โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เปิด 5 อาชีพวิทย์อินเทรนด์ โอกาสงานสไตล์วิทย์แบบใหม่ๆ ที่เด็กรุ่นใหม่อยากเรียน

Campus Star

เผยแพร่ 24 ก.ย 2561 เวลา 11.31 น.
เปิด 5 อาชีพวิทย์อินเทรนด์ โอกาสงานสไตล์วิทย์แบบใหม่ๆ ที่เด็กรุ่นใหม่อยากเรียน
ในยุคที่ทุกสิ่งขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล จึงทำเกิดเทรนด์อาชีพสไตล์วิทย์ๆ หลากรูปแบบที่พร้อมตอบโจทย์ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคมในหลากมิติ อีกทั

“เรียนวิทย์จบไปคงทำงานแต่ในแล็บ” เสียงสะท้อนจากนักเรียนสายวิทย์หลายๆ คนที่อาจจะอยู่ในสภาวะที่หนักใจและเป็นกังวลว่า การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสายวิทยาศาสตร์ จบไปแล้วจะมีงานรองรับหรือไม่ แต่หากสังเกตการปรับตัวของเทคโนโลยีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งการกำเนิดของ เทคโนโลยี AI (Artificial intelligence) เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) และอื่นๆ จะทราบได้ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนมีต้นกำเนิดมาจาก “Pure Science” หรือ “วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์” ด้วยกันทั้งสิ้น ที่สามารถนำไปต่อยอดหรือผสมผสานกับศาสตร์เรียนรู้อื่น จนเกิดเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีอันชาญฉลาดในปัจจุบัน

เปิด 5 อาชีพวิทย์อินเทรนด์

กับโอกาสงานสไตล์วิทย์แบบใหม่ๆ ที่เด็กรุ่นใหม่อยากเรียน

นักพัฒนา AI

ป้อนข้อมูลเพื่อสั่งการหุ่นยนต์สมองกลอัจริยะ

การหุ่นยนต์เอไอ เพื่อทดแทนการใช้แรงงานมนุษย์ในงานที่เสี่ยงอันตราย และอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ เพียงทำการโค้ดข้อมูลต่างๆ เข้าระบบ เช่น “หุ่นยนต์แขนกล” ที่ทำหน้าที่เชื่อมโลหะชิ้นส่วนต่างๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ “หุ่นยนต์รักษามะเร็ง” ผู้ช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น

นักวิทยาการข้อมูล

เปลี่ยนข้อมูลมหาศาล เป็นทรัพยากรล้ำค่าทางธุรกิจ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูล ที่สามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงลึกที่มีอยู่มากมายในระบบอินเตอร์เน็ตและไอที ยกระดับธุรกิจและลดความเสี่ยงด้านการตัดสินใจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งด้านคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และนวัตกรรม สู่การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมจากข้อมูล ที่เข้าใจง่ายและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

นักพัฒนาเกม

สร้างเกมสุดมันส์แบบมือโปร รับกระแสอีสปอร์ตบูม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกมออนไลน์ ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในหลายช่วงวัย ทั้งการเล่นเพื่อความบันเทิงก็ดี หรือเล่นเป็นอาชีพก็ดี ก่อนจะถูกพัฒนาเป็น อี-สปอร์ต (electronic sports) หรือกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมอย่างในปัจจุบัน โดยที่ล่าสุด ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในเอเชี่ยนเกมส์ 2018 ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับนักพัฒนาเกม ที่จะดีไซน์รูปแบบเกม วิธีการเล่น หรือโค้ดข้อมูลต่างๆ อย่างไรให้เนื้อเรื่องของเกมมีความเฉียบคม เร้าใจ และดึงดูดความสนใจเหล่านักกีฬาอีสปอร์ต

นักเทคโนโลยีชีวภาพ

แปลงกากอุตสาหกรรม เป็นพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพ

การแปรรูปกากเหลือจากอุตสาหกรรมเกษตรและสารอินทรีย์จากปศุสัตว์ อาทิ แกลบ ชานอ้อย กะลามะพร้าว และมูลสัตว์ สู่พลังงานชีวภาพที่มีศักยภาพ และสามารถใช้ทดแทนพลังงานที่มีอยู่ได้ในอนาคต ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาล ขณะเดียวกัน ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาลดปัญหาโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

นักวิจัยอาหารสุดครีเอทีฟ

เนรมิตรเมนูอาหารสุดล้ำ ตอบโจทย์ผู้บริโภคหลากสไตล์

การผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเข้าด้วยกัน สู่การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนไป และหลากหลายของผู้บริโภค ทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทาน ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเพื่อการส่งออก อาหารที่หน้าตาดีและเหมาะแก่การถ่ายรูป ลงโซเชียลมีเดีย (Social Media)

รศ.ดร.สมชาย ชคตระการ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการปรับตัวตามกระแสโลกตลอดเวลา คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ในฐานะหน่วยงานที่บ่มเพาะและผลิตนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จึงไม่หยุดยั้งในการพัฒนาและพร้อมวางกรอบนโยบายในการพัฒนาเยาวชนไทย สู่บุคลากรคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีความกล้าคิดนอกกรอบ และกล้าผลิตนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจหรืออาชีพที่ทำเงินได้ในอนาคต ซึ่งในยุคที่ทุกสิ่งขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล จึงทำเกิดเทรนด์อาชีพสไตล์วิทย์ๆ หลากรูปแบบที่พร้อมตอบโจทย์ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคมในหลากมิติ อีกทั้งพร้อมรองรับเด็กวิทย์รุ่นใหม่เปิดประสบการณ์ร่วม

ต้องมีรากฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ จากเทรนด์อาชีพดังกล่าว ล้วนแต่มีรากฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ทั้งในเชิงคณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ เคมี เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ ฯลฯ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. จึงมีนโยบายในการพัฒนาและปรับโครงสร้างหลักสูตรการเรียนรู้โฉมใหม่ ที่บูรณาการองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ ร่วมกับการบริหารธุรกิจ สู่ “SCI+BUSINESS” หรือ “วิทย์คิดประกอบการ” เพื่อให้นักศึกษาสามารถก้าวสู่เส้นทางอาชีพ ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพนั้นๆ

รวมไปถึงการเป็นผู้สร้างอาชีพหรือธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต ผ่านสาขาวิชาและหลักสูตรที่พร้อมตอบโจทย์อุตสาหกรรม New S-Curve อาทิ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล หลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร และหลักสูตรเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ เป็นต้น รศ.ดร.สมชาย กล่าวทิ้งท้าย

นางสาวปานชนก บุญสม

นางสาวปานชนก บุญสม นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า การเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูลนั้นถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการช่วยองค์กรวิเคราะห์ ตัดสินใจ และคาดการณ์แนวทางการแก้ปัญหา เพื่อลดความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจ ผ่านการศึกษาข้อมูลเชิงลึกที่มีจำนวนมาก ประมวลผลข้อมูล และออกแบบข้อมูลด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างแบบจำลองข้อมูลที่ง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ระบบไอทีและอินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ทำให้มีข้อมูลอยู่ในระบบออนไลน์จำนวนมาก และยากต่อการหยิบยกข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น ในอนาคตจึงอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือ Data Science เพื่อเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการช่วยองค์กรตัดสินใจ และสามารถรองรับภาคสังคมและธุรกิจของประเทศที่ Big Data จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564-4491 ต่อ 2020 เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th หรือเพจ ScienceThammasat

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0