โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เปิด7เมืองอัจฉริยะ พัฒนาสู่“สมาร์ทซิตี้”

Money2Know

เผยแพร่ 22 ก.ย 2561 เวลา 07.09 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
เปิด7เมืองอัจฉริยะ พัฒนาสู่“สมาร์ทซิตี้”
รัฐบาลประกาศเปิด 7 เมือง "สตาร์ทซิตี้" เฟสหน้าเพิ่ม "พิษณุโลก-นครราชสีมา" พัฒนาสู่เมืองยุคใหม่ ขับเคลื่อด้วยเทคโนโลยี แต่คามสำเร็จอยู่ที่คน ต้องสร้างการเชื่อมโยงข้อมูล และเปิดให้ท้องถิ่นพัฒนาพื้นที่ด้วยตัวเอง

รัฐบาลได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนา Smart City และการประกาศเปิดเมืองอัจฉริยะ 7 เมือง ในงาน Big Bang 2018 โดยมีพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยในการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “บทบาทของ City Data กับการขับเคลื่อนของเมืองอัจฉริยะ”

สตาร์ทซิตี้
สตาร์ทซิตี้

ตามแผนสมาร์ทซิตี้ จะถูกขับเคลื่อนนำร่องในปีนี้ 7 แห่ง คือ กรุงเทพ ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี ระยอง ขอนแก่น เป็นจังหวัดนำร่อง ส่วนนเฟสต่อไปในปีหน้า ก็จะเป็น พิษณุโลก นครราชสีมา และพื้นอื้นๆ จนเป็นแม่แบบขยายไปครอบคลุมทุกจังหวัด

 

เกณฑ์ที่จะพัฒนาเมืองต่างๆสู่สมาร์ทซิตี้นั้นมีอยู่ 7 ด้านด้วยกัน คือ Smart Mobility การเดินทางที่สะดวกสบาย , Smart Energy ใช้พลังงานสะอาด , Smart ICT เทคโนโลยีที่ทันสมัย , Smart Commerce การค้าขายที่เชื่อมโยงกัน , Smart Environment สภาพแวดล้อมที่ดี , Smart Government การปกครองที่มีประสิทธิภาพ และ Smart Living ความเป็นอยู่ที่ดี ที่จะแตกออกเป็น Smart Education , Smart Healthcare , Smart People จึงเป็นแม่แบบของสมาร์ทซิตี้

โดยจะแบ่งไว้เป็น 2 ประเภทหลักคือ เมืองน่าอยู่ และ เมืองทันสมัย ทั้งในแง่ของความเป็นอยู่ ยานพาหนะ พลังงานสะอาด สิ่งแวดล้อม อากาศที่ดี การดูแล ทุกอย่างจะดำเนินการไปได้ ต้องอาศัย "Smart People" และ "การร่วมมือ" เป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งที่คาดหวังจะทำให้เทคโนโลยี บิ๊กดาต้า เป็นตัวขับเคลื่อน สมาร์ซิตี้ เป็นไปได้อย่างแน่นอน เหลือเพียงการสร้างความร่วมมือ การแชร์คอส การเตรียมพร้อมบุคลากร และที่สำคัญคือการบริหารงานส่วนท้องที่

ส่วนระดับภูมิภาคของเราในเวที ACMECS ก็มีการพูดคุยกันเรื่องดิจิทัลเป็นประเด็นสำคัญ เรื่องการเชื่อมโยงดิจิทัล เครือข่ายไฟเบอร์ ดาวเทียม เพราะประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งกัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม ลาว มีการเซ็น MOU แล้วว่าจะมีการเชื่อมต่อกัน ให้เป็นมาตฐานเดียวกัน ทั้งข้อมูลเชื่อมต่อกัน ราคาเดียวกัน ซึ่งความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะรวมเป็นระบบโรมมิ่งกับ 5 ประเทศเป็นราคาเดียวกันห และราคาถูกลง มาตรฐานเดียวกัน มันมีความเป็นไปได้ เมียนมาร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และไทย

สิ่งแรกของสมาร์ทซิตี้ ที่เราจะพัฒนาให้เห็นภาพกันได้มากจาก ผังเมือง จากแผนที่2มิติก็พัฒนาต่อเป็นแผนที่ 1/4000 จนพัฒนาเป็นแผนที่ดิจิทัล เกิดมุมมองเชิงลึกมากขึ้น การจราจร ถนนหนทาง ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ไอซีทีต่างๆ บ้าน วัด โรงเรียน จึงเป็นข้อมูลของเมือง(City Data) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลประชากร ข้อมูลอุตสาหกรรม พื้นที่การศึกษา จนเราได้ข้อมูลทั้งหมดที่เป็นข้อมูลเชิงความลึก การจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ จนนำมาสู่ Big data ที่จะเข้ามาเป็นฐานสำคัญ ในการจัดโซนนิ่ง การจัดพื้นที่การศึกษา

