โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เพิ่มดีกรีลาดตระเวนเชิงคุณภาพ" ผู้พิทักษ์ป่า  "   ปกป้อง"ต้นทุนสมบัติชาติ"

ไทยโพสต์

อัพเดต 21 ต.ค. 2561 เวลา 02.27 น. • เผยแพร่ 21 ต.ค. 2561 เวลา 02.27 น. • ไทยโพสต์

ถ้าไม่มีการจัดการดูแลป่า ไม่มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ไม่มีเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณพิทักษ์ป่า  คิดว่าบ้านเราจะมีป่าเหลืออยู่หรือไม่ และถ้าไม่มีป่าเราคงไม่มีน้ำกินน้ำใช้  ที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนกว่า 60ล้านทั้งประเทศได้  เพราะทั้งป่าและน้ำคือพื้นฐานการดำรงอยู่ของชีวิตไม่ว่าคน พืช สัตว์ทุกชนิด 

 

"การทำงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยาน เป็นเหมือนอาชีพเฝ้าสินค้าสงวน  เหมือนคนดูแลสมบัติส่วนรวมของชาติ ที่เป็นสินค้าสาธารณะ  ถ้าไม่มีใครดูแล ใครๆก็จะมาตักตวง มือยาวสาวได้ สาวเอา แราก็เป็นคนเฝ้าให้ เพราะถ้าไม่มีคนดูแล ก็คงจะถูกทำลายหมด ซึ่งเราจะปล่อยไปไม่ได้ เพราะต้นทุนของชาติอยู่ตรงนี้่ "เลิศ เอื้อทวีกุล ผู้อำนวการฝึกอบรมที่5(ตาก )สังกัดกรมอุททยานแห่งชาติ  กระทรวงทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าว ถึงบทบาทเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า ทั้งที่เป็นข้าราชการและลูกจ้างลาดตระเวณ ในโครงการอบรมเสริมทักษะให้แก่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จำนวน 39 คน ด้วยการฝึกอบรมการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol) หลักสูตรเทคนิคการลาดตระเวน ภายใต้ “โครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จ.นครสวรรค์ และ  จ.กำแพงเพชรขึ้นที่จัดจึ้นเมื่อต้นเดือนตุลาคา ภายใต้การร่วมมือระหว่าง บริษัท บี.กริม และ WWF-ประเทศไทย และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 

ที่ผ่านมาWWF ประเทศไทย ได้จัดทำโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งในป่าไทยมาเป็นเวลานานหลายปี  สำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงศ์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน  WWF-ประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท บีกริม  ซึ่งเห็นว่าประชากรของเสือโคร่งเป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า  แต่ปัจจุบันประชากรเสือโคร่งในประเทศไทย ลดลงกว่าร้อยละ 97 มีสาเหตุหลักมาจากการถูกล่าเพื่อความเชื่อและนำอวัยวะใช้ทำยา   รวมถึงสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือโคร่งก็ถูกล่าเช่นเดียวกัน  นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าที่ส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของผืนป่า ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของการสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวณทั้งสองอุทยานได้มีทักษะในการทำงานอย่างถูกต้อง การปฎิบัติหน้าที่และรู้จักวิธีการทำให้ตนเองปลอดภัย เมื่อต้องเผชิญกับผู้ล่าสัตว์หรือบุกรุกทำลายป่า 

 ดร.รุ้งนภา พูลจำปา ผู้จัดการโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF-ประเทศไทย) กล่าวว่า เสือโคร่งเป็นสัตว์ผู้ล่าที่คอยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ หากป่าแห่งใด มีเสือโคร่งแสดงว่าป่านั้นมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่อยู่สูงสุดบนห่วงโซ่อาหาร หากเสือโคร่งอยู่ได้ สัตว์ชนิดอื่น ๆ ก็อยู่ได้ การอนุรักษ์เสือโคร่งจึงเปรียบได้กับการอนุรักษ์สัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ และอนุรักษ์ระบบนิเวศไปด้วยพร้อม ๆ กัน ปัจจุบัน ประชากรเสือโคร่งมีจำนวนลดลงจากในอดีต เหลือประมาณ 3,890 ตัว จาก 13 ประเทศทั่วโลก

