี่ยมันคนละเรื่องกันนะ  ถ้าเรายังไม่เข้าใจเนี่ย เรายอมรับเฉยๆ ก็ได้ พอเวลาเราทำความเข้าใจ บางอย่าง มันเผลอให้เราเหมือนไปจัดการ  การที่เรายอมรับ มันจะทำให้คนที่อยู่ตรงหน้าเราอ่ะ เค้ายอมเปิดใจให้กับเรา เพราะเค้าไม่ต้องกังวลว่า เธอจะมาจัดการอะไรฉัน เธอจะมาสอนไรฉันอีก เธอจะมาควบคุมอะไรฉันอีกฉันจะบอกให้เธอทำโน่นทำนี่เหรอ ไม่ต้องแล้วไง เราก็จะกลายเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยในใจเค้าอ่ะ อ๋อฉันเป็นยังไงก็ได้ เพราะว่าเธอ ยอมรับ  เอิ้นก็จะเริ่มเห็นว่าพอเราแค่ยอมรับเค้าโดยไม่ต้องรีบไปทำความเข้าใจเค้า เนี่ยนะ เค้าเริ่มเปิด พอภาพมันชัด ทุกอย่างมันชัดเนี่ย ไอ้ความคิดที่บอกว่าลึกซึ้งซับซ้อนของเค้าเนี่ย มันเริ่มค่อยๆ ผ่อนคลายขึ้น เราก็จะเริ่มเห็นก้นบึ้งของหัวใจเค้าง่ายขี้น เพราะว่าที่ผ่านมาเนี่ยความคิดอันซับซ้อนมันอาจจะ บดบังก้นบึ้งของหัวใจเค้า ซึ่งสุดท้ายนะ พบว่าสามีเนี่ยไม่มีอะไรเลย คือแค่ทำอะไรก็ได้ให้เค้ารู้สึกว่าเรารักเค้าทุกวันพอแล้ว แค่นั้น คือที่พูดอะไร ปัญหาเยอะแยะนั้น คือมาจากความไม่แน่ใจว่าเมียรักรึเปล่า ( ฮ่า ฉ่า )    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
A : สำหรับคู่ที่มีอะไรไม่ค่อยพูดกันเนี่ย การสื่อสารสำคัญมาก
หมอเอิ้น : สำคัญมาก บางทีคู่ที่ต่างฝ่ายต่างพูดกันก็จะง่ายหน่อย   แต่ถ้าเจอคนที่ไม่ค่อยพูดเนี่ย ต้องบอกเลยว่า หนึ่ง..ต้องใช้เวลา สอง…ก็คือเป็นตัวอย่างที่ดี
A :  เป็นตัวอย่างที่ดีนี่ต้องทำยังไง 
  หมอเอิ้น : พูดสิ เธอไม่พูดใช่มั้ย ฉันพูด แต่ไม่ใช่ว่าเราพูดๆๆๆ จนเค้ารู้สึกว่า เออ ก็มึงพูดคนเดียวเลยเนี่ย กูก็เลยไม่มีพื้นที่ในการพูดเลย  อย่างเช่นว่า เค้าทำให้เอิ้นรู้สึกไม่ดี   เราก็จะบอกว่า วันนั้นที่เธอพูดแบบนั้น มันทำให้เรารู้สึกเสียใจนะ เพราะว่าเรารู้สึกว่า เราไม่มีความสามารถ มันทำให้เรารู้สึกว่าคุณค่าในตัวเรามันลดลง เราไม่เก่ง เราไม่มีความสามารถ  เราแค่อยากบอก ก็จบ ไม่มีอะไรเลย หลังๆ มาสามีก็ทำตามบ้าง เริ่มพูดเอง หรือเอิ้นนี่นะสังเกตุตัวเองเลยว่า ปกติเนี่ยทั้งเดือนก็จะรักสามี ดีตลอด มันจะมีอยู่ช่วงนึงของเดือนที่ ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่า แค่เค้าหายใจก็ผิดแล้ว  คือช่วงก่อนเป็นประจำเดือน ( ฮ่าฮ่า ) จนมาสังเกตตัวเอง  ว่าทำไมเวลาที่แฟนทำอะไรคือผิด  รู้สึกหงุดหงิดไปหมด หงุดหงิดโดยไม่มีสาเหตุด้วยนะ  ซึ่งเดิมทีก็จะทำให้เราทะเลาะกัน คราวนี้ก็เลยเปลี่ยนใหม่ว่า เธอวันนี้เป็นไรไม่รู้อ่ะ เธอพูดอะไรเรารู้สึกหงุดหงิดไปหมดเลย