โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เพื่อสุขภาพ!! ‘สรรพสามิต’ เตรียมชง ‘คลัง’ รีดภาษีความเค็ม

The Bangkok Insight

อัพเดต 16 ต.ค. 2562 เวลา 03.35 น. • เผยแพร่ 16 ต.ค. 2562 เวลา 03.35 น. • The Bangkok Insight
เพื่อสุขภาพ!! ‘สรรพสามิต’ เตรียมชง ‘คลัง’ รีดภาษีความเค็ม

“อธิบดีกรมสรรพสามิต” เตรียมเสนอ “คลัง” รีดภาษีความเค็ม ชี้เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน

พชร อนันตศิลป์ ภาพจาก www.mof.go.th
พชร อนันตศิลป์ ภาพจาก www.mof.go.th

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ขณะนี้กรมฯ อยู่ระหว่างการเร่งศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในการขยายฐานการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าความเค็ม เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ โดยจะมีการเก็บภาษีตามสัดส่วนของความเค็ม หรือปริมาณโซเดียม หากเค็มมากก็จะเสียภาษีในอัตราสูง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอให้นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาได้ภายในสิ้นปีนี้

“ภาษีความเค็ม ถือเป็นภาษีตัวใหม่ ที่กรมฯ กำลังคิดจะจัดเก็บ ซึ่งก่อนหน้านี้ ไทยยังไม่มีมาก่อน มีแค่การจัดเก็บภาษีความหวาน แต่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว ก็มีการจัดเก็บภาษีตัวนี้ไปหลายประเทศแล้ว ซึ่งขั้นตอนขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัดส่วนความเค็มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขอยู่ ซึ่งหากได้ข้อมูลครบก็จะพิจารณาได้ว่าจะมีการจัดเก็บภาษีดังกล่าวหรือไม่มี” นายพชร กล่าว

อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่ามีความจำเป็นต้องเก็บภาษีความเค็ม กรมฯ ก็จะไม่ได้จัดเก็บในอัตราเดียวทันที แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการปรับตัว เพื่อลดปริมาณความเค็มในสินค้า หรือปรับสูตรผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพก่อน โดยจะให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัวประมาณ 1-2 ปี ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ระบุอัตราการจัดเก็บที่ชัดเจน

สำหรับสินค้าที่จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีความเค็ม เบื้องต้น จะคำนวณจากปริมาณโซเดียมต่อความต้องการบริโภค และจะจัดเก็บจากกลุ่มสินค้าอาหารปรุงสำเร็จ เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น แต่จะยังไม่มีการจัดเก็บภาษีความเค็มในสินค้าปรุงรส เช่น น้ำปลา เกลือ รวมถึงขนมขบเคี้ยวสำหรับเด็ก เนื่องจากมองว่าขนมเป็นอาหารที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ที่ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้เอง

ทั้งนี้ในการประชุมองค์การอนามัยโลก (WHO) รวมถึงกลุ่มสหประชาชาติ (UN) ได้พยายามผลักดันให้หลายประเทศมีการออกนโยบายภาษีเพื่อลดการบริโภคอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะจะเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ตามมา อาทิ โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคความดันโลหิต

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0