“ปัจจุบันประเทศไทย มีประชากรเสือโคร่งอยู่ประมาณ 150 - 200 ตัว การนำเทคนิคลาดตระเวนเชิงคุณภาพมาอบรมแก่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า โดยช่วยให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความมั่นใจในการการปฏิบัติงานซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งสุดท้ายจะสามารถช่วยในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดต่อทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยเฉพาะเสือโคร่งซึ่งถือป็นสัตว์ที่ถูกคุกคามและมีประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง” ดร.รุ้งนภา กล่าว

 

เป็นที่รู้กันว่า การลาดตระเวณของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ามีความเสี่ยงมากกว่าแต่ก่อน  และเป็นความเสี่ยงที่มีความรุนแรงมากกว่าสมัยก่อนๆ เนื่องจาก ผู้กระทำความผิด ได้มีการพัฒนาวิธีการ ที่แปลกใหม่และมีอายุธที่ทันสมัย มีความรุนแรงมากขึ้น กว่าเดิมมาก ในการลักลอบฆ่าสัตว์หรือหาประโยชน์จากป่า

 

สุระชัย โภคะมณี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติคลองลาน  กล่าวว่า นโยบายกรมอุทยานแห่งชาติ ปัจจุบันก็คือการ ให้ความสำคัญกับการลาดตระเวณของเจ้าหน้าที่  งบบางส่วน ก็ลงมาที่การลาดตระเวณมากขึ้น พร้อมกับการออกกฎการลาดตระเวณทุกอุทยานว่า เจ้าหน้าที่ต้องเดินลาดตระเวณเดือนละไม่ต่ำกว่า 15 วัน  ซึ่งวิธีการดังกล่าว จะทำให้การลาดตระเวณครอบคลุมพื้นที่แต่ละอุทยานได้ปีละไม่ต่ำกว่า 70% ของพื้นที่  ส่วนที่คลองลานมีพื้นที่ประมาณ2 .6 แสนไร่  ซึ่งการลาดตระเวณ  จะทำให้มีโอกาสพบผู้กระทำความผิด หรือป้องกันให้ชาวบ้านเข้ามาในพื้นที่อนุรักษ์ได้ดีกว่า  ซึ่งทั้งที่ ห้วยขาแข้ง แม่วงก์ คลองลาน เองก็ต้องทำการลาดตระเวณ  ตามระบบที่วางไว้ หลังจากนั้นจะมีการรวบรวมข้อมูลเป็นระดับภูมิภาค และส่งข้อมูลให้ทางกรมอุทยานฯ  เพื่อติดตามข้อมูลผลการลาดตระเวณ  ซึ่งนโยบายดังกล่าว กรมอุทยานให้ความสำคัญจริงจังอย่างมาก  

หัวหน้าอุทยานฯคลองลาน กล่าวอีกว่า ส่วนอบรมเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณอย่างน้อยปีละ2ครั้ง เพราะมีข้อจำกัดงบประมาณ มีครูฝึกที่เป็นตำรวจ มาสอนเรื่องระเบียบวินัยการใช้อาวุธ การรบ   ไม่ปะทะ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ความเสี่ยง และความสูญเสีย  ส่วนเนื้อหาการฝีก เป็นการฝึกประเมินลักษณะความผิด ว่ามาแบบไหนมาล่าสัตว์ หรือมาตัดไม้ มีอาวุธแบบไหน  การประเมินความเสี่ยงว่าหนักหรือร้ายแรงมั๊ย เพื่อจะได้วางแผนเข้าไปจับกุมได้ และการฝึกการสังเกตุ ก็จะเป็นการทบทวนส่วนหนึ่ง และการฝึกยังจำเป็นมากสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาใหม่ ถ้าไม่ฝึก จะเกิดความผิดพลาดได้ ยิ่งฝึกมากยิ่งดี ถ้าฝึกได้ปีละ4-5ครั้งจะดีมาก ความผิดพลาดก็จะน้อยลง แต่มีข้อจำกัดงบประมาณ  

 

"เจ้าหน้าที่แต่ละอุทยานไม่เท่ากัน ถ้าอุทยานใหญ่ก็จะมีเจ้าหน้าที่มาก อย่างที่อุทยานคลองลานมีเจ้าหน้าที่ประมาณ 100คน แต่ทำงานด้านลาดตระเวณโดยเฉพาะประมาณ 40 คน งานด้านอื่น พื้นที่ของคลองลานมีประมาณ1ใน 9ของ  ห้วยขาแข้งที่มี1.7ล้านไร่    ปัญหาหลักๆ ของที่นี่คือชาวบ้านรอบ ๆพึ่งพิงทรัพยากรจากป่ามาหาของป่า มาตัดไม้ และล่าสัตว์ แต่แม้ปัญหาจะลดลง แต่ก็มีเข้ามาเรื่อยๆ  ทำให้ต้องมีการลาดตระเวณ  เพราะเราต้องการให้เกิดการหยุดยั้งไม่มีการเข้ามาทำลายป่า "