อันนี้เดานะ เดา คิดว่าน่าจะเป็นประจำเดือน  คือเค้าก็เริ่มจะระวังคำพูดและ  มันก็จะตัดการทะเลาะไปเลยคือ แล้วหลังๆ มา จากที่เค้าไม่ค่อยพูด เค้าก็เริ่มพูด วันไหนที่เค้ารู้สึกหงุดหงิด ก็อาจจะคิดเรื่องงาน เครียดเรื่องลูกน้อง  เค้าก็จะบอกเลยว่า วันนี้เราหงุดหงิดนะ คราวนี้หงุดหงิดเพราะอะไร มันก็จะค่อยๆ เป็นสเต็ปไปค่ะ    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
A :   เอิ้นเองก็เพิ่งทำ work Shop You're not alone ไป จุดประสงค์คือเพื่อให้เราเข้าใจตัวเองและคนรอบข้างอันนี้เหมือนให้เราดูแลจิตใจตัวเองด้วย ลองเล่าให้ฟังหน่อย 
หมอเอิ้น : โจทย์ของเอิ้นมีอยู่ว่า อะไรที่ทำให้คนมี 2 อย่างพร้อมกันไม่ได้ นั่นก็คือ "ความสุขกับความสำเร็จ"  คือเราเจอคนที่ประสบความสำเร็จเยอะ มีเงิน มีความมั่นคงทางธุรกิจอะไรต่างๆ แต่ว่าหลายคนก็รู้สึกว่ายิ่งมีเงินเยอะ ยิ่งไม่มีความสุข ในขณะที่หลายๆ คนที่ใช้ชีวิตในการแสวงหาความสุขแต่ยังโหยหาความมั่นคง ค่าเทอมลูกจะพอไหม  ถูกแบ่งแยกใน 2 กลุ่มอย่างชัดเจน ในฐานะอยู่ตรงกลาง ก็ไม่ได้สุขอย่างเดียว แล้วก็ไม่ได้สำเร็จอย่างเดียว   ก็เลยมีคำถามว่า เพราะอะไรเราถึงมีความสุขไปพร้อมกับความสำเร็จไม่ได้  หรือเราทำงานเราเป็นผู้บริหาร เราต้องจัดการลูกน้อง แต่ทำไม เรามีอำนาจนะ เรามีเงิน เราก็พาเค้าไปไม่ได้ หรือเราเป็นลูกน้องเอง เราทำงานกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน เงินก็ดีนะ แต่ทำไมถึงไม่มีความสุข ไม่มี passion  แล้วสุดท้ายเราจะมีโมเม้นท์ที่เรารู้สึกว่ามันโดดเดี่ยว เวลาที่เรามีปัญหา เอิ้นก็เลยไปสัมภาษณ์คนที่เค้าเป็นโมเดลเรื่องนี้ ว่าเค้ามีความสุข บาลานซ์ระหว่างความสุขความสำเร็จได้ คือทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกัน  คือครอบครัว ฉันไปหาเงินเหนื่อยยากมากแค่ไหน กลับมาสุดท้ายคือ ครอบครัว หรือคนที่มีความสุข มีแรงผลักดันในการไปทำมาหากิน คือมองกลับมา ล้วนแล้วแต่มองกลับมาที่ครอบครัว แต่ครอบครัวดันเป็นสิ่งที่เราเข้าใจยากที่สุด พูดกะคนนอกบ้านเนี่ยได้เป็นร้อยนะ พูดกะคนในบ้านเนี่ยยากกว่า คือน้อยมากที่ทุกคนจะมีครอบครัวที่เพอร์เฟ็กต์ แล้วก็เข้าใจกัน เอิ้นก็เลยลองคิดว่ามันจะมีอะไรมั้ยที่จะเป็นอาวุธ ที่จะทำให้คนสามารถมีครอบครัวได้ทุกๆ ที่
