โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เมื่อ Covid-19 ไม่เหมือนวิกฤตครั้งอื่น กับ “ความเสี่ยง” ที่เราอาจไม่เคยเจอ

ทันข่าว Today

อัพเดต 03 เม.ย. 2563 เวลา 03.33 น. • เผยแพร่ 03 เม.ย. 2563 เวลา 03.06 น. • ทันข่าว Channel

Highlight

  • ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกมีมากกว่าล้านคนทั่วโลกในขณะนี้
  • “วิกฤติ Covid-19 ในปี 2020” มักถูกนำมาเปรียบเทียบกับ “วิกฤติการเงินโลกปี 2008” แม้จะต่างในหลายมิติ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันชัดเจนคือ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจโลกปีนี้มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี
  • 3 เหตุการณ์สำคัญที่สั่นคลอนเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ผ่านมาแล้วกว่า 3 เดือนที่ Covid-19 ได้แพร่ระบาดอย่างรุนแรงไปทั่วโลก
ข้อมูลล่าสุดจากมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอบกิ้น (3เม.ย.63)

ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกมีมากกว่า 1,011,000 คน และยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกมีอย่างน้อย 52,800 คน

ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด

  1. สหรัฐฯ (242,182)
  2. อิตาลี (115,242)
  3. สเปน (112,065)
  4. เยอรมนี (84,788)
  5. จีน (82,432)

“วิกฤติ Covid-19 ในปี 2020” มักถูกนำมาเปรียบเทียบกับ “วิกฤติการเงินโลกปี 2008” ซึ่งพบว่าวิกฤติทั้งสองได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเหมือน และต่างกันในหลากหลายมิติ โดยสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันชัดเจนคือ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจโลกปีนี้มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี

หากเทียบการขยายผลสู่เศรษฐกิจโลก (วิกฤติการเงินโลกปี 2008 – วิกฤติโรคระบาด Covid-19)

วิกฤติการเงินโลกปี 2008 : ด้วยความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการเงินของสหรัฐฯ กับสถาบันการเงินในหลายประเทศ เมื่อสถาบันการเงินในสหรัฐฯ เกิดปัญหาสภาพคล่องจึงส่งผลกระทบไปยังสถาบันการเงินในประเทศอื่นๆ ส่งผลให้ภาคธุรกิจในหลายประเทศขาดสภาพคล่องตามไปด้วย

วิกฤติโรคระบาด Covid-19 : การแพร่ระบาดได้ลุกลามไปเกือบทุกประเทศทั่วโลก และดูเหมือนจะรุนแรงและควบคุมได้ยาก ส่งผลให้หลายประเทศต่างใช้มาตรการเดียวกับจีน คือ Lockdown หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายๆ อย่าง ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ภาคการบริการและท่องเที่ยว การบริโภค การลงทุน และที่สำคัญคือการจ้างงาน จนนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยพร้อมกันในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย

โดย “แบงก์ชาติ” คาดการณ์ว่า GDP ไทยปีนี้จะหดตัวถึง 5.3% ซึ่งเป็นการหดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ปี 1997 (พ.ศ. 2540)

KKP Research ระบุว่าปรากฏการณ์นี้ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ประสบกับวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในแทบทุกช่องทางอย่างหลบเลี่ยงไม่ได้ และส่งผลกระทบทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง พูดได้ว่า “วิกฤติครั้งนี้สร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจและสังคมได้ลึกและเป็นวงกว้างกว่าวิกฤตการเงินปี 2008”

วันนี้ สิ่งที่เราได้เห็น 3 เหตุการณ์สำคัญที่สั่นคลอนเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น

  • Circuit Breaker (CB) – มาตรการระงับการซื้อขายชั่วคราวถูกนำมาใช้มากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกวิกฤตในอดีต ตั้งแต่ต้นปีที่ Covid-19 เริ่มระบาด ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงรุนแรงกว่า 30% ส่งผลให้ตลาดหุ้นหลายประเทศต้องงัดมาตรการ CB มาใช้มากเป็นประวัติการณ์
  • Volatility – ความผันผวนรุนแรงที่สุด เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา ดัชนีความผันผวน (VIX Index) ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือเป็นดัชนีที่นิยมใช้เป็นตัวแทนความกลัวของนักลงทุน ได้พุ่งขึ้นไปแตะ 82.69 จุด สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีครั้งแรกในปี 2473 สูงกว่าช่วงวิกฤต Hamburger
  • Interest Rate – อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่หดตัวอย่างรุนแรงจาก Covid-19 ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศต่างงัดนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมาใช้กันอย่างถ้วนหน้า ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย รวมถึงไทย

คงพอจะเห็นเค้าว่าเรากำลังเราก้าวเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจที่อาจรุนแรงและยืดเยื้อกว่าทุกครั้ง ท่ามกลางภาวะแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและความผันผวน แต่เมื่อต้นตอปัญหาเกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทางแก้ปัญหาก็คือการทำให้การระบาดหมดไป หรือการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคมาใช้

ทางเลือกที่นักลงทุนสามารถเลือกได้

จุดที่สำคัญคือ “ไส้ใน” สินทรัพย์ที่ลงทุน หากสภาพคล่องหายไป สินทรัพย์ในกองทุนสามารถไปได้ต่อไหม

สำหรับนักลงทุน วิธีชั่งน้ำหนักที่ดีที่สุด คือ ถามตัวเองว่าทุกวันนี้ เรานอนหลับสบายมั้ย ที่ต้องมีภาระใช้จ่ายเงินก้อนนี้ สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ การลงทุนระยะยาว น่าสนใจ ในราคาที่ดีกว่า แต่อย่าลืมเรื่องความเสี่ยงที่เหมาะสมของตัวเรา

แนะนำให้ทยอยลงทุน อาจจะด้วยวิธี DCA หรือ ลงทุนแล้วรอดูจังหวะเป็นระยะ
แต่ถ้าเราเลือกไม่ลงทุนเลย อย่าลืมว่าเวลาที่ตลาดฟื้น เราจะสูญเสียโอกาส … เช่นกัน

“สติและเตรียมรับมือกับความเสี่ยง” ที่อาจเกิดในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่าย การบริหารสภาพคล่องให้เพียงพอ รวมถึงการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรอโอกาสที่จะกลับมาตั้งหลัก เพื่อเตรียมก้าวเดิน มองหาโอกาสที่เป็นทางเลือกสู่ทางรอดในยามวิกฤตของเราให้เจอ

Cr: KKP research , ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) , มหาวิทยาลัย จอห์น ฮอบกิ้น ข้อมูลผู้ป่วย Covid-19, บลจ.ฟิลิป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0