โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิดเบื้องหลัง 2 มาตรฐาน สรรหา-คัดเลือก กรรมการสรรหาและวุฒิสภา ให้ “สุชาติ ตระกูลเกษมสุข” อดีตสนช.นั่งกรรมการป.ป.ช.

Manager Online

เผยแพร่ 03 มิ.ย. 2563 เวลา 07.46 น. • MGR Online

เปิดเบื้องหลัง 2 มาตรฐาน การสรรหา-คัดเลือกของกรรมการสรรหาและวุฒิสภา ให้ “สุชาติ ตระกูลเกษมสุข” อดีตสนช.เป็นกรรมการป.ป.ช. – แต่กรรมการสรรหาอีกชุด เขี่ยทิ้ง“นิพัทธ์ อดีตปลัดกลาโหม ยุคยิ่งลักษณ์ – จินตนันท์” พ้นจากผู้สมัครกสม.

วันนี้ (3 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานถึง ปมเงื่อนปัญหาการพิจารณาลักษณะต้องห้ามของคนที่เคยเป็นสมา ชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่พ้นจากตำแหน่งไม่เกิน 10 ปีไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรม การในองค์กรอิสระได้แก่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)และกรรม การสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) โดยการพิจารณาในขั้นตอนของคณะกรรมการสรรหาและขั้นตอนวุฒิสภาแตกต่างกัน เป็นแบบ 2 มาตรฐาน มาจากการตีความรัฐธรรมนูญและกฎหมายตามตัวอักษรและเจตนารมณ์คนละอย่าง อีกทั้งมีลักษณะ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ผลัดกันเกาหลัง โดยวุฒิสภามีพฤติการณ์ที่น่าเคลือบแคลงสงสัยในการลงมติ

ข่าวแจ้งว่า กรรมการสรรหากรรมการปปช.ที่มีประธานศาลฎีกา (นายไสลเกษ วัฒนพันธ์) เป็นประธานได้ลงมติเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 เลือกนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข อธิบดีผู้พิพากษาศาลมีนบุรี และอดีตสนช.ที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งมาเกือบ 1ปี และนายณัฐกิจ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา อัยการอาสุโส สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการปปช.จากผู้สมัคร 8 คน

ต่อมาวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 วุฒิสภาได้ประชุมลับ ลงมติเห็นชอบให้เป็นกรรมการป.ป.ช.คณะกรรมการสรรหากรรมการป.ป.ช. มีจำนวน 8 คนได้แก่ ประธานศาลฎีกา (นายไสลเกษ) เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย ประธานสภาผู้แทนราษฎร(นายชวน หลีกภัย) ,ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร(นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์), ประธานศาลปกครองสูงสุด(นายปิยะ ปะตังทา), บุคคลซึ่งศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้ง(นายประเสริฐ โกศัลวิตร), บุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ง ( นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ), บุคคลซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินแต่งตั้ง(พล.อ.อภิ ชาติ อุ่นอ่อน) และบุคคลซึ่งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินแต่งตั้ง(นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากคณะกรรมการสรรหาปปช.มีมติเลือกนายสุชาติ ทำให้พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตสนช.ที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งไม่ถึง 1 ปีตัดสินใจมาสมัครเป็นกสม. ซึ่งเปิดรับสมัครตั้งแต่ 23 พฤษภาคม – 23 เมษายน 2563 ทั้งๆที่ตัวเองเคยถูกคณะกรรมการสรรหากสม.ตัดชื่อออกมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคมปี62 เนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามเพราะพ้นจากสนช.ไม่ถึง 10 ปี เมื่อมาสมัครใหม่ ในการประชุมคณะกรรมการสรรหาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา เสียงส่วนใหญ่ยืนหลักมติเดิมเมื่อปีที่แล้ว รวมทั้งตัดสิทธิ น.ส.จินตนันท์ ริญาต์ร ศุภมิตร ผู้สมัครอีกคนเนื่องจากพ้นจากสนช.ไม่ถึง 10 ปี โดยเห็นว่า แม้คณะกรรมการสรรหาปปช.และวุฒิสภาจะเพิ่งลงมติเห็นชอบนายสุชาติเป็นกรรมการปปช.ก็ตาม

สำหรับคณะกรรมการสรรหากสม.เมื่อปีที่แล้วที่มีความเห็นให้ตัดชื่อพล.อ.นิพัทธ์ มีจำนวน 10 คน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา (นายชีพ จุลมนต์), ประธานศาลปกครองสูงสุด(นายปิยะ ปะตังทา) , ประธานสภาผู้แทนราษฎร(นายชวน หลีกภัย), ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน 3 คนได้แก่ นางสุนี ไชยรส นายสมชาย หอมลออ ศ.อมรา พงศาพิชญ์, นายถวัลย์ รุยาพร (นายกสภาทนาย), นายสุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ ผู้แทนสภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข, นายชวรงค์ ลิมปัทมปาณี ผู้แทนสภาวิชาชีพสื่อมวลชน, และศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้เคยเป็นอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน

อย่างไรก็ตาม การลงสมัครเป็นกสม.ครั้งใหม่ในปีนี้และถูกตัดสิทธิอีกรอบของพล.อ.นิพัทธ์ รวมทั้งตัดสิทธิน.ส.จินตนันท์ ปรากฏว่ากรรมการสรรหากสม.บางส่วนได้เปลี่ยนไป ได้แก่ ประธานศาลฎีกาเปลี่ยนจากนายชีพ มาเป็นนายไสลเกษ

นอกจากนี้ ยังมีผู้นำฝ่ายค้านเข้ามาเพิ่ม รวมเป็นกรรมการสรรหากสม.11 คนข่าวแจ้งว่า ประเด็นโต้แย้งที่เป็นปมเงื่อนปัญหา คือสถานะของสนช.ที่ปฏิบัติหน้าที่ของสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภาในขณะที่คสช.ยึดอำนาจ เข้าลักษณะต้องห้ามการดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติในความเป็นอิสระ ไม่เกี่ยวข้องกับฝักฝ่ายการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าป.ป.ช.และกสม. หรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ในปี 2556รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0