A :  การมีครอบครัวได้ทุกๆ ที่ เป็นยังไง  หมอเอิ้น : คือเอิ้นก็มาตีโจทย์คำว่าครอบครัว  ในความรู้สึกหรือจิตวิญญาณ มันคือพื้นที่ที่เรารู้สึกว่ามันเป็นที่ของเรา มีคนที่ยอมรับความเป็นเรา  มีคนที่รู้จักตัวเรา มันมีความปลอดภัยอยู่ในนั้น แล้วมัน มีความอบอุ่น มันมีความสงบ คือบ้าน คือครอบครัว คือจิตวิญญาณ งั้นถ้าเรามีครอบครัวที่เป็นแบบนี้ มันก็หมายความเราไปอยู่ที่ไหนเราก็มีครอบครัวอยู่ในตัวเราได้เลย มันเป็นครอบครัวที่อยู่ในที่ทำงานก็ได้ มันเป็นครอบครัวอยู่ในห้องประชุมยังได้เลย แต่สิ่งนี้จะเกิดได้ เราต้องมีการสื่อสารที่ดื การสื่อสารที่ดีเนี่ย ไม่ใช่การสื่อสารกับคนอื่นนะ มันคือการที่เราต้องสื่อสารกับตัวเองด้วย     You' re not alone ก็คือการเน้นในเรื่องของการที่เราจะมีทักษะในเรื่องของการสื่อสาร แล้วก็ทำความเข้าใจที่ดีกับตัวเอง แล้วก็คนรอบข้าง เพื่อให้เรามีคำว่าครอบครัว มีคำว่าบ้านอยู่ในทุกๆ ที่ที่เราอยู่    ถ้าเราอยู่ในที่ๆเงียบๆคนเดียว แล้วมีเพียงแต่ตัวเรา  บางทีเราจะได้ยินเสียงความต้องการของเรา   ที่มันผุดขึ้นมา เราจะได้เห็นเรานั่งหลับตา  เห็นภาพเรากังวล หรือความคาดหวังอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้น  เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้มันอยู่ใต้จิตสำนึกเราทั้งหมด     เวลาที่เราพูดถึงการสื่อสาร  เรามักจะมองแค่ว่าเราต้องไปสื่อสารกับคนอื่น แต่จริงๆ คนที่เราต้องสื่อสารที่สุด นี่คือตัวเราเองนี่แหละ   ความคิดที่อยู่ใต้จิตสำนึกของเรา ความปรารถนาลึกๆ ของเราที่สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง สิ่งที่เราอยากจะแสดงออก  จริงๆ ที่เรามีปัญหาในสังคมทุกวันนี้ เพราะเราอยู่กับตัวเองไม่เป็น  เราฟังตัวเองไม่เป็น  เราจัดการตัวเองไม่เป็น เราเห็นสันดานตัวเองไม่ได้    ยอมรับตัวเองไม่ได้ อย่างเช่น คนบนถนนเนี่ย เมื่อเช้าเอิ้นมา  เห็นคนบีบแตรใส่กัน  จะตีกันอยู่แล้วนะ  คือเราจัดการความโกรธของเราไม่ได้  เพราะว่าเรายอมรับความโกรธของเราไม่ได้ เรายอมรับความหงุดหงิด  ความเสียใจที่เพื่อนร่วมถนนปฏิบัติกับเราแบบนี้ไม่ได้ เราก็ต้องออกไปจัดการด้วยพฤติกรรม แล้วเจ้าตัวที่ทำพฤติกรรมแบบนี้ก็ไม่เห็นตัวเองนะ  แต่ถ้าเราเห็นพฤติกรรมของเราก่อน  เราก็จะไม่ทำนะ    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
A : สำหรับบางครอบครัว ที่เราจะเห็นบ่อย ก็คือพูดจากันไม่ได้เพราะ  แต่กลับกลายเป็นว่าพูดกับคนอื่นดีมาก เราจะทำให้คนในครอบครัวพูดกันดีๆ แบบพูดกับคนอื่นได้ยังไง