สุระชัยกล่าวอีกว่า การเข้ามาพรานป่า และผู้บุกรุก  มักมีอาวุธ  ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องหาเทคนิคใหม่ๆ เข้าไปจับกุม ใช้ระบบการลาดตระเวณ ใช้จีพัเอส อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล  และนำไปวางแผนในการลาดตระเวณพื้นที่ เพื่อป้องกันได้ถูกจุดและเพิ่มความถี่ในการลาดลาดตระเวณบางพื้นที่ ส่วนทีมลาดตระเวณของคลองลาน จะมี 4ชุด แต่ละชุดใช้เวลาลาดตระเวณไม่ต่ำกว่า เดือนละ15วัน บางเดือนเยอะกว่านั้น แล้วแต่ว่าเราจะได้ข่าวมาจะมีการทำผิดเกิดขึ้น แต่ปกติเจ้าหน้าที่จะออกลาดตระเวณครั้งละ4-5วัน แล้วกลับมาพัก2-3วันแล้วออกไปใหม่ เดือนละ4รอบ แต่บางทีมีข่าวว่ามีการจะล่าสัตว์มีนายพรานเข้าไป ก็จะต้องเข้าไปใหม่ แม้จะเพิ่งออกมา

 

ที่คลองลานประกาศ เป็นอุทยานฯ เมื่อปี 2525 เดิมข้างบนมีชาวเขาพวกม้ง กระเหรี่ยง  ลีซอ แต่อพยพลงมาตั้งแต่จัดตั้งที่นี่เป็นอุทยาน    แม้จะไม่มีชาวบ้านอยู่  แต่เราก็ต้องเฝ้าระวัง ของทุกอุทยานทุกที่  เพราะ ในป่ามีทรัพยากรที่มีค่า คือ มีไม้สัก ไม้ประดูต่างๆ  คนบางกลุ่มคิดว่าทรัพยากรพวกนี้หาประโยชน์ได้ง่าย ไม่ต้องลงแรงปลูก หรือไปล่าสัตว์ก็ไม่ต้องลงทุนเลี้ยง  ถึงเวลาก็มาตัดไม้ มาหาสัตว์ป่า  แม้ที่คลองลาน คดีต่างๆแทบจะไม่มีเลย ปีละ 2รายเท่านั้น  แต่ก็ต้องมาดูแลตลอด  เพราะคงไม่สามารถปล่อยไว้ได้เลย ถ้าไม่มีกฎหมายไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลป่า  นโยบายไม่มี เจ้าหน้าที่อ่อนแอ เราคงไม่สามารถคุ้่มครองผืนป่าตะวันตก เพราะคลองลานก็เป็นส่วนหนึ่งเชื่อมต่อแม่วงก์ ห้วยขาแข้ง ทุ่งใหญ่นเรศวร  ยาวตั้งแต่เมืองกาญจนบุรี เป็นป่าใหญ่พื้นที่ 7ล้านไร่ ทุกหน่วยทั้งคลองลาน แม่วงก์ ห้วยขาแข้ง ทุ่งใหญ่ ก็จะมีหน่วยของตัวเอง แต่ละหน่วยก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี  หาวิธีที่ดีที่สุดในการดูแล ป่า 

"ก็มีบ้างพวกแอบมาตัดไม้ แต่จับไม่ได้ ก็มีเพราะป่าเป็นแสนไร่ อย่างห้วยขาแข้งเป็นล้านไร่ เจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ 300-400 คน ยังไม่สามารถคุมตลอดแนวเขตได้ทั้งหมด เราจึงใช้วิธีหลายรูปแบบ ทั้งลาดตระเวณและป้องกัน และรณรงค์ประชาสัมพันธ์  เข้่าถึงชุมชน โรงเรียนต่างๆ และชูเรื่องการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งนำร่อง เพราะถ้ามีสัตว์ป่าก็เท่ากับเราคุ้มครองป่าไว้ได้  "หัวหน้าอุทยานคลองลานกล่าว

