มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภค เปิดเผยผลการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่อออนไลน์ พบว่า มีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเคยประกาศว่าเป็นผลิตภัณฑ์อันตราย และได้เพิกถอนเลขสารบบจำนวน 29 ผลิตภัณฑ์ ยังวางจำหน่ายในสื่อสังคมออนไลน์และร้านค้าออนไลน์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> หยุดเชื่อ!! หน้าใส-หุ่นดี-สวยหล่อใน 7 วัน เช็ก อย.ก่อนตัดสินใจซื้อ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> 8 ดาราดัง เข้าให้ปากคำรีวิว “เมจิกสกิน”ตร.เผย จ่อ เรียกอีกล็อตใหญ่
รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีการอ้างเลข อย. ปลอม ไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่แสดงที่ตั้งผู้ผลิต ผสมสารอันตรายอย่าง ไซบูทรามีน, เฟนฟลูลามีน, บิซาโคดิล และออริสแตท ทั้งที่เคยมีประกาศของ อย.มาแล้ว รวมถึงร้านค้าส่วนใหญ่ไม่แสดงเลขอนุญาตโฆษณาซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย และยังพบว่ามี ดารา เน็ตไอดอล มีส่วนในการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงอีกด้วย
ในช่วงที่มีการตรวจสอบระหว่างวันที่ 24-27 ธันวาคม 2561 มี 29 ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ อย. เคยประกาศว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารประกอบอันตรายและยังมีจำหน่ายอยู่ทั้งในเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ และร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ได้แก่ 1. เค-ฮาโก้, 2. เมอคิโอ้, 3. ไวทัล ฮาร์โก, 4. สเตย์ ไฟเบอร์ เอ, 5. ลีน เอฟเอส-ทรี (Lyn FS-Three: Dietary Supplement Product by Pim) 6. ลีน บล้อค เบิร์น เบรค บิวท์ (Lyn Block Burn Break Build: Dietary Supplement Product by Pim), 7. คอนนิจิ-ไซล บีน, 8. ซาซันซ่า, 9. ไรเนอร์ลูกสำรอง, 10. แอล-ฟิน by ลูกสำรอง (L-Fin by LUK-SAM-RONG), 11. แกลโล (Kallow), 12. นูวิตร้า (Nuvitra), 13. คอลวีว่า, 14. เอส-ซีเครท (S-SECERET), 15. BOXY INDELAR, 16. The eight, 17. วี-รัส สูตร V-RAS, 18. วี-รัส สูตร SD, 19. เซเว่น เดย์ เซเว่น ดี, 20. White & Slim L-Glutathione + L- Carnitine สูตรเร่งรัดพิเศษ Berry Mix, 21. กระทิงทอง BULLGOLD By Magic For Men, 22. Reshapes New, 23. L-Carnitine Plus + สูตรเร่งรัด เห็นผลใน 7 วัน, 24. LIPO 9 BURN SLIM, 25. LIPO 8 BURN SLIM HOT, 26. Slim Express ผอมขั้นเทพ 27. บาชิ ควิกสลิมมิ่ง, 28. Ishou FULING RUAN JIAONANG และ 29. Li Da WEIGHT LOSS CAPSULE
“โดยผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ ลีน เอฟเอส-ทรี (Lyn FS-Three: Dietary Supplement Product by Pim) และ ลีน บล้อค เบิร์น เบรค บิวท์ (Lyn Block Burn Break Build: Dietary Supplement Product by Pim) เป็นผลิตภัณฑ์เดียวกับที่เคยถูกทลายแหล่งผลิตไปแล้วเนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> อย.ยันไม่เคยอนุญาตอาหารเสริมที่โฆษณาคุณสมบัติเป็นยาลดน้ำหนัก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> อย.ยัน รีวิวอาหารเสริมต้องขออนุญาตก่อน ชี้โฆษณาโอ้อวดเกินจริงมีความผิด
สำหรับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด พบว่ามีกว่า 753 ชิ้น ทั้งในเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ รวมถึงร้านค้าออนไลน์ โดยในเฟซบุ๊กพบ 240 ชิ้น อินสตาแกรม 348 ชิ้น ไลน์ 80 ชิ้น และร้านค้าออนไลน์ 85 ชิ้น ซึ่งมักระบุข้อความโฆษณาเกินจริงไว้ในผลิตภัณฑ์ เช่น ลดน้ำหนักได้ถาวร, เห็นการเปลี่ยนแปลงใน 7 วัน, ปลอดภัย มีเลข อย., ขาเรียวเล็ก พุงหายใน 3 วิ, สลายไขมัน เป็นต้น
ส่วนกลุ่มเครื่องสำอาง เช่น ขาวไว, ช่วยปรับผิวให้ขาวขึ้น, ใสจนเห็นเส้นเลือด, ช่วยให้ผิวเด้ง ฟู ไม่แก่ หน้าเงา, ดูแลผิวอย่างเห็นผลจริงและปลอดภัยสูงสุด ,สบู่หน้าใส รักษาสิว, ครีมลบฝ้า หน้าเนียนนุ่ม, สิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยสิวรักษาได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังพบว่าผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างต่างๆ เหล่านี้มักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการขออนุญาตจาก อย. อีกทั้งยังมีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง บางผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นเพียงการจดแจ้งกับ อย. แต่มักจะนำไปโฆษณาว่าผ่านมาตรฐาน อย. แล้ว รวมถึงมีบางผลิตภัณฑ์ที่ใส่เลข อย. ไม่ตรงกับผลิตภัณฑ์ที่โฆษณา
อีกด้านหนึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ยังมีการโฆษณาที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์มีสรรพคุณในทางยา เช่น ใช้ในการลดน้ำหนักหรือเสริมความงาม สร้างการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมทั้ง มีการใช้ข้อความที่โอ้อวดเกินจริง อวดอ้างสรรพคุณให้หลงเชื่อหรือเข้าใจผิด และใช้ศัพท์ที่แสดงผลของผลิตภัณฑ์ เช่น “ช่วยเร่งการเผาผลาญ ปรับระบบ มีการโฆษณาโดยอ้างการรับรองจาก อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม ตามเทศกาล รวมไปถึงการโฆษณาโดยใช้การรีวิวของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์/ลูกค้า ใช้รูปภาพเปรียบเทียบ เช่น น้ำหนัก ความขาว การเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงการนำเอาดาราที่มีชื่อเสียงประกอบกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ตร.จ่อเอาผิดดารา-เน็ตไอดอล กว่า 50 คน - อย.เร่งตรวจสารต้องห้าม "เมจิก สกิน"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคระบุ "เมจิก สกิน" ยังมีจำหน่ายออนไลน์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> DSI ทลายโรงงานยาลดความอ้วน พบแบรนด์ดังเพียบ!