หมอเอิ้น : จริงๆ แพทเทิร์นของการพูดในครอบครัว เอาจริงๆ นะ มันไม่ได้สอดคล้องกับความรู้สึก ยกตัวอย่าง เอิ้นไปเป็นผู้เชี่ยวชาญรายการนึง สามีกับภรรยาคู่นึง โคตรน่ารักเลย ทั้งสองคนเนี่ยดูไนซ์มาก สามีเป็นตากล้อง ภรรยาเป็นช่างแต่งหน้า แต่เวลาเค้าคุยกัน กูกับมึง คือสามีเป็นรุ่นพี่ของภรรยา แล้วเป็น เด็กศิลปากรด้วย เค้าก็พูดกูกับมึงมาตลอด คือบางคนการพูดแบบเนี้ย มันจริงใจอ่ะ อย่าลืมว่าทุกคน  มิสัยดิบในตัวหมด  บางทีเราก็อาจจะมีบางโมเม้นท์ที่เราอยากใช้คำว่า กู มึง อะไรบ้าง ทีนี้มันอยู่ที่ว่าเราใช้คำพูดแบบมีหางเสียง หรือ ไม่มีหางเสียงเนี่ย   ถ้าเกิดที่ผ่านมา เราจะพูดกูหรือมึง ก็ต่อเมื่อมึงตายแน่ เราคุยกันได้  ที่นี้ก็มาจัดการอารมณ์ในเรื่องครอบครัว ว่าถ้าสมมุติเราโกรธกันนะ เราทำยังไง ในขณะที่ เราก็พูดกันอย่างงี้มาตลอด แต่เราแค่รู้สึกเปรียบเทียบ ทำไมบ้านอื่นไม่เป็นๆแต่บ้านเรา เห้ย ทำไมกับคนอื่นไม่เป็น เอ๊ะหรือว่าไม่รักฉันรึเปล่าเนี่ย  ทำไมพูดกับคนอื่นเพราะ  แล้วทำไมพูดกับฉันไม่เพราะ  บางทีก็อาจไม่ใช่   แค่เป็นตัวของตัวเอง จริงๆแล้วก็คือรักไง  อาจจะต้องเข้าใจบริบทของคำพูด หรือถ้าเกิดว่าเราอ่ะ พูดคำนี้แล้วเกิดทะเลาะกันทุกครั้ง  ก็ต้องมาคุยในพ้อยท์ของคำนี้  อย่าบานปลาย อย่าลามไปเรื่องอื่นไม่งั้นมันจะมีปัญหา   -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

A : เราจะสื่อสารกับคนที่เรารักได้ยังไง
  หมอเอิ้น :  ถ้าสำหรับคนที่เรารักนะ คือ เราอาจจะต้องแบ่งการสื่อสารออกเป็นสองอย่าง  หนึ่งก็คือการสื่อสารเรื่องของความรัก คือเมื่อไหร่ที่คนๆนั้น ขึ้นชื่อว่าเป็นคนรักของเรา  เราต้องหล่อเลี้ยงความรู้สึกของเค้าด้วยความรัก ทีนี้ภาษารัก ความรู้สึกว่าเธอยังรักฉันไหมของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน อย่างบางคู่ที่เอิ้น เพิ่งเจอมา  สามีน้อยใจว่าภรรยาไม่ค่อยมีเวลาให้ สามีอายุมากเกษียณอยู่บ้านเฉยๆ  ในขณะที่ภรรยากลายเป็นเสาหลักของบ้าน ทำงานหนัก อาทิตย์นึงหยุดวันเดียว ซึ่งเค้าก็เหนื่อยมาก เค้าก็อยากจะมีเวลาส่วนตัวของเค้า ที่เค้าทำอะไรแล้วเค้าสนุก มีความสุข อยู่กับเพื่อน  แต่การแสดงความรักของเค้า ก็คือการที่เค้าหาเงิน  ซื้อของให้คนในบ้านได้อยู่กินกันสบาย คือความรับผิดชอบ  เราฟังแค่นี้เรารู้สึกว่าเค้ารักกันไหม  คือเราก็รู้ว่าเค้ารักกันนะ  สามีอยากได้เวลา อยากอยู่กับคนรัก  ภรรยาก็รับผิดชอบ ทำงานทุกอย่างเพื่อที่จะเอาเงินมาเลี้ยงคนในบ้าน แต่เค้ารู้สึกไม่รักกันแล้วใช่มั้ยอ่ะ   ต้องหย่ากันแล้วใช่มั้ย  จริงๆ ก็คือภาษารักของคนสองคนไม่ตรงกัน คือสามีเนี่ย บอกว่าถ้าเธอรักฉัน เธอต้องให้เวลาฉัน ในขณะที่ภรรยาคือ ถ้าเธอรักฉัน เธอต้องเลี้ยงดูฉัน เพราะฉันรักเธอฝ่ายเดียวไง เนี่ยฉันให้ทุกอย่างเลย เอาเงินมาให้ทั้งเดือน ฉันให้เธอหมดเลยนะ  แต่สามีแบบ ฉันไม่ได้ต้องการเลย  ฉันต้องการเธอ อยากให้เธออยู่บ้าน กับฉันบ้าง ทั้งที่จริงๆ แล้วเนี่ย นี่มันเป็นมวลของความรักใหญ่โตมโหฬารมากที่อยู่ในบ้าน แต่เพียงรูรับความรักมันต่างกัน  เหมือนแชนแนลมันต่างกันปุ๊บ มันก็จูนกันไม่ได้ ก็กลายเป็นว่าไม่รักกันและ  ต่างฝ่ายต่างไม่ได้เติมเต็มกันและกัน  สุดท้ายคือคู่นี้มาหาด้วยความอยากแยกทาง  ถ้าจะสื่อสารกับคนรัก เราต้องเข้าใจภาษารักของเค้า อย่างสามีเอิ้นเนี่ยเพิ่งรู้ โหไม่ต้องทำไรเลยหว่ะ หอมแก้มแค่นี้ คือกอดเค้าโอเคแล้ว นี่คือ รักกก ต่อให้เราไปทำดี เออชั้นเข้าใจเธอ พูดอะไรต่างๆ นาๆ เนี่ย ไม่ๆๆๆ ไม่ได้รู้สึกว่าทำให้ฉันรักเธอเลย จนกว่าเธอจะมากอดฉัน คือเราต้องเข้าใจภาษารักของเรา และเราต้องเข้าใจภาษารักของอีกฝ่าย อันนี้ก็คือเพื่อให้ความรักยังหล่อเลี้ยงความสัมพันธ์ ต่อมาก็คือการสื่อสารเพื่อความเข้าใจ อันนี้มันจะทำให้ชีวิตมันราบเรียบ คือให้การดำเนินชีวิตเนี่ยมันง่าย คือ ฉันต้องการแบบเนี้ย แล้วเธอต้องการแบบเนี้ย แล้วความต้องการของเราคืออะไร อยู่ตรงกลางที่ ไม่ได้เกียวกับเรื่องรักแล้วนะ แต่เป็น เรื่องของการใช้ชีวิต ซึ่งอันนี้ มันจำเป็นในทุกๆ ที่นะ หัวหน้าต้องการอะไร ฉันต้องการอะไร เราจะทำงานร่วมกันยังไง เพื่อนร่วมงานต้องการอะไร เราต้องการอะไร งานนี้เราจะจอยกันได้ยังไง นี่คือการสื่อสารเพื่อความเข้าใจ   -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    A : สุดท้ายความเข้าใจกัน มันสำคัญยังไงบ้างกับทุกกลุ่มความสัมพันธ์ และทำให้เราใช้ชีวิตเป็นสุขยังไง
หมอเอิ้น :  ความเข้าใจมันทำให้ชีวิตเราง่าย ไม่ต้องดราม่า  เราจะลดเวลาเวิ่นเว้อในชีวิตมากขึ้น  แล้วเราก็จะมีเวลาคุณภาพ สำหรับตัวเอง สำหรับงาน มีเวลาคุณภาพสำหรับชีวิตครอบครัว สำหรับความสุข และความสำเร็จมากขึ้น    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------     "ขอบคุณหมอเอิ้น พิยะดา "   กับเรื่องราว You're not alone   เพราะเราไม่ได้โดดเดี่ยว   คนข้างๆจึงสำคัญ  และ การเข้าใจตัวเองก็สำคัญ  วันนี้มีเวลาไหมคะ ลองถามตัวเองดู ว่าตอนนี้เราเข้าใจตัวเองบ้างหรือยัง         สามารถติดตามหมอเอิ้น พิยะดา ได้
Youtube  :  หมอเอิ้น พิยะดา unlocking happiness         
https://www.youtube.com/channel/UCUkLOuK0DwOyIsb6ho8G_ew
FACEBOOK FANPAGE :  ดีต่อใจ โดย หมอเอิ้น พิยะดา
https://www.facebook.com/earnpiyada       สถานที่  : สวนเสียงไผ่   Content Creator  
KARUPREEYA      

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0