โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เฟซบุ๊กคาด โดนค่าปรับ 1 แสนล้านบาท

ลงทุนแมน

อัพเดต 25 เม.ย. 2562 เวลา 07.49 น. • เผยแพร่ 25 เม.ย. 2562 เวลา 06.08 น. • ลงทุนแมน

เฟซบุ๊กคาด โดนค่าปรับ 1 แสนล้านบาท / โดย ลงทุนแมน

“ค่าปรับ 1 แสนล้านบาท” คือจำนวนเงินที่เฟซบุ๊ก บันทึกลงในค่าใช้จ่ายไตรมาสล่าสุด ที่เพิ่งประกาศวันนี้

Federal Trade Commission หรือ คณะกรรมการการค้าแห่งชาติของสหรัฐ กำลังตรวจสอบการใช้งานข้อมูลของเฟซบุ๊ก และเฟซบุ๊กคาดว่าจะต้องจ่ายค่าปรับประมาณ 100,000 ล้านบาท ถึง 160,000 ล้านบาท

เรื่องนี้ถ้าเกิดขึ้นจริง คงเป็นการปรับเงินครั้งมโหฬารที่สุด ในประวัติศาสตร์โลกใบนี้

แล้วเรื่องนี้จะส่งผลอะไรกับ เฟซบุ๊ก?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

จากเหตุการณ์วิกฤตในปี 2018 เฟซบุ๊กโดนทุกฝ่ายโจมตีเรื่องการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด จนทำให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาตรวจสอบ

ซักเคอร์เบิร์กยอมรับว่า เขาในช่วงที่ผ่านมาคิดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกที่เปลี่ยนไป

คำพูดที่รุนแรง การเลือกตั้ง ความเป็นส่วนตัว คือปัญหาของโลกโซเชียล

เรื่องพวกนี้ไม่ใช่แค่หน้าที่ของเฟซบุ๊ก แต่เป็นหน่วยงานรัฐบาลต้องเข้ามากำหนดกติกาเพื่อดูแลเรื่องนี้

แต่สำหรับเฟซบุ๊กแล้ว เฟซบุ๊กกำลังจะเปลี่ยนไป..

ในช่วงที่ผ่านมาทั้ง เฟซบุ๊ก และ อินสตาแกรม จะเปรียบเหมือนเป็น Town Square หรือจัตุรัสกลางเมือง ที่ให้คนมาแลกเปลี่ยนพูดคุย ทั้งการเจอเพื่อน พบเพื่อนใหม่ หาชุมชน รวมถึงการทำธุรกิจ ซื้อของขายของ

แต่ต่อไปนี้เฟซบุ๊กจะไม่เน้นการเป็น Town Square อีกต่อไปแล้ว
เฟซบุ๊ก จะเน้นการเป็น “Living Room” หรือ ห้องนั่งเล่น

เพราะผู้คนต้องการที่จะติดต่อกันแบบมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

การเป็นห้องนั่งเล่น นั้นจะเป็นตั้งแต่ การส่งข้อความถึงกัน โดยเฟซบุ๊กจะทำให้เข้ารหัส (end-to end encryption) ซึ่งเมื่อเข้ารหัสแล้ว ไม่ว่าจะเป็นใครแม้แต่หน่วยงานรัฐ ก็มาตรวจสอบข้อความไม่ได้

และ เฟซบุ๊กจะหลีกเลี่ยงการตั้งที่เก็บข้อมูลในประเทศที่อ่อนแอเรื่องกฎหมาย และมีความเสี่ยงที่รัฐบาลจะเข้ามาตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้งาน

รวมไปถึงเครื่องมือเพิ่มเติมสำหรับการใช้งานส่วนบุคคล เช่น การจ่ายเงิน

น่าสังเกตว่าในช่วงที่ผ่านมาเฟซบุ๊กกำลังศึกษาเรื่อง cryptocurrency ซึ่งก็น่าจะสอดคล้องกับเรื่องนี้ว่าเฟซบุ๊กอาจจะมีการจ่ายเงินที่เป็นส่วนตัวของแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กเอง

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ เฟซบุ๊กเป็นห่วงเรื่องที่ถูกส่งออกไปจากเรา มันจะวนกลับมาทำร้ายเรา ซึ่งการแก้ปัญหานี้ ก็คือ การทำให้ข้อความที่ถูกส่งออกไปถูกลบทิ้ง เมื่อเวลาผ่านไป..