 

ด้าน ดร.รุ้งนภา เสริมว่า การรณรงค์ ที่ใช้เสือโคร่งเป็นจุดขาย เน้นเข้าถึงชุมชน และโรงเรียนต่างๆ ที่ติดกับชายขอบพื้นที่อุทยาน เนื่องพื้นที่ตะวันออกอุทยานใกล้แนวชุมชนทั้งหมด ส่วนทิศตะวันตก ก็ติดกับพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ โดยwwf และทางอุทยานได้ร่วมมือกัน ดำเนินการมา 8ปี  อย่างเด็กที่อบรมรุ่นแรกๆ อายุ10 ขวบ ตอนนี้โตอายุ17-18แล้ว  ก็มีความซึมซับเรื่องการอนุรักษ์  เราก็ให้เด็กๆที่ผ่านการอบรมและเข้าในเรื่องนี้ มาเป็นผู้นำการรณรงค์ อนุรักษ์ในชุมชน 

"การฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งงานหลักๆของเรามี 3อย่าง คือ สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่การลาดตระเวณ  การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณ 3. ให้อุปกรณืเครื่องมือต่างๆ เช่น จีพีเอส ยูนิฟอร์ม เต๊นท์ ที่ใช้ในการลาดตระเวณ  เพราะเราเชื่อว่า ถ้าเจ้่าหน้าที่ได้รับการสนับสนุน การทำงานปกป้องดูแลป่าก็จะไปได้เร็วขึ้น รวมทั้งงานประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ กับเครือข่ายคนในชุมชน และการทำงานวิจัย 2ประเเด็นคือ  ผลจากการลาดตระเวณ ของเจ้าหน้าที่ และการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมการอนุรักษ์ ได้ผลหรือไม่  ซึ่งทั้งหมดนี้ ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรเสือ โคร่งอย่างไร เพราะถ้าเหยื่อของเสือเช่น เก้ง กวาง กระทิง ถ้ามีน้ำท่าสมบูรณ์ มีพืชผัก พวกมันก็อยู่ได้ เสือโคร่งก็อยู่ได้ จำนวนประชากรของเสือโคร่งจึงเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของป่า  เราจึงเห็นความสำคัญความเข้มแข็งของการลาดตระเวณของเจ้าหน้าที่  "

ธานี วงษ์นาค หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง  ที่เดินทางมาเป็นวิทยากรอบรม เรื่องกฎหมายที่ใช้ในการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กล่าวว่า ได้มาให้ความรู้ภาคทฤษฎี เรื่องขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายในการจับกุม   เพราะเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณ คือ การทำหน้าที่เป็นเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน  ซึ่งต้องเข้าใจบทบาทตัวเอง  ภารกิจกาต้องการลาดตระเวณคือ ที่ปกป้องทรัพยกร  ภารกิจนี้ จำเป็นต้องรู้กฎหมาย เทคนิคทางกฎหมาย นอกเหนือจากการปฎิบัติเชิงยุทธวิธี การปิดล้อม การใช้อาวุธปืน การจัดวางกำลัง และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยการทำงาน  จีพีเอส มาร์กพิกัด การอ่านแผนที่เข็มทิศในการเดินป่า  

 

ความสำคัญความรู้ทางกฎหมายเป็นเรื่องสำคัญมาก โดย ผอ.ธานี ชี้ว่า ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจะเป็นกลไกสำคัญ  ที่สามารถนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม   ต้องรู้วิธีการจับว่าจับอย่างไรถึงอยู่ภายใต้กฎหมาย ดังนั้น หลักฐาน พยานต่างๆที่อยู่ในที่เกิดเหตุ จะต้องทำอย่างไร ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเจอความผิดแล้วต้องทำอย่างไรต่อ และก่อนเจอความผิดเราจะทำอย่างไร วิธีการ ทำให้เราจำเป็นต้องรู้เรื่องกฎหมาย 

 

