โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

เป็นคนรับผิดชอบมากเกินไปหรือเปล่า ? วิธีรับมือกับความรู้สึก ที่ต้องรับผิดชอบมากเกินไป

Campus Star

เผยแพร่ 23 ม.ค. 2562 เวลา 05.45 น.
เป็นคนรับผิดชอบมากเกินไปหรือเปล่า ? วิธีรับมือกับความรู้สึก ที่ต้องรับผิดชอบมากเกินไป
การเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆ ในชีวิตถือว่าเป็นเรื่องที่ดี นั่นหมายถึงว่าคุณมีความน่าเชื่อถือ - เป็นคนรับผิดชอบมากเกินไปหรือเปล่า

การเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆในชีวิตถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะนั่นหมายถึงว่าคุณมีความน่าเชื่อถือและสามารถรับผิดชอบทั้งตัวเองและผู้อื่นได้ – เป็นคนรับผิดชอบมากเกินไปหรือเปล่า ?

เป็นคนรับผิดชอบมากเกินไปหรือเปล่า ?

การที่คุณต้องทำในทุกๆ สิ่งคนเดียว หรือ แม้แต่รับผิดชอบความผิดพลาดนั้นด้วย เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คุณเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถรับผิดชอบความผิดพลาดนั้น ๆ ได้ 

นอกจากนี้ คนอื่นยังเทความผิดพลาดหรือสิ่งที่พวกเขาทำไม่ได้ นั่นหมายความว่า คุณรับผิดชอบมากเกินไปแล้ว ความรับผิดชอบที่มากเกินไป แสดงว่าคุณได้รับความไว้วางใจและความโปรดปรานอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น จากการศึกษาของ Harvard Business School เผยว่า เราจะรู้สึกผิดและรู้สึกรับผิดชอบได้ไม่ดีในสิ่งที่ไม่ใช่ความผิดของเราด้วย นั่นเพราะคุณคิดมากเกินไป

นักวิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างโดยจ้างนักแสดงจำลองฉากว่า พวกเขากำลังไปงานที่พวกเขาต้องไปแสดงไม่ทัน จึงขอยืมโทรศัพท์มือถือกับนักท่องเที่ยว ซึ่ง 47% ของนักท่องเที่ยวเสนอให้โดยไม่ได้คิดอะไร แต่ 9% ที่ยอมรับเกี่ยวกับความรับผิดชอบที่นักแสดงจะไปไม่ทันการแสดงที่พวกเขารับงานเอาไว้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยว่า คนที่แสดงความรับผิดชอบต่าง ๆ ออกมา แท้จริงแล้วเป็นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ตัวอย่างของคนที่มีความรู้สึกนี้

แต่ว่าพอถึงจุดหนึ่งที่เรามีความรับผิดชอบที่เกินกว่าเราจะรับไหว เช่น อาสาสมคัรคนที่ 1 รู้สึกรู้สึกผิดอย่างมากเมื่อเขาเคยชนคน ในขณะที่เขาขับรถ ซึ่งเวลาขับรถก็จะมีความคิดกังวลคนที่เดินอยู่ริมถนนหรือทางเท้า ซึ่งเขามีความเชื่อว่า เขาไม่ได้ตั้งใจ แต่อาสาสมัครคนที่ 2 เชื่อว่า ต้องรับผิดชอบ100%

ทำไมเราถึงคิดว่า เราต้องรับผิดชอบทุกสิ่งตลอดเวลา ?

การที่เรามีความคิดว่าเราต้องรับผิดชอบทุกสิ่งตลอดเวลานั้น สิ่งที่บ่งชี้ได้คือ ในเมื่อเราเป็นเด็กเราโดนตำหนิบ่อยๆ ทำให้เรารู้สึกว่าต้องทำทุกอย่างในชีวิตให้ดีขึ้นๆ ในทุกๆ วันเพื่อลบปมด้อยในใจในวัยเด็ก

การแก้ปัญหา

ซึ่งทางแก้ปัญหานี้ก็คือ 1. ลองถอยออกมาดูสถานการณ์ แล้วพิจารณาว่า เราควรเทใจไปรบผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ผิด หรือไม่ได้รับผิดชอบสิ่งๆ นี้ตั้งแต่แรก และ 2 ก็คือปล่อยวางบ้าง

ลองปล่อยวางกับทุกสิ่งที่เป็นปัจจัยทำให้เราเครียด ซึ่งการที่เรารู้สึกรับผิดชอบมากเกินไป ทำให้เรามีความเครียดสะสมและกดดันตัวเองมากเกิน หากใครที่กำลังเผชิญความรู้สึกนี้อยู่ แนะนำให้ถอยออกมาจากปัญหาก่อน แล้วจึงใช้ใจ 100% เพื่อเตรียมรับกับความับผิดชอบในครั้งนี้

ที่มา : www.scientificamerican.com

บทความแนะนำ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0