โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เมื่อ "Less is More" กำลังนำ MUJI ไปสู่ทางตัน

Brandbuffet

อัพเดต 17 ก.ค. 2562 เวลา 10.52 น. • เผยแพร่ 17 ก.ค. 2562 เวลา 09.43 น. • Brand Move !!

กลายเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ต่างก็พูดถึงเมื่อแบรนด์ "MUJI" ที่ถูกจารึกชื่อว่าใช้ "ความเรียบง่าย" ในการทำตลาดมายาวนาจะประสบปัญหาด้านผลประกอบการกับเขาบ้างแล้ว

โดยคำกล่าวนี้อาจฟังดูโหดร้าย แต่ก็ต้องยอมรับว่าอาณาจักร MUJI ในปัจจุบันไม่ใช่เล็ก ๆ พวกเขาเติบโตจนมีสาขาทั่วโลก 975 แห่ง (เป็นสาขาที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่นถึง 517 สาขา) และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่าเมื่อ 5 ปีก่อนประมาณ 3 เท่าตัว หรือในส่วนของรายได้ก็เติบโตขึ้นเป็น 4 แสนล้านเยน แถม 40% ของยอดขายทั้งหมดยังมาจากสาขาในต่างแดน ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้บริษัท Ryohin Keikaku เจ้าของแบรนด์ MUJI เป็นที่คาดหวังของนักลงทุน

อย่างไรก็ดี ผลประกอบการที่มีการเปิดเผยออกมาล่าสุดบ่งชี้ว่า สถานการณ์ของ Ryohin Keikaku เริ่มตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก เนื่องจากมีกำไรจากการดำเนินงานลดลงครั้งแรกในรอบ 8 ปี และไม่สามารถทำตัวเลขได้ตามที่นักวิเคราะห์คาดหวัง

ประเทศที่ MUJI ทำตลาดยากลำบากที่สุดในตอนนี้ก็คือจีนแผ่นดินใหญ่ โดยปัญหาหลักของแบรนด์มาจากสินค้าที่มีราคาแพงขึ้นเมื่อไปวางจำหน่ายในต่างประเทศ ประกอบกับการไม่มีทีมพัฒนาสินค้าที่เข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศอย่างแท้จริง ทำให้ถูกผู้ประกอบการท้องถิ่นเอาชนะได้โดยง่าย ซึ่ง Satoru Matsuzaki ประธานบริษัท Ryohin Keikaku ก็ออกมายอมรับกับผู้สื่อข่าวของ Bloomberg ว่าเป็นความจริง

โดยข้อมูลผลประกอบการของ Ryohin Keikaku พบว่า ยอดขายของ MUJI ในจีนแผ่นดินใหญ่ ลดลงอย่างต่อเนื่องจนติดลบในปี 2018

ขอบคุณภาพจาก Bloomberg
ขอบคุณภาพจาก Bloomberg

Less is More = ก๊อปง่าย

อย่างไรก็ดี ความจริงอีกข้อที่เกิดขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ และ MUJI ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ ความเรียบง่ายของ MUJI ทำให้ถูกบริษัทในจีนก๊อปปี้อย่างง่ายดาย โดยสำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งพร้อมใจกันเพ่งเล็งไปที่แบรนด์มินิมอลอย่าง Miniso, Nome และ OCE ว่าเป็นตัวการ

ส่วนการแก้เกมของ MUJI อาจเกิดขึ้นได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นในประเทศจีนเพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น หรือการเปิดตัวสินค้า Made in India กว่า 200 รายการเพื่อเจาะตลาดอินเดียโดยเฉพาะ นอกจากนั้น ยังพบว่ามีการย้ายฐานการผลิตมาอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีค่าแรงถูกกว่าเพื่อลดต้นทุนการผลิตด้วย

งานนี้คงต้องติดตามดูกันว่า ปรัชญาการบริหารแบบ Less is More ของ MUJI จะยังคงความขลังในโลกการแข่งขันยุคใหม่เอาไว้ได้หรือไม่ หรือมันจะกลายเป็น Less is More (competitors) ที่หันกลับมาทำร้าย MUJI ในวันนี้เสียเอง

Source

Source

Source

Source

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0