หัวหน้าเขตฯห้วยขาแข้งกล่าวอีกว่า  วิธีการทางกฎหมายของเราก็คือใช้การลาดตระเวณ  มันเหมือนการสืบสวนในพื้นที่เพื่อดูว่าเกิดเหตุอะไรมั๊ยในพื้นที่  ถ้าไม่มีเหตุระบบข้อมูลก็จะระบุว่าไม่มีเหตุ แต่ถ้าไปเจอร่องรอย ที่เป็นสัญญาณบอกว่าน่าจะมีเหตุผิดปกติ หรือมีการลักลอบเข้ามาในป่าเราก็ต้องพล็อตจุดไว้ แล้วมาดูว่าตรงนั้นมีปัจจัยหรือสิ่งของที่ใครอยากได้  ถ้าตรงนั้นมีไม้มีค่า มีต้นสักเยอะ ตรงนั้นชุดลาดตระเวณ ก็ต้องสแกน หัวหน้าอุทยานก็ต้องจัดกำลังเข้าไปตรวจสอบ เพิ่มความถี่เข้าไป ถือว่าเป็นพื้นที่ต้องดูเข้มข้น และถือว่าเป็นพื้นที่ต้องสงสัย  สิ่งที่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวณต้องเรียนรู้คือ การนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้  ซึ่งต้องอาศัยพยานหลักฐาน มาสับสนุนการกระทำการกระทำผิดของเขา แต่บางอย่างพยานหลักฐานเชื่อมไปยาก  มันก็จะลำบาก  แต่บางครั้งเป็นการทำผิดซึ่งหน้า นาย ก. ตัดไม้ ล้มไม้  ชัดเจน จับนายก.ได้ทันที แต่ถ้าบางครั้งล้มแล้ว ไม่เจอตัวคนตัด เราจะทำอย่างไร ตามจับคนที่มาแแอบตัดอย่างไร นี่คือกระบวนการ ดังนั้น เราต้องมีนักสืบ เพื่อสืบสวนว่าใครทำอย่างไร มีพยานมั๊ย บทบาทของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ก็เหมือนตำรวจ เพียงแต่ว่าเราใช้อำนาจกฎหมาย  4ฉบับ พรบ.ป่าไม้ 2584 พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 พรบ.อุทยานแห่งชาติ 2504 และพรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 

"เราทำหน้าที่เจ้าหน้าที่พิจารณาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา    จับ ตรวจค้น  เมื่อจับแล้วต้องแจ้งสิทธิ์ให้เขาทราบ และทำตามขั้นตอนกม.ด้วยความชอบทางกม. ซึงต้องให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวณเรียนรู้เรื่องพวกนี้ไปด้วย เพราะเจ้าหน้าที่เป็นเด็กเข้ามาใหม่เยอะ "

 

พ.ต.ท. บรรลือ มหศักดิ์ณรงค์ สารวัตรกองกำกับการปฎิบัติการพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธร ภาค 3 ครูผู้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณป่าไม้ มา21ปี กล่าวว่า  การฝึกอบรม เวลา 7วัน เป็นการฝึกขั้นพื้นฐาน แต่ถ้าระดับผู้นำก็ประมาณ 5วัน อย่างแรก คือการอบรมยุทธวิธีการจับกุมผู้กระทำผิด ซึ่งเป็นยุทธซิธีของตำรวจ การเช็คความพร้อมของร่างกายและจิตใจก่อนการทำงาน การสอนวิธีการเข้าจับกุม  ยิ่งถ้าเป็นหน่วยลาดตระเวณขนาดเล็ก ทำอย่างไรเจ้าหน้าที่ถึงจะปลอดภัย ก็จะสอนวิธีการตรวจ การประเมินสถานการณ์ การใช้อาวุธ  ซึ่งตามกฎหมายเจ้าหน้าที่จะชักอาวุธ ยิงก่อนไม่ได้ จะใช้ได้ต่อเมื่อ ผู้กระทำความผิดจะมีการใช้อาวุธแล้ว ตรงนี้ จะเป็นจุดอ่อนหากมีการดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิด ก็จะมีการสอนเจ้าหน้าที่ว่าควรทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ตรงนี้ ขณะเดียวกันก็จะทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณปลอดภัยไปด้วยในเวลาเดียวกัน 

 

