โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เผยโครงการฟื้นฟูภาคเกษตรจากภัยแล้งและโควิด-19 ในวงเงินงบประมาณ 9.5 หมื่นล้าน

BLT BANGKOK

เผยแพร่ 25 พ.ค. 2563 เวลา 07.07 น. • BLT Bangkok
เผยโครงการฟื้นฟูภาคเกษตรจากภัยแล้งและโควิด-19 ในวงเงินงบประมาณ 9.5 หมื่นล้าน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เผยรายละเอียดโครงการฟื้นฟูภาคการเกษตรจากผลกระทบภัยแล้ง และโควิด-19 ในวงเงินงบประมาณ 9.5 หมื่อล้านบาท ขณะที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ก็ได้ขอใช้งบประมาณวงเงิน 5.5 หมื่อล้านบาท เพื่อรองรับแรงงานที่เดินทางกลับภูมิลำเนา ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการดังนี้

ธ.ก.ส. ดำเนินการโอนเงินเยียวยาเกษตรกรกลุ่มที่ 1 ไปแล้ว 3,722,604 ราย

ในส่วนของการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามมติครม. วันที่ 28 เมษายน 2563 รายละ 15,000 บาท โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค. - ก.ค. 2563) 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณจำนวน 150,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน และลงทะเบียนผ่าน http://www.เยียวยาเกษตรกร.com อย่างต่อเนื่อง ผ่าน ธ.ก.ส. กว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ

และล่าสุดทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการโอนเงินเยียวยาให้เกษตรกรกลุ่มที่ 1 ไปแล้ว 3,722,604 ราย เป็นเงิน 18,613.02 ล้านบาท ขณะที่ เกษตรกรกลุ่มที่ 1 รอบที่ 2 ที่ ธ.ก.ส. ได้รับจากกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์เป็นเงินจำนวน 3,519,434 ราย ซึ่งหลังจากได้ทำการตรวจสอบความซ้ำซ้อน และคัดกรองสถานะผู้เสียชีวิต เหลือผู้มีสิทธิ์จำนวน 3,410,314 ราย โดยจะดำเนินการจ่ายตั้งแต่วันนี้ - 29 พฤษภาคม 2563

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แถลงจัดทำโครงการฟื้นฟูภาคเกษตรจากภัยแล้งและโควิด-19 ในวงเงินงบประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดโครงการฟื้นฟูภาคเกษตรจากผลกระทบภัยแล้งและโควิด-19 ในวงเงินงบประมาณ 95,543.11 ล้านบาท ซึ่งจะประกอบไปด้วยการจัดสรรงบประมาณ 2 ส่วนหลักอย่าง

  • งบแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภาคการเกษตร จากวิกฤตโควิด-19 วงเงิน 61,531.53 ล้านบาท จะแบ่งออกเป็น
    - การประกันรายได้ชาวสวนยาง ระยะ 2 จำนวน 35,196.65 ล้านบาท
    - สนับสนุนค่าครองชีพให้ครัวเรือนเกษตรกร 15,362.3 ล้านบาท ด้วยการชะลอการขายยางของเกษตรกร
    - โครงการพัฒนาอาชีพแรงงานคืนถิ่นสร้างความเข้มแข็งสถาบันเกษตรกรอีก 2,763.72 ล้านบาท
    - โครงการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรจำนวน 392.45 ล้านบาท
    - การบริหารจัดการสินค้าเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่ม 1,326 ล้านบาท ด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์ และสิ่งก่อสร้าง เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกร เป็นต้น

2. งบป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภัยแล้ง วงเงิน 34,011.57 ล้านบาท

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ออกโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก ขอใช้งบประมาณวงเงิน 5.5 หมื่นล้านบาท

ในส่วนโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจตามฐานราก ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และธุรกิจชุมชนสร้างไทย ซึ่งทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขอใช้งบ 5.5 หมื่นล้านบาท นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. อธิบายว่าโครงการดังกล่าว ธ.ก.ส. จะดำเนินการประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ ดังนี้

- โครงการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและชุมชน โดยสร้างศูนย์การเรียนรู้โครงการ 459 มีกินมีใช้ 1,200 แห่ง จัดสินเชื่อพิเศษสนับสนุนกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบกว่า 300,000 ราย และสร้างเกษตรคนรุ่นใหม่อีก 500,000 ราย

- โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านธุรกิจชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพวิสาหกิจชุมชน 1.6 หมื่อกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยี ขับเคลื่อนธุรกิจชุมชนระดับหมู่บ้าน

- โครงการสร้างความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจฐานราก สร้างหัวขบวนด้านการตลาด บริการทางการเกษตร และท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มเป้าหมายสถาบันเกษตรกว่า 7,200 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร 1,000 แห่ง วิสาหกิจชุมชนที่พร้อมเป็นหัวขบวน 6,000 แห่ง และลูกค้าเอสเอ็มอี โดยใช้งบสนับสนุนสถาบันละไม่เกิน 3 ล้านบาท รวม 2.1 หมื่นล้านบาท

สำหรับเกษตรกรที่มีข้อสงสัย หรือคำถามเกี่ยวกับมาตรการ เยียวยาเกษตรกร ต่าง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.moac.go.th หรือโทร. 02-281-5884

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0