จึงข้อเรียกร้อง ให้ผู้ที่อนุญาตให้มีการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวจะต้องรับผิดชอบ ไปจนถึงผู้ค้ารายย่อยที่นำมาขายก็จะต้องมีความผิดด้วย ขณะที่ อย. เองต้องมีกระบวนการจัดการที่รวดเร็วในการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย “สั่งปรับรายวันกับผู้โฆษณาขายสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์ผิดกฎหมาย เพื่อให้ปิดอินสตาแกรมหรือเฟซบุ๊ก” ไปจนถึงการดำเนินคดีกับร้านค้าออนไลน์ที่ละเลยไม่ตรวจสอบ ปล่อยให้มีการขายสินค้าผิดกฎหมายด้วย รวมทั้งตั้งงบสนับสนุนผู้ร้องเรียนเรื่องการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย โดยมีรางวัลนำจับที่ชัดเจน เรื่องละ 300 บาท เพื่อสร้างแนวร่วมเฝ้าระวังในการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์
ขณะที่ในภาพใหญ่ หน่วยงานรัฐ ทั้ง อย. สคบ. รวมถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมต้องประสานงานให้เจ้าของเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม เพิ่มช่องทางรายงานการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
ด้าน ภญ.ชโลม เกตุจินดา อุปนายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา เสนอแนะว่า ส่วนของการโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ไม่มีการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า เป็นผู้ขายที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือจดทะเบียนตลาดแบบตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ทำให้ผู้บริโภคยังมีความเสี่ยงจากการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยเฉพาะรายย่อยที่ขายผ่านพื้นที่สาธารณะอย่างเฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรม ซึ่งตรวจสอบยากกว่าผู้ขายในร้านค้าออนไลน์ต่างๆ
ดังนั้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ โดยมีข้อเสนอให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์กำกับดูแลให้มีการแสดงข้อมูลผู้จดทะเบียนขายสินค้าออนไลน์ โดยแสดงเป็นตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้บริโภคทราบ สคบ. บังคับใช้กฎหมายกับผู้ขายสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างเคร่งครัด โดยให้แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีการรับจดทะเบียนผู้ขายสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยไม่มีทุนขั้นต่ำ ให้รัฐจัดเก็บภาษีการขายสินค้าออนไลน์ และกรณีร้องเรียนให้ผ่านช่องทางออนไลน์ และให้ อย. ใช้ระบบระงับข้อพิพาททางออนไลน์ เพื่อความสะดวกต่อผู้บริโภค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> "ตร.-อย." ลุยตรวจค้นตลาดใหม่ดอนเมืองอีก 67 จุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> อย. เตรียมเอาผิดผู้ประกอบการ “ลีน” ข้อหาผลิตยาปลอม
ความเห็น 32
😘Rach😘
เบลอภาพเพราะกลัวเจ้าของแบร์นเอาเรื่องหรอคะ
ถ้าข่าวจริงไม่มั่ว ก้อต้องชัดเจนนะ เพราะเป็นประโยชน์
ซึ่งนานๆทีจะมีข่าวเป็นประโยชน์ เหอะๆ
26 ก.พ. 2562 เวลา 16.43 น.
J
อย.ไม่มีปัญญาทำไรหรอกดีแต่จัดการของถูกกฏหมาย
26 ก.พ. 2562 เวลา 14.06 น.
IT SERVICE Surat
จำไม่ได้เหรอ วันก่อนนักข่าว มันยังคาดดำ ตาหมา เลย
26 ก.พ. 2562 เวลา 14.00 น.
ศศิธร
จะเบลอภาพสินค้าทำไมคะ กลัวพวกเค้าขายของไม่ได้กันหรือคะ งงใจ กับ พวกตรวจสอบ
26 ก.พ. 2562 เวลา 13.54 น.
Capt.Kitti42
แล้วยี่ห้อ Kenzy ของ rich ken ล่ะ
26 ก.พ. 2562 เวลา 13.48 น.
ดูทั้งหมด