ปัญหาด้านการฝึก พ.ต.ท.บรรลือ กล่าวว่า การฝึกถ้าบางคนเป็นทหารมาก่อนเป็นเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณจะง่ายหน่อย แต่ถ้าพื้นฐานมาจากชาวบ้านธรรมดาก็จะยากเรื่องการใช้อาวุธ  และถ้าเป็นพวกคนในพื้นที่ก็จะมีปัญหาการสื่อสารเรื่องภาษา ต้องมีคนอธิบายซ้ำ แต่ด้วยความเร่งด่วนของปัญหาป่า ทำให้ไมสามารถคัดกรองคนมาทำงานให้มีคุณสมบัติที่ตรงความต้องการได้มากนัก   บางคนเจอฝึกหนัก  ถอดใจ เดินหนีออกไปเลยก็มี แต่ส่วนมากตั้งใจฝึกมาก หลังการฝึกจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ชาวบ้านที่มาเป็นเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณมีระเบียบวินัยมากขึ้น มีทักษะในการทำงานเป็นทีมมากขึ้น  ที่สำคัญเวลาไปเจอสถานการณ์ จะรู้ว่าคนที่เป็นหัวหน้า รู้ว่าต้องดูแลคนในทีมอย่างไร และคนในทีมจะต้องทำหน้าที่ของตัวเองอย่างไร นับว่าเป็นส่วนช่วยความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้อาวุธที่เป็นเรื่องสำคัญมาก 

"เจ้าหน้าที่ลาดตระเวณบางพื้นที่เจอนายพราน ที่บางที่อาจจะไม่สู้ แต่บางพื้นที่นายพรานมีอาวุธดีกว่าเจ้าหน้าที่ เจอแล้วสู้ เราก็ต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสีย  โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้ชายแดน มีการใช้อาวุธสงครามร้ายแรงเพื่อล่าเสือ   เราจึงต้องมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เราให้ปลอดภัย และไม่ใช้อาวุธเกินกว่าเหตุ หรือการใช้อาวุธเราทำได้ในระดับไหน และการควบคุมสถานการณ์อย่างไร เป็นสิ่งที่จะต้องเรียนรู้"

 

ด้านเจ้าหน้าที่ลาดตระเวณ นายวันเฉลิม ห่วงสูงเย็น นายตฤษณุ คำศรี จากอุทยานแห่งชาติคลองลาน ที่ร่วมฝึกครั้งนี้ บอกว่าฝึกมา 6ครั้ง ไม่เบื่อและครั้งนี้ก็สมัครมาเอง ด้วยเหตุผลต้องการทบทวน ได้ความรู้เพิ่มแน่นอน ถ้าได้ฝึกบ่อยๆ จะทำให้รู้สึกว่าการเข้าจับกุมแต่ละครั้งมีความมั่นใจขึ้น  เพราะถ้าไม่ได้ทบทวนก็อาจจะลืมวิธีปฎิบัติไปบ้าง ฝึกเทคนิคการลาดตระเวณเช่นจีพีเอส ถ้าไม่ค่อยได้ใช้ก็จะลืม  หรือการจดข้อมูล แต่ก่อนไม่ค่อยได้ฝึก เวลาจับกุมก็ไม่ค่อยรู้อะไร แต่ก่อนเคยเข้าดื้อๆ แต่การฝึกทำให้เรารู้การวางทีม เราควรจะอยู่ตรงไหน อยู่ในที่กำบัง ไม่บุ่มบ่ามเข้าไป หรือไม่ควรไปแสดงตัวก่อน เพื่อความปลอดภัยตัวเอง

 

เจ้าหน้าที่ลาดตระเวณอีกคน นายตฤษณุ คำศรี  จากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์   มาฝึก 6ครั้งแล้วเช่นกัน จุดประสงค์หลักๆ ก็คือ เพื่อเพิ่มความชำนาญและเสริมสร้างความมั่นใจในการทำงาน เพราะที่แม่วงก์จะมีการจับกุมบ่อยกว่าที่คลองลาน  เพราะป่าแม่วงก์จะติดชุมชนมากกว่า ทำให้มีนายพรานเยอะกว่า 

 

"เราจะได้ทักษะการใช้อาวุธด้วยครับ ถ้าเจอพรานเราต้องประเมินสถานการณ์ว่า เขามีอาวุธร้ายแรงหรือเปล่า และถ้าคนเราไปน้อยกว่า เราจะเสี่ยงมั๊ย และควรดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งการฝึกตรงนี้จะรักษาได้ทั้งทรัพยากและรักษาชีวิตของเรา"

 

 

เลิศ เอื้อทวีผล ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมที่5 (ตาก)

สุระชัยโภคะมณี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติคลองลาน

 

ธานี วงษ์นาค หัวหน้าเขตรักษาพันุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0