โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เราฝึกการมีความสุขได้จริงเหรอ? - หมอเอิ้น พิยะดา

THINK TODAY

เผยแพร่ 13 มี.ค. 2562 เวลา 13.00 น.

วันแรกที่ทารกน้อยถือกำเนิดมาบนโลกนี้ หลังจากหมอดูดน้ำคล่ำในช่องปากเพื่อเปิดการแสดงออกต่อโลกใบใหม่ สิ่งที่เด็กตอบสนองคือการร้องไห้กระจองงองแง เพื่อเปิดรับอากาศเข้าไปในปอดเป็นครั้งแรก

เค้าหยุดการกรีดร้องนี้เมื่อมีผ้ามาห่อหุ้มพร้อมอ้อมกอดอันอบอุ่นและการกระตุ้นความสุขที่ปาก

จากพฤติกรรมนี้เราจะเห็นได้ว่าทารกน้อยคนนี้เกิดมาพร้อมกับความทุกข์และความต้องการที่จะมีความสุข

ดังที่เรียกร้องตั้งแต่วันที่เกิดมา แล้วเราทุกคนก็ต่างเคยเป็นเด็กทารกน้อยคนนั้นมาก่อน

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจถ้าเราจะรู้สึกไม่ชอบความทุกข์และอยากมีความสุขตลอดเวลา

เมื่อมีปัจจัยแวดล้อมที่ไม่ได้เป็นดั่งที่คิด ได้ยินเสียงที่ไม่อยากได้ยินมากระทบ

ทั้งที่เราก็รู้สึกว่าฉันทำดีแล้ว ฉันคิดดีแล้ว ฉันพูดถูกแล้ว กลับยังไม่ดีพอแล้วตกลงฉันควรฟังใคร

ฉันควรคิดอย่างไร ฉันควรทำอะไร แล้วอะไรคือความจริง 

ความจริงคือ ความทุกข์คือส่วนหนึ่งของชีวิต 

ทุกข์จากอะไร 

1.การมีขอบเขตและกำแพงของตัวเอง ตัวกู ของกู (ทั้งที่ความจริงเราเกิดมาเพื่ออิงอาศัย)

2.การพยายามรักษาสภาวะทุกข์อย่างให้ตัวเองรู้สึกดีเหมือนเดิม เพื่อนต้องรักเราเหมือนเดิม ต้องมีชื่อเสียงเท่าเดิม ต้องมีเงินไม่น้อยกว่าเดิม อื่นๆ (ทั้งที่ความจริงชีวิตคือการเปลี่ยนแปลงและไม่มีอะไรเหมือนเดิมตลอดเวลา)

3.พยายามแสวงหาความสุขหลีกเลี่ยงความทุกข์ (ทั้งที่ความจริงเราเลี่ยงทุกข์ไม่ได้)

( จากหนังสือ สมองพุทธะ)

ความจริงคือปกติ คิดตามแล้วรู้สึกเป็นปกติ ได้ยินแล้วรู้สึกปกติ ทำตามแล้วรู้สึกปกติ 

และการมีความสุขคือทักษะอย่างนึงที่เราฝึกฝนได้ เพราะสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดและจิตใจของเรา ( Psychological mind ) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ 

1.สมองส่วนหน้า ( Frontal lobe)  ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การรับรู้ ความคิด สติปัญญา สมาธิ การมีเหตุผล การแก้ปัญหา

2.สมองส่วนการเก็บข้อมูล ( Parietal lobe ) ทำหน้าที่ในการรวบรวมและประมวลข้อมูลความรู้สึก

3. สมองส่วนระบบลิมบิก  ทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองต่ออารมณ์ พฤติกรรม สัญชาติญาณความต้องการในด้านต่างๆ และความจำระยะยาว

ซึ่งเมื่อเราเกิดมาสมองส่วนที่สามจะทำงานเป็นหลักเพื่อให้ชีวิตเราอยู่รอด เพื่อให้สมองส่วนที่หนึ่งและสองค่อยๆเติบโตตามพัฒนาการและการฝึกฝน เพื่อให้เราสามารถมีชีวิตที่สมดุลและหลากหลายได้

ดังนั้นเราสามารถฝึกฝนสมองให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ในทุกส่วนได้รวมถึงการมีความสุข 

เหมือนเราฝึกเดิน ฝึกพูด ฝึกขับรถ ฝึกเล่นดนตรี ทั้งที่ไม่เคยเป็นก็เป็นได้

เพราะการฝึกฝนทำให้สมองของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา

ฝึกอย่างไร? 

1. ฝึกที่จะช้าลง สังเกตอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของตนเองอย่างซื่อสัตย์ เปิดใจยอมรับและไม่ตัดสิน

2.ความเพียรในการปล่อย ปล่อยความคิด ความรู้สึกที่เราต่อยอดมาจากการรับรู้

3.เพิ่มอารมณ์ที่เป็นบวก ช้าลงเพื่ออิ่มเอมกับความดีและคุณค่า แม้เป็นสิ่งเล็กน้อย

การฝึกตนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้สมองเราเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น 

ที่สำคัญ เราจะมีความสุขจากการมีความรักและเมตตาต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างแท้จริง

                            **เพราะความสุขเป็นทักษะที่เราฝึกฝนได้**

Youtube : https://youtu.be/X2ZlC3Q1muc พาไปทานอาหารเช้าแถวบ้าน

----------------------------------------------------------------------------

Page FB ดีต่อใจ โดย หมอเอิ้น พิยะดา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156783544953550&id=306538978549

----------------------------------------------------------------------------

IG : https://www.instagram.com/earnpiyada/

----------------------------------------------------------------------------

Website : http://www.earnpiyada.com/

หมอเอิ้น พิยะดา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0