โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เราอาจ #กินพลาสติกอยู่ไม่รู้ตัว

WWF-Thailand

อัพเดต 03 ก.พ. 2563 เวลา 08.53 น. • เผยแพร่ 19 ก.พ. 2563 เวลา 02.15 น.

 

“สารจากพลาสติกที่เราเจอแล้วมีผลกับร่างกายคือมีโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนในร่างกายเรา เมื่อเข้าไปอยู่ในเลือดร่างกายเราจะตรวจว่ามีฮอร์โมนเข้ามาเรื่อยๆ เกินกว่าปริมาณที่ร่างกายควรได้รับ หากฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนเพศ ในส่วนของผู้ชายคือฮอร์โมนตัวนี้คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง เมื่อรับเข้าไปในปริมาณมาก จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกับผู้หญิงคือมีเต้านมหรือการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมากผิดปกติ ในแง่ของผู้หญิงเมื่อมันรับฮอร์โมนเข้ามามากๆ ก็จะพบว่าอัตราการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้น”

 

หมอตั้ม หรือ นายแพทย์ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข บุคลากรทางการแพทย์ และยังเป็นผู้เข้าแข่งชันในรายการ Master Chef Thailand บอกเช่นนั้น ย้ำให้เห็นความจริงว่า วันนี้พลาสติกกำลังคืบคลานเข้ามาสู่ระบบร่างกายมนุษย์ และจริงๆ แล้วพลาสติกมีอยู่ทุกที่

 

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศออสเตรเลีย ที่ทำร่วมกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ระบุว่า พลาสติกที่ปะปนในห่วงโซ่อาหารของสัตว์ จนถึงมนุษย์ อาจเข้าสู่ร่างกายคนเรา ผ่านอาหาร น้ำดื่ม หรือกระทั่งระบบทางเดินหายใจ โดยเฉลี่ยแล้วสัปดาห์ละ 5 กรัม หรือเทียบเท่ากับ บัตรเครดิต 1 ใบ!

 

แม้งานวิจัยฉบับนี้จะยังไม่มีผลลัพท์ทางด้านการแพทย์ หรือสุขภาพ แต่ถือเป็นการปลุก ให้คนทั่วโลกได้เริ่มตระหนักถึงพิษภัยของสารประเภทพลาสติก ที่อยู่คู่กับคนทั่วโลกมาแล้วครึ่งศตวรรษ ท่ามกลางความสะดวกสบายและวิถีชีวิตสไตล์โลกาภิวัฒน์ มนุษย์เรากำลังซ้ำเติมธรรมชาติแบบ #ไม่รู้ตัว ตั้งแต่การผลิตพลาสติก จนถึงการ “ทิ้ง” ขยะพลาสติกลงสู่ทะเล โดยไม่ได้มีกระบวนการจัดเก็บ ทำลาย ย่อยสลายที่มีประสิทธิภาพมากพอ

 

อาจารย์ วรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุจากโครงการ Chula Zero Waste ในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ชีวิตอยู่กับแวดวงพลาสติกมาตลอดการทำงานกล่าวว่า ในประเทศไทย ยังไม่มีการกำจัดขยะพลาสติกที่มีประสิทธิภาพดีพอ และที่สำคัญ “พลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นขยะแล้วไม่มีพลาสติกชิ้นไหนเลยครับที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ”

 

จากข้อมูลเหล่านี้ สิ่งเดียวที่มนุษย์ทำได้ ไม่ใช่การเลือกรับประทานอาหาร แต่เป็นการ “ลด” การสร้างขยะจากตัวเรา เพราะการลดการใช้ และคิดให้รอบคอบก่อนทิ้ง คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นทางที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในปลายทาง

ท่าสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ในแคมเปญรณรงค์ลดปัญหาพลาสติก #กินอยู่ไม่รู้ตัว ของ WWF ที่ http://www.wwf.or.th/our_news/publication/news/…

และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมไร้พลาสติก ด้วยการลงชื่อสนับสนุนโครงการได้ที่ www.yourplasticdiet.org และร่วมซึ่งวันนี้มีผู้ลงชื่อร่วมกับ WWF แล้วทั่วโลกมากกว่า 1.6 ล้านคน

=============================
#WWFThailand
#YourPlasticDiet
#กินอยู่ไม่รู้ตัว

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0