โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

เปิด 5 เทคนิคบำรุง ‘ตับ’ เพื่อชีวิตยืนยาว

The Bangkok Insight

เผยแพร่ 10 ธ.ค. 2561 เวลา 04.02 น. • The Bangkok Insight
เปิด 5 เทคนิคบำรุง ‘ตับ’ เพื่อชีวิตยืนยาว

วันก่อนดิฉันได้อ่านบทความในงานศึกษาและวิจัย กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “ผู้ชายไทย” มีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งตับ และท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งช่องปาก และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ส่วน “ผู้หญิงไทย” มีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ อ้างอิงข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข รายงานในปี 2559 ประเทศไทยจากผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งประมาณ 77,566 คน เป็นเพศชาย 44,490 คน และเป็นเพศหญิง 33,076 คน จะเห็นได้ว่า “โรคมะเร็งตับ” จะคงครองแชมป์โรคมะเร็งของคนไทย

แน่นอน อย่างที่เราท่านทราบกันดีว่า “การดื่มเหล้า” อาจเป็นส่วนหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เป็นโรคตับแข็ง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คนทั่วไปจะไม่เสี่ยงต่อภาวะตับอักเสบแน่นอน ย่อมเกี่ยวข้องโดยตรงกับพฤติกรรมบริโภคอาหารด้วย อาหารที่มีสารเจือปนในอากาศในอาหารมีมากมายในปัจจุบัน จึงทำให้คนส่วนใหญ่เกิดภาวะสะสมสารพิษในตับมากมายโดยไม่ทันจะรู้เนื้อรู้ตัว และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราต้องหมั่นดูแล บำรุงตับให้มีสุขภาพดี วันนี้ ดิฉัน มีเทคนิคดูแลตับ มาฝากกันค่ะ

เน้นทานอาหารที่ช่วยให้ตับทำงานดีขึ้น เพราะตับเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย โดยตับทำหน้าที่ผลิตน้ำดี สะสมไกลโคเจน สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย กำจัดสารพิษต่าง ๆ เราควรเน้นทานอาหารที่ช่วยให้ตับทำงานดีขึ้น เช่น ขิง เป็นสมุนไพรมีฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบดีมาก โดยมันจะสามารถช่วยตับในการกำจัดสารพิษที่ก่อตัวขึ้นในร่างกาย และยังช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานดีขึ้น หรือสาหร่าย เป็นสุดยอดอาหารที่ช่วยในการทำงานของตับ และยังช่วยต้านอนุมูลอิสระด้วย อีกทั้งยังช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย เน้นทานผักใบเขียว เพราะช่วยทำให้ตับสะอาด และเพิ่มกากในลำไส้ ทำให้ลดปัญหาท้องผูก และช่วยระบบขับถ่าย

ไม่ทานอาหารมัน ด้วยภาวะเร่งรีบในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารฟาสฟู้ดจึงเป็นสิ่งที่หาซื้อทานง่าย แต่เราควรเน้นอาหารที่มาจากการต้ม แกง เท่านั้น เพราะอาหารทอดต่าง ๆ จะมีไขมันสูง หรือเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรี่สูง เพราะจะทำให้มีโอกาสเกิดภาวะไขมันพอกตับได้

ไม่ทานยาเกินความจำเป็น การกินยาเกินความจำเป็น ส่งผลโดยตรงทำให้ตับทำงานหนักขึ้น จึงควรทานยาเท่าที่จำเป็น เพื่อรักษาค่าของตับให้อยู่ปกติ และทำงานไม่หนักเกินไป

อย่าปล่อยให้ร้อนใน บางครั้งร่างกายอ่อนเพลีย และร้อนใน แนะนำให้ทานยาสมุนไพร จะดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฟ้าทลายโจร ดื่มน้ำใบบัวบก เมื่อหายร้อนใน ควรหยุดทาน ไม่เช่นนั้น ร่างกายจะเย็นเกินไป

พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อน ๆ ทราบไหมค่ะว่า เวลาช่วงไหนที่ตับทำงานดีที่สุดในร่างกาย คำตอบก็คือ ช่วงเวลา 22.00 – 02.00น. ถือเป็นช่วงเวลาที่ตับเริ่มจ่ายความร้อน ออกมาทำให้เลือดไม่เย็นและเกิดความหนืด จึงเป็นเวลาที่เราควรพักผ่อนนอนหลับ ไม่ควรทำกิจกรรมอื่น หลายท่าน นิยมทานอาหารมื้อดึกมากเป็นพิเศษ ต้องระวังในเรื่องของน้ำย่อยอาหาร และระบบย่อยอาหารที่จะส่งไขมันกลับไปพอกที่ตับ สะสมนานวันเข้าจะกลายเป็น “ไขมันพอกตับ” ในที่สุด

เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้วทีนี้ดิฉันจะพามาดูว่า แล้วสมุนไพรประเภทไหนบ้างที่ช่วยในการดูแลตับ

ขมิ้นชัน ถือเป็นตัวช่วยในการขับพิษสะสมในตับ ขมิ้นชัน ถือเป็นสมุนไพรที่หาง่ายและดีต่อตับโดยตรงมากที่สุด ซึ่งเจ้าตัวขมิ้นชัน นอกจากจะช่วยขับพิษออกจากตับได้แล้ว ยังช่วยฟื้นฟูตับ บำรุงตับ และยังล้างพิษออกจากตับได้อีกด้วย โดยสามารถเลือกทานขมิ้นชันชนิดแคปซูลก่อนนอน และจะบริโภคขมิ้นชัน ไม่ควรเกิน 8000 มิลลิกรรมต่อวัน

กระเทียม แน่นอน สมุนไพรกระเทียม เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ที่หาซื้อกันได้ง่าย แถมประโยชน์มากมายมหาศาล สรรพคุณกระเทียม ช่วยกระตุ้นให้ตับผลิตเอนไซม์ตัวที่ช่วยขับสารพิษออก อีกทั้งกระเทียมยังมีอัลลิซิน (Allicin ) และ ซีลีเนียม (Selenium) ทั้งสองตัวนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญจากธรรมชาติที่ช่วยดีท๊อกซ์สารพิษสะสมในตับ ได้เป็นอย่างดี

มะขามป้อม อย่างที่พวกเราได้เรียนกันมา เจ้าตัวมะขามป้อมอุดมไปด้วยวิตามินซี มากกว่าแอปเปิ้ลถึง 170 เท่า ซึ่งวิตามินซี ในมะขามป้อมจะช่วยในการรักษาอาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แถมยังช่วยต้านอนุมูลอิสระด้วย

จริง ๆ แล้ว สมุนไพรที่ช่วยดูแลตับยังมีเพียบเลยค่ะ ไว้มีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังเพิ่ม วันนี้ฝากดูแลตับกันก่อน พบกันฉบับหน้าค่ะ

#คินน์เพื่อชีวิตยืนยาวและยั่งยืน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0