โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เพื่อย้ำเตือนภาครัฐให้ใส่ใจในการแก้ปัญหามลพิษ Greenpeace เตรียมจัดกิจกรรม 'พอกันที ขออากาศดีคืนมา'

The MATTER

อัพเดต 24 ม.ค. 2563 เวลา 05.51 น. • เผยแพร่ 22 ม.ค. 2563 เวลา 13.00 น. • Brief

คุณคิดว่าภาครัฐแก้ไขปํญหามลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะเรื่องฝุ่น pm2.5 ได้ดีเพียงหรือหรือยัง?

เพราะเห็นว่า สิ่งที่รัฐบาลทำยังไม่เพียงพอกับ 'วิกฤตฝุ่น' ที่เกิดขึ้น Greenpeace Thailand จึงเตรียมจัดกิจกรรม 'พอกันที ขออากาศดีคืนมา Right to Clean Air' ในวันที่ 23 มกราคมนี้ เวลา 09.00 น. โดยนัดพบกันได้ที่บริเวณวัดเบญจมบพิตร ฝั่งริมคลองเปรมประชากร

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ Greenpeace Thailand กล่าวกับ The MATTER ถึงสาเหตุในการจัดกิจกรรมดังกล่าวว่า ต้องการเตือนภาครัฐว่า ถ้าจะแก้วิกฤติควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อะไรที่มันขาดหายไป อะไรที่มันยังไม่ตอบโจทย์มาตรการของรัฐ เรื่องของแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติของรัฐ มันก็เป็นจังหวะที่ดี เป็นประเด็นที่สาธารณชนให้ความสนใจ ก็เลยใช้โอกาสในวันพรุ่งนี้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา

เขากล่าวถึงแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติว่า อ่านแล้วมันดี เห็นชัดว่ามันมีขั้นมีตอน มีทิศทางอยู่ระดับหนึ่ง แต่ไม่มีคนดูภาพรวมทั้งหมด ซึ่งในที่สุดมันก็จบลงที่แต่ละหน่วยงานแก้ไขปัญหาไปคนละทิศทาง ไม่มีใครที่บังคับใครได้ แต่ที่ทำลงไปจะสอดคล้องกับแผนแค่ไหนอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่เป็นคำถามใหญ่

- หลายคนอาจไม่รู้ว่า รัฐบาลได้ออกแผนแก้ปัญหาฝุ่น pm2.5 ในระดับชาติมาตั้งแต่ปีก่อนแล้วนะ เข้าไปอ่านกันได้ http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download_book.php?bookid=35

ธารายังกล่าวอีกว่า แผนปฏิบัติการมีความคล้ายคลึงกับการสั่งการจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง (top-down) เช่น ถ้ามีการเผาในที่โล่ง เผาไร่อ้อย หรือ เผาป่า ก็ต้องใช้มาตรกรทางกฎหมาย ต้องไปจับคนเผา แต่ว่า ไม่ได้ไปเน้นที่สาเหตุที่เป็นรากลึกของปัญหาเช่น โรงงานน้ำตา หรืออุตสาหกรรมเอทานอล ที่ต้องการวัตถุดิบ โดยไม่สนใจว่ามันจะมาได้ยังไง อาจจะมาจากอ้อยที่เผาหรืออ้อยที่ไม่เผา ก็ไม่สนใจ คือรับซื้อหมด

“ในแผนปฏิบัติการมันไม่มีเรื่องการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน สิ่งที่มันร้อยกันแล้วมันเป็นปัญหา มันไปจบลงที่ว่าถ้าใครเข้าไปเผาป่าก็ต้องจับ ใครเข้าไปเผาไร่อ้อยก็ต้องจับ ช่วงนี้เป็นช่วงห้ามเผามันจบแค่ตรงนี้ ผมคิดว่ามันไม่พอ มันยิ่งจะไปทับซ้อนปัญหาที่มีอยู่” ธารากล่าว

สำหรับประเด็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาเรื่องการเผาผลผลิตทางการเกษตร เขากล่าวว่า รัฐบาลต้องออกนโยบายให้โรงงานและอุตสาหกรรมต่างๆ รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่มาจากเกษตรกรรมที่ยั่งยืนไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้สารเคมีทางการเกษตรด้วย คือมันต้องมีตรงนี้เกิดขึ้น

ธารากล่าวว่า วันพรุ่งนี้ไม่ได้เป็นวันที่ตอบโจทย์ทั้งหมด แต่เป็นวันที่มาบอกรัฐบาลว่าสิ่งที่ต้องทำคืออะไรบ้าง แล้วก็เป็น การเรียกร้องรัฐบาลต้องทำเป็นประจำว่าบทบาทหน้าที่ที่ควรจะทำคืออะไรบ้าง เพราะเราเป็นผู้เสียภาษี เขายังทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพแล้ว เรายังต้องแลกเปลี่ยนการรับรู้แล้วก็ ขับเคลื่อนร่วมกันให้คนที่เราเสียภาษีให้ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

พิสูจน์อักษร: พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์

#Brief #TheMATTER

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0