โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิด 3 แนวทางคดีล้มล้างการปกครองฯ พรรคอนาคตใหม่

TODAY

อัพเดต 20 ม.ค. 2563 เวลา 12.30 น. • เผยแพร่ 20 ม.ค. 2563 เวลา 12.22 น. • Workpoint News
เปิด 3 แนวทางคดีล้มล้างการปกครองฯ พรรคอนาคตใหม่

วันที่ 21 มกราคม ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยคดีที่นายณฐพร โตประยูร ยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของพรรคอนาคตใหม่ (ผู้ถูกร้องที่ 1), นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (ผู้ถูกร้องที่ 2), นายปิยบุตร แสงกนกกุล (ผู้ถูกร้องที่ 3) และกรรมการบริหารพรรค (ผู้ถูกร้องที่ 4) เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่ ทีมข่าวสำรวจแนวทางคดีนี้ได้ 3 แนวทางดังนี้   1) กรณี "ยุบ" เพราะเชื่อตามคำร้องของผู้ร้อง   - ข้อบังคับของพรรคเป็นโมฆะหรือขัดรัฐธรรมนูญ - พรรคนี้กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ และพ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 92 (1) (2) - เป็นเหตุให้ยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองผู้ถูกร้องเป็นเวลา 10 ปี (เทียบเคียงกรณีพรรคไทยรักษาชาติ) *ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ที่เหลือต้องหาพรรคสังกัดใหม่ ภายใน 60 คน 2) กรณี “ไม่ยุบ แต่ผู้ถูกร้องมีความผิด” - หากตัดสินว่าเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง แต่ไม่มีคำสั่งยุบพรรค เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ - แต่ กกต. อาจใช้คำวินิจฉัยนี้เป็นหลักฐานร้องให้ศาลสั่งยุบพรรค ตาม ม.92 ของ พรป.พรรคการเมืองภายหลังได้   *3) กรณี “ไม่ยุบ เพราะพรรคไม่เข้าข่ายการกระทำล้มล้างฯ” *   - ความผิดของผู้ถูกร้องที่ 1 (พรรคอนาคตใหม่) ไม่เป็นความผิด - ส่วนผู้ถูกร้อง 2, 3 และ 4 อาจเป็นความผิด แต่ไม่มีบทลงโทษ เพราะตามมาตรา 49 รัฐธรรมนูญให้ศาลมีอำนาจสั่งให้หยุดการกระทำเท่านั้น ข่าวที่เกี่ยวข้อง: สรุปประเด็น มีเหตุผลอะไรถึงร้องยุบพรรคอนาคตใหม่ กรณีล้มล้างการปกครอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0