รัฐบาลก็เห็นภาพตรงนี้ ต้องบูรณาการกันทุกมิติในทุกภาคส่วน แต่ทุกภาคส่วนต้องทำร่วมกัน โดยมีกรรมการชุดหนึ่ง ให้มีมาตรฐานกลางการใช้ข้อมูลร่วมกัน 50-60% จึงต้องจัดทำศูนย์กลางข้อมูล(Data Center)

กุญแจ 3 ข้อสำคัญสมาร์ทซิตี้

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่ากลยุทธ์การสร้างเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ ต้องมี 3 ข้อสำคัญคือ 1.Strong Leadership ทีมงานแกนหลักไปสู่จุดหมาย สร้างวิสัยทัศน์ ให้เป็นที่ยอมรับ ทุกอย่า สร้างการมีส่วนร่วม กลไกในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมได้ 3.ภาครัฐต้องเข้าร่วมกับประชาชน จึงแตกต่างกับในต่างประเทศ

ส่วนของภาครัฐนั้น มีเครื่องมือเยอะมาก แต่ให้อำนาจกับท้องถิ่นน้อย ต้องคลายบางเรื่องบางจุด เช่นเรื่องไฟฟ้า ต้องให้อำนาจการจัดการของในพื้นที่ด้วย ระบบราง ระบบกำจัดน้ำเสีย โครงสร้างพื้นฐานของเรารวมศูนย์ที่กรุงเทพมาก แม้จะมีงบประมาณของภาครัฐ แต่การทุ่มทุน ต้องสร้างในจุดที่จะสร้างความแตกต่างให้ประเทศได้ เช่นภูเก็ต ก็เป็นสมาร์ซิตี้ภาคการท่องเที่ยว 3.บูรณาการ ลงพื้นที่ขับเคลื่อน เช่น การนำเอาเสาไฟกับสายไฟลงใต้ดิน

พื้นที่ไหนจะเป็นสมาร์ทซิตี้ ต้องมี ทีมก่อนที่นำก่อน เทคโนโลยีไม่ใช้เรื่องจำเป็น เมืองสมัยใหม่ต้องอยู่ผสมกัน บ้านต้องอยู่กับสถานที่ประกอบการได้ เป็นการตีกรอบความคิด ต้องปรับมาเป็นสีพิเศษจุดสำคัญไฮไลท์ของเมือง

การจัดเก็บข้อมูลอีกอย่างหนึ่งของประเทศไทยไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน จะเอาข้อมูลมารวมกันจึงมีความยาก ปัญหาในอนาคตจะอยู่ที่ข้อมูลตรงนั้นเป็นของใคร เช่น การไฟฟ้าบอกว่าถ้าข้อมูลจากมิเตอร์ก็ต้องเป็นข้อการไฟฟ้า แต่ประชาชนก็เป็นผู้ใช้ไฟฟ้า ข้อมูลนั้นๆก็เป็นพฤติกรรมของเขา ทำไมข้อมูลถึงไม่เป็นของประชาชน

รัฐบาลต้องกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น ถ้าส่วนไหนอยู่กับประชาชนก็ให้อำนาจกับประชาชนในการบริหารจัดการ

การแชร์ข้อมูลและความต่อเนื่องของนโยบาย

นายมนต์ทวี หงษ์หยก กรรมการบริหาร บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง เปิดเผยว่าอย่างในภูเก็ต เป็นเมืองท่องเที่ยว สิ่งที่เราทำคือการจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อพัฒนาเมือง เช่น รถบัสรับส่งในเส้นทางการท่องเที่ยวก็ช่วยได้ส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาอยู่ที่การลงทุนพื้นฐานเพราะเรามีสนามบินใหญ่ แต่ถนนไม่เพียงพอ พลังงานไฟฟ้า น้ำประชาแพงเพราะเราเป็นเกาะ การคมนาคมไม่เพียงพอก็ไม่เพียงพอ จึงต้องอาศัยการลงทุนภาครัฐเข้ามาช่วย

