โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิด 12 ประเด็นแลกเปลี่ยน ประธาน กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กับ ผบ.ทบ.

MATICHON ONLINE

อัพเดต 21 ต.ค. 2562 เวลา 14.00 น. • เผยแพร่ 21 ต.ค. 2562 เวลา 13.42 น.
52

เมื่อวันที่ 21 ต.ค. กรณี พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เดินทางไปพบ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.ท.พงศกร รอดชมภู ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ เป็นประธาน ตามคำเชิญก่อนหน้านี้

ล่าสุด พล.ท.พงศกร เปิดเผยประเด็นการหารือเท่าที่เปิดเผยได้ ดังนี้

เรื่องคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ ชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและปฏิรูปประเทศ เชิญ ผบ.ทบ.มาแลกเปลี่ยนความเห็นด้านความมั่นคง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและผู้ปฏิบัติการฝ่ายบริหาร มีประเด็นที่พอจะเปิดเผยได้ดังนี้ครับ

1. เรื่องการเมืองและผู้แทนราษฎรกับทหาร ต่างมีหน้าที่ เป็นไปตามกฎหมายและระบอบประชาธิปไตย

2. กรณีสงครามลูกผสมหรือสงครามพันธุ์ทาง (hybrid warfare) เป็นหลักการทางทหารมานานแล้ว ตัวอย่างได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนและ ISIS ประเด็นจึงควรยกตัวอย่างจากต่างประเทศเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดว่ามีกำลังทหารใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อแยกดินแดน จะเข้าเงื่อนไขการขัดกันด้วยอาวุธที่มิใช่ระหว่างประเทศ

3. กรณีการกำหนดใจตนเองที่เหมือนกระทบกับ มาตรา 1 ของ รธน. นั้น หลักเกณฑ์นี้ สหประชาชาติโดยคณะกรรมาธิการปลดปล่อยอาณานิคม ไม่มีรายชื่อ 3 จว.ชายแดนใต้ในความรับผิดชอบเพราะไม่ใช่การเป็นอาณานิคมของจักรวรรดินิยมตะวันตกในยุคก่อน ดังนั้น 3 จว.ใต้ ไม่มีทางแบ่งแยกดินแดนโดยเงื่อนไขนี้ได้ การให้เบนมากำหนดใจตนเองด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่นจะดีกว่าเพราะไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 และทำตามกฎหมาย เรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับคดีความที่ผ่านมาด้วย

4. ในขณะที่การพูดคุยสันติสุขมีภาครัฐและผู้เห็นต่าง ซึ่งเป็นคนนอก ไม่มีคนในพื้นที่มีส่วนได้เสียเลย ดังนั้นจึงควรนำแนวทางเหมือนวุฒิสมาชิกในประเทศในยุโรปและสหรัฐฯที่มีอำนาจเท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มความเชื่อที่ต่างกัน และจะพัฒนาไปเป็นการปกครองท้องถิ่นที่ดีได้ต่อไป

5. ใน ๓ จังหวัดควรที่จะมองภาพการทำงานกันใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาสร้างความปลอดภัย เช่นการจดจำใบหน้า การจดจำยานพาหนะ โดรน ระบบกล้องวงจรปิดแบบ real time และเพื่อไม่ให้เข้าเงื่อนไขการขัดกันด้วยอาวุธฯ ทหารก็ควรจะถอยออกมาเป็นกองหนุน เรื่องด่าน เรื่องกฎอัยการศึก เรื่องซิม ที่รบกวนประชาชนให้ใช้ระบบที่ทันสมัยกว่าเป็น smart city ใครทำผิดจับได้ถูกตัว ไม่เกิดแนวร่วมมุมกลับ ไม่มีความคับแค้น จะดีกว่าหรือไม่? ความเจริญจะได้เข้าพื้นที่

6.ยาเสพติดตามชายแดน กองทัพจับได้มากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด กมธ.ขอให้เพิ่มการใช้เครื่องสแกนรถยนต์ เพื่อไม่ให้ต้องใช้กำลังเข้าตรวจค้น และหายาเสพติดได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม

7. อาชฐากรรมไซเบอร์ (cyber crime) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเป็นผู้ดำเนินการ กรณีไทยความไว้วางใจของประชาชนยังไม่มี แต่ขอให้พิจารณาไว้

8. ความมั่นคงไม่ได้หมายถึงความมั่นคงของรัฐบาล แต่เป็นความมั่นคงของรัฐ ข้าราชการมักเข้าใจผิดและถูกนำไปใช้งานด้านการเมืองมากกว่าความมั่นคงที่แท้จริง กมธ.ฝากเป็นข้อสังเกต

9. เรื่องต่างประเทศ เช่นกรณีฮ่องกง ข้าราชการผู้ใหญ่ควรไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง และกรณีนี้มีมหาอำนาจเกี่ยวข้องด้วย ส่วนประเด็นโจชัว หว่อง คงทราบข้อมูลไปแล้วว่าไม่ได้เข้าประเทศมาบ่อยอย่างที่คิด และกรณี ธนาธรฯเป็นความบังเอิญในที่เสวนาเท่านั้น ไม่ใช่ความตั้งใจที่จะแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น

10. การควบคุมโซเชียลแบบบางประเทศหรือ single gateway เทียบกับการใช้ big data ที่ไม่รบกวนชีวิต และเสรีภาพของประชาชน แต่ตรวจสอบได้จริงนั้น อย่างหลังจะดีกว่า ควรนำมาใช้จะทำให้ประชาชนคิดสร้างสรรค์ต่อไปได้

11. การปฏิบัติการข่าวสาร (I/O : information operations) กองทัพบกได้ทำหรือไม่? คำตอบคือไม่ได้ทำ มีแต่การเฝ้าติดตามทั่วๆไปเท่านั้น และคงไม่มีใครกล้าขัดคำสั่ง ได้ให้ข้อสังเกตว่า I/O พัฒนามาจากคำว่า ปจว. (ปฏิบัติการจิตวิทยา) ที่มีการพูดเท็จได้ จึงไม่ควรใช้กับประชาชนไทยเพราะผิดหลักการ ทหารต้องพูดแต่ความจริงเท่านั้น ประชาชนจะมีความเชื่อใจ (trust)

12. กรณีการยึดอำนาจมีความเห็นอย่างไร? คำตอบคือ ตนเองจะไม่แทรกแซงทางการเมือง

เรื่องที่พอเปิดเผยได้ เป็นไปตามนี้ครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0