โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เผยสรรพคุณ "หญ้าหวาน" พืชล้มลุกที่นายกฯ ชวนคนไทยหันมารับประทานเพื่อสุขภาพ

Amarin TV

เผยแพร่ 27 มิ.ย. 2562 เวลา 04.17 น.
เผยสรรพคุณ
จากกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาเตือนเรื่องอาหารไทย ขอความกรุณาลดการปรุงด้วยน้ำตาลลง เพราะรสชาติค่อนข้างหวาน คนไทยติดหว

จากกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาเตือนเรื่องอาหารไทย ขอความกรุณาลดการปรุงด้วยน้ำตาลลง เพราะรสชาติค่อนข้างหวาน คนไทยติดหวานเกินไป ทำลายสุขภาพ เป็นโรคเบาหวานได้หรือเป็นโรคต่างๆ ทำให้เสียค่าจ่ายเป็นจำนวนมาก โดยระบุว่า ไทยเองผลิตคิดค้นผลผลิตภัณฑ์หญ้าหวานขึ้นมา ให้ไปลองดูว่าใช้ทดแทนกันได้หรือไม่ และจะช่วยให้เกิดอุตสาหกรรมหญ้าหวานด้วย

จากข้อมูลพบว่า หญ้าหวาน หรือ สเตเวีย เป็นพืชล้มลุกใบเดี่ยวรูปหอก ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย มีช่อดอกสีขาว อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้ และมีความพิเศษคือในใบมีสารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่ความหวานนี้ไม่ก่อให้เกิดพลังงาน (0 แคลอรี/กรัม) นอกจากนี้ยังมีสารสกัดที่เกิดจากหญ้าหวานชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (stevioside) เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่า 200-300 เท่าของน้ำตาล ด้วยความพิเศษของหญ้าหวานนี้ หญ้าหวานจึงเป็นพืชที่ได้รับความสนใจทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ ยาสมุนไพร เครื่องดื่ม เป็นต้น

มนุษย์รู้จักนำสารสกัดที่มีรสหวานจากหญ้าหวานมาบริโภคหลายศตวรรษแล้วโดยชาวพื้นเมืองในประเทศปารากวัย โดยนำหญ้าหวานมาผสมกับเครื่องดื่ม เช่น ชา นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังนำสารให้ความหวานมาผสมกับผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ผักดอง ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เนื้อปลาบด เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยนั้นมีการนำหญ้าหนาวเข้ามาเมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2550 โดยนิยมปลูกกันมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย เนื่องจากหญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600-700 เมตร

จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้มีการใช้สารสตีวิโอไซด์เพื่อการบริโภค และจัดให้หญ้าหวานเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง โดยมีสรรพคุณต่างๆ มากมาย เช่น มีสารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 200-300 เท่าแต่ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเหมาะกับการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก มีสรรพคุณช่วยบำรุงตับอ่อน ช่วยเพิ่มกำลัง ใช้สมานแผลทั้งภายในและภายนอก และทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองดีขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0