หลายคนเป็นห่วงว่าเรื่องราวเหล่านี้จะทำให้เฟซบุ๊กมีรายได้น้อยลง

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก บอกว่า ไม่ต้องกังวล เพราะที่ผ่านมา เฟซบุ๊กไม่เคยเอาเนื้อหาในข้อความที่พูดคุยกันมาใช้ประโยชน์อยู่แล้ว เอาแต่ข้อมูลพฤติกรรมของเรา เช่น คลิกไลก์อะไร ชอบกดดูอะไร

การเข้ารหัสข้อความ ไม่ให้คนอื่นเห็น ก็ไม่น่าจะกระทบอะไร

ส่วนการลบข้อมูลทิ้งเมื่อเวลาผ่านไป ก็ไม่น่ากระทบอะไร เพราะส่วนใหญ่ข้อมูลที่ล้าสมัย ก็จะใช้ประโยชน์ได้ไม่มาก

สำหรับในตอนนี้ มีคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของเฟซบุ๊ก คือ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ว็อตส์แอป เมสเซ็นเจอร์ อย่างน้อยหนึ่งแพลตฟอร์ม เป็นจำนวน 2,700 ล้านคนทุกเดือน ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนที่ใหญ่สุดในโลก

รายได้เฟซบุ๊กในไตรมาสนี้เติบโตขึ้น 26%

เฟซบุ๊กปัจจุบันมีพนักงาน 37,700 คน โตขึ้น 36%

ส่วนที่เป็นไฮไลต์ก็คือกำไร กำไรของเฟซบุ๊กไตรมาสนี้ลดลง 51% เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายหลักคือ “ค่าปรับ” จากคณะกรรมการการค้าแห่งชาติของสหรัฐ ที่เฟซบุ๊กคาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณ 1 แสนล้านบาท

พอเรื่องเป็นแบบนี้ ให้ทายว่าตลาดคิดยังไง?

คำตอบคือ ตลาดไม่สนใจกับค่าปรับที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
แต่ให้น้ำหนักกับ ผู้ใช้งาน และ รายได้ที่เติบโตขึ้น

ทำให้หลังประกาศงบ หุ้นเฟซบุ๊กที่ซื้อขายกันหลังปิดตลาด บวก 7% เป็นที่ราคา 196.38 ดอลลาร์สหรัฐ

ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ในช่วงวิกฤตเฟซบุ๊กปีที่แล้ว ราคาหุ้นเฟซบุ๊กทำจุดต่ำสุดที่ 123.02 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนธันวาคม 2018

เวลาผ่านไป 4 เดือน ราคาหุ้นเฟซบุ๊กขึ้นมาแล้ว 60%..
———————-
ติดตามเรื่องหลากหลาย จากผู้เขียนเก่งๆในแอป blockdit
นอกจากนั้น เรายังเขียนเองได้ และสามารถสร้างรายได้ในนี้
โหลดแอปได้ที่ http://www.blockdit.com

สั่งซื้อหนังสือลงทุนแมน 10.0
พิเศษ ช่วง Pre-Order รับส่วนลด 20% (จำนวนจำกัด) ได้ที่

Lazada: https://www.lazada.co.th/products/100-i312324208-s559866635.html?mp=3&spm=0.0.productPromotion_13579257.1
Shopee: https://shopee.co.th/ลงทุนแมน-หนังสือ-10.0-i.116732911.2099369914
———————-

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0