สำหรับสิ่งที่ต้องการจากภาครัฐ คือการพัฒนาที่มีความต่อเนื่อง เพราะเมื่อใดที่เปลี่ยนผู้นำนโยบายจะเปลี่ยน แต่เมืองของเรายังต้องพัฒนา หรือแม้แต่การเชื่อมต่อข้อมูล อย่างบิ๊กเดต้า การจัดเก็บข้อมูลควรมีการเชื่อมโยงข้อมูลจากรัฐให้กับภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อมูลการเดินทาง ข้อมูลการใช้พลังงาน ข้อมูลต่างๆ หากเรามีข้อมูลที่สำคัญจะเห็นภาพของอนาคตได้ ก็จะเห็นภาพได้ง่ายมากขึ้นและนำมาทำแผนระยะต่างๆ

ในเรื่องของนโยบาย ปัจจุบันประเทศเรายังใช้การมองจากบนลงล่าง แต่จริงๆแล้วต้องลงไปในพื้นที่ สอบถาม สำรวจข้อมูลว่าเขาต้องการอะไร เช่น ในตัวภูเก็ตเองเราก็ตั้งมีสมาร์ทแลปพัฒนาเมือง(City Design Lab) นำข้อมูลมาวางให้เห็นว่าปัญหามาจากอะไร แก้ไขอย่างไร และเปิดให้ภาครัฐเข้ามาศึกษา

"ความต่อเนื่องของนโยบายการลงทุนและแผนงบประมาณ บางครั้งควรลงทุนโครงการใหญ่ พัฒนาให้เห็นภาพไปเลย ไม่ใช่กระจายไปหลายโครงการ แต่จับต้องอะไรไม่ได้"

สิ่งสำคัญที่สุดคือ โครงสร้างให้ประชาชนได้คุยกัน

ผศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วย หน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

กุญแจสำคัญของสมาร์ซิตี้ อยู่ที่คน พัฒนาเมืองของคนไทย เราต้องรวมตัวกันลงทุนพัฒนาให้ถูกทาง ถ้าดีที่สุดควรมีหนึ่งองค์กรที่พัฒนาเมือง ต้องขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมกับประชาชน รัฐ เอกชน ปีหน้าตัวชี้วัดคือโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เป็นอย่างไร การบริการของเมืองเพียงพอไหม

กระบวนการทำให้เกิดแผนที่ไม่ได้อยู่บนหิ้ง จุดตายของเราคือมีแผนเยอะมาก แต่ไม่สามารถใช้งานได้จริง การตัดสินใจเชิงนโยบายจะต้องไม่ออกมาจากความรู้สึก แต่ต้องมาจากข้อมูลและเป็นข้อมูลที่ประชาชนรับรู้ ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เช่น พื้นที่ไหนในจังหวัดภูเก็ตเกิดอาชญากรรมเยอะ ตำรวจจราจรก็นำข้อมูลไปวางแผนได้ถูก , พื้นที่ไหนในจังหวัดเชียงใหม่มีความเสียงเป็นโรคมากที่สุด ก็ต้องส่งให้สาธารณสุขวางแผนจากข้อมูลจริง ฉะนั้นกระบวนการวางแผนในพื้นที่จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

การพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้ของประเทศไทย มีการเติบโตกระจายแบบดอกเห็ด ไม่ได้วางแผนมาล่วงหน้าเพื่อการพัฒนาที่ดีพอ เราจึงไปยึดโมเดลอย่างสิงคโปร์ไม่ได้ แต่ต้องมี 3 แกนหลัก คือ 1.กระบวนการวางผังต้องชัดเจน พื้นที่ไหนจะเติบโตไปในทิศทางไหน แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ก็ต้องเหมาะสมกับพื้นที่เฉพาะด้วย 2.การลงทุนโครงสร้าง โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเรายังมีไม่เพียงพอ 3.โครงสร้างที่ทำให้คนคุยกัน อย่างภูเก็ตเป็นเมืองที่มีหน่วยงานกลางจากภาคเอกชนที่ทำให้ประชาชนคุยกัน ถ้ามีความเชื่อใจระหว่างหน่วยงาน การมีเป้าหมายตรงกัน เมืองจะถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

ปัญหาการพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้ คือการสร้างบริการสาธารณะมาจากภาครัฐให้เร็วที่สุด ที่สำคัญคือข้อมูลสาธารณะ เพราะประชาชนเข้าไม่ถึงข้อมูล ถ้าเมืองไหนมีวิญญูชนที่มากพอเขาจะขับเคลื่อนตรงนั้นเองด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0