โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เมื่อต้นไม้เรืองแสงกลายเป็นพลังงานสะอาดแห่งโลกอนาคต

ADVERTORIAL

เผยแพร่ 23 มิ.ย. 2562 เวลา 17.00 น. • ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)

ผู้เชี่ยวชาญ “นาโนไบโอนิค” เผยผลงานวิจัยสุดไฮเทค บนเวทีเสวนาระดับนานาชาติ WATS FORUM 2019 มุ่งเพิ่มขีดความสามารถของพืช เชื่อมโยงระบบนิเวศธรรมชาติ กับสังคมมนุษย์ สร้างความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน พร้อมต่อยอด “ต้นไม้เรืองแสง” สู่พลังงานสะอาดในอนาคต

เมื่อ “ต้นไม้เรืองแสง” ในภาพยนตร์เรื่อง Avatar ไม่ได้เป็นแค่เรื่องจินตนาการ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยศตวรรษที่ 21 ภายใต้การคิดค้นของ ศ. ดร. ไมเคิล สตีเวน สตราโน ผู้เชี่ยวชาญนาโนไบโอนิค จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT ที่นำเสนอ “การเพิ่มขีดความสามารถของพืชเพื่อช่วยแก้ปัญหาสำหรับมนุษยชาติ” โดยมีฉากต้นไม้เรืองแสงยามค่ำคืน ในภาพยนตร์เรื่อง Avatar เป็นแรงบันดาลใจ และจุดประกายให้เขาพัฒนาเอนไซม์และโมเลกุลที่หิ่งห้อยใช้เปล่งแสง มาเพิ่มขีดความสามารถให้ต้นไม้ส่องสว่างได้ ซึ่งประสบความสำเร็จในการทำให้ต้นวอเตอร์เครส (ผักสลัดน้ำ) เรืองแสงได้เหมือนกับโคมไฟตั้งโต๊ะ

งานเสวนาระดับสากล WATS FORUM 2019 ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC ภายใต้บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เป็นงานเสวนาระดับนานาชาติที่ครอบคลุมมิติในด้านต่างๆ ตั้งแต่ความเป็นอยู่ที่ดี(well-being) สถาปัตยกรรม (architecture) เทคโนโลยี (technology) และความยั่งยืน (sustainability) งานวิจัยของเขา จึงเปรียบเสมือนตัวเชื่อมโยง บูรณาการระบบนิเวศธรรมชาติ ให้สามารถเข้ากับสังคมของมนุษย์ได้อย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน ตอกย้ำการสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของทุกสรรพสิ่งบนโลก

ศ. ดร. ไมเคิล สตีเวน สตราโนหนึ่งในวิทยากรของการเสวนาครั้งนี้ เป็นสุดยอดกูรู ผู้ก่อตั้งสาขาวิชา Plant Nanobionics โดยมีผลงานวิชาการตีพิมพ์ด้านการวิจัยและประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมกว่า 50 ฉบับ และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมีจากมหาวิทยาลัยเดลาแวร์  

บนเวทีเสวนา เขาตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันระหว่าง มนุษย์ และพืช รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถของพืชในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ “ต้นไม้เรืองแสง” ซึ่งถือเป็นพลังงานยั่งยืนแห่งอนาคต ด้วยการนำเอนไซม์ “Luciferase” ที่ทำให้หิ่งห้อยเกิดแสง มาใส่ในต้นไม้จนสามารถเรืองแสงและส่องสว่าง ความสำเร็จดังกล่าว นำมาสู่ความร่วมมือกับศูนย์ RISC เพื่อต่อยอด พัฒนาให้ต้นไม้ทำหน้าที่เสมือนเสาไฟฟ้า ที่สามารถเรืองแสงด้วยตนเองเพื่อให้ความสว่างบนท้องถนน

โดยเมื่อดูจากงานวิจัยของ ไมเคิล สตีเวน สตราโน มักจะมุ่งเน้นการใช้อนุภาคระดับนาโนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับพืช เช่น พืชที่สามารถบันทึกภาพโดยรอบได้แบบ 3 มิติ พืชที่สามารถตรวจหาระเบิดที่อยู่ในน้ำได้ ตรวจวัดมลพิษ หรือตรวจวัตถุระเบิดจากการวัดระดับสารเคมีที่อันตราย โดยเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีของ “สมาร์ทโฟน” เป็นตัวจับสัญญาณ ผลงานทั้งหมดนี้ ทำให้เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในฐานะนักประดิษฐ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของโลก

หนึ่งในงานวิจัยของเขา ยังมุ่งพัฒนาความสามารถของพืช ที่สามารถบอกความต้องการกับมนุษย์เช่น ความต้องการน้ำ โดยมีเซ็นเซอร์บนใบไม้ที่สามารถบอกได้เมื่อมันต้องการน้ำ ข้อดีกับการสื่อสารกับพืชได้ จะช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพืช ป้องกันภัยแล้ง ซึ่งจะทำให้เกิดผลิตผลได้มากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน

งานวิจัยของเขาในวันนี้ จึงต้องการมุ่งไปสู่ภาคการเกษตรมากขึ้น ปัจจุบันเขามีห้องแล็บที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อทำการศึกษาเรื่องเหล่านี้โดยเฉพาะโดยมีเป้าหมายเพื่อทำการเกษตรในเมือง เชื่อมโยงสังคมพืชกับสังคมมนุษย์ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคต

ความพยายามต่อไปของเขา คือการพัฒนาพืชให้ส่องสว่าง จนสามารถนำมาใช้แทนโคมไฟ สำหรับอ่านหนังสือ หรือแม้แต่เสาไฟตามท้องถนน ซึ่งปัจจุบันพืชหลากหลายชนิด อาทิ ผักคะน้า ผักสลัดน้ำ ต้นร็อคเก็ต และผักขม หากได้รับเอนไซม์ “Luciferase” จะสามารถเรืองแสงได้เป็นระยะเวลาสูงสุด 4 ชั่วโมง และมีความเข้มข้นของแสงประมาณ 6% ของหลอดไฟ LED

ส่วนเป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างแหล่งกำเนิดแสงจากธรรมชาติโดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ใดๆ จากปัจจุบันแสงจากไฟฟ้าคิดเป็น 20% ของปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด หากการวิจัยของเขา ประสบความสำเร็จ จะสามารถช่วยลดการใช้พลังงาน เพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียว และช่วยสร้างออกซิเจนเพิ่มให้โลกได้เพิ่มชึ้น

บทบาทของพืชในอนาคต จึงไม่ใช่แค่พืชที่เรารู้จักในวันนี้ แต่จะถูกพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับโลก รวมถึงสร้างสังคมการอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน 

### 

สามารถรับชมการเสวนา WATS Forum 2019 ฉบับเต็มได้ที่ 

RISC introduction 

Keynote speakers 

Panel Discussion “Well-being Today and Tomorrow” 

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0