โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เมื่อจิ้งจอกอาร์กติกถูกขุนให้อ้วนเพื่อเพิ่มมูลค่าขนเฟอร์

WWF-Thailand

เผยแพร่ 12 ก.ย 2562 เวลา 17.01 น.

เป็นเรื่องสุดช็อกของวงการแฟชั่น เมื่อสื่อทั่วโลกได้เผยความจริงเบื้องหลังฟาร์มขนเฟอร์ โดยในปี ค.ศ. 2017 ได้มีการเปิดเผยเรื่องราวในฟาร์มสุนัขจิ้งจอกอาร์กติก ณ ประเทศฟินแลนด์หลายแห่ง ภาพจิ้งจอกแต่ละตัวที่อยู่ในกรงขัง ต่างมีสภาพที่ใครเห็นก็ต้องตั้งคำถามว่า “เหตุใดจิ้งจอกอาร์กติกพวกนี้ถึงมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าปกติถึง 5 เท่า”

ภาพจากสื่อได้เผยให้เห็นจิ้งจอกอาร์กติกน้ำหนักกว่า 20 กิโลกรัม อยู่ในกรงขังที่ขนาดเล็กกว่าตัวมันเสียอีก จากการสำรวจพบว่าจิ้งจอกอาร์กติกที่ถูกเลี้ยงในฟาร์มเหล่านี้ ถูกขุนให้อ้วนกว่าปกติ เนื่องจากยิ่งขนจิ้งจอกหนา จะมีราคาสูงขึ้นหลายเท่าตัว โดยปกติแล้ว สุนัขจิ้งจอกอาร์กติกที่ได้มีชีวิตโลดแล่นอย่างเป็นอิสระในธรรมชาติ จะมีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 3-4 กิโลกรัมเท่านั้น แต่สำหรับชีวิตในฟาร์มดูจะเป็นอีกโลกหนึ่งของเหล่าจิ้งจอก

เมื่อถูกขุนให้อ้วนขึ้น ขาทั้ง 4 จะไม่สามารถรับน้ำหนักตัวได้ โดยจากงานวิจัยของประเทศฟินแลนด์ปี ค.ศ. 2014 เผยว่า 20% ของจิ้งจอกอาร์กติกที่ถูกเลี้ยงในฟาร์มจะอ้วนกว่าปกติ และอีก 86% มักจะป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับข้อต่อกระดูก อีกยังมีโรคแทรกซ้อนมากมายตามมา

แม้จะถูกเลี้ยงและเพาะพันธุ์ในกรงขัง แต่สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก และสัตว์ป่าชนิดอื่นที่ถูกฆ่าเพื่อล่าขนนั้น ไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็น “สัตว์เลี้ยง” หากแต่เป็น “สัตว์ป่า” โดยกำเนิด ดังนั้นสัตว์ขนเฟอร์ที่อยู่ในกรงเลี้ยงจะมีความเครียดสูง และตื่นกลัว พวกมันมักจะวิ่งวนอยู่ในกรงที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวมันเพียงน้อยนิด และกัดหางตัวเองจากสภาวะตึงเครียดที่เกิดขึ้น

เส้นทางชีวิตอันแสนทรมานของจิ้งจอกอาร์กติกในฟาร์มขนสัตว์ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น พวกมันมักจะถูกฆ่าด้วยการช็อตไฟฟ้าในวัยไม่ถึง 1 ปี อย่างไรก็ตาม จิ้งจอกอาร์กติกในฟาร์มบางตัวถูกคัดออกมาเพื่อเป็นแม่พันธุ์ในการผสมพันธุ์ ดังนั้นจิ้งจอกแม่พันธุ์ผู้โชคร้ายจะต้องทรมานในกรงขังต่อไปอีก 3-4 ปีก่อนชีวิตจะจบลงด้วยการช็อตไฟฟ้าในที่สุด

อย่างไรก็ตาม จากการผลักดันกฎหมายว่าด้วยเรื่องอุตสาหกรรมขนสัตว์ทั่วโลก ทำให้หลายประเทศ ต่อต้านฟาร์มขนสัตว์ โดยในปี ค.ศ. 2019 นี้ ถือเป็นสัญญาณบวกของการยุติธุรกิจฟาร์มขนสัตว์ เนื่องจากรายงานประเทศฟินแลนด์ได้ระบุว่า ในปี ค.ศ. 2017 มูลค่าของการส่งออกขนสัตว์ของประเทศได้ลดลง จาก 430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สู่ 316 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่จำนวนของการเพาะเลี้ยงเองก็ลดลงเช่นกัน โดยพบว่าปี 2018 นั้น มีจำนวนลูกจิ้งจอกลดน้อยลงกว่า 18% และพบมิงค์น้อยลงกว่า 14% เมื่อเทียบกับปี 2018 ขณะที่จำนวนฟาร์มขนสัตว์นั้น ลดน้อยลงเหลือ 968 แห่งจาก 1015 แห่ง

กว่าจะมาเป็นเสื้อจนสัตว์ราคาแพงคู่ฤดูหนาว ต่างนำมาซึ่ง “ราคาชีวิต” ที่ไม่มีวันนำกลับคืนมาได้ WWF-ประเทศไทย ขอรณรงค์ยุติการทรมานสัตว์ในวงการแฟชั่น โดยทุกท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อพิทักษ์แก๊งสัตว์ป่ากับเราได้ง่ายๆ เพียงโหลด LINE Sticker ชุด Fur Journey ชุดใหม่ในลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ https://store.line.me/stickershop/product/8672584

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.independent.co.uk/…/fox-fur-farm-poland-animal-…

https://www.peta.org/…/undercover-photos-arctic-foxes-finl…/

https://www.thedodo.com/in-the-wild/monster-fox-fur-farms

https://www.eurogroupforanimals.org/animalia-finnish-fur-in…

#WWFThailand #TogetherPossible #Chat2Change

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0