โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิดเบื้องหลัง! ประชาธิปัตย์ สู้ 2 ขั้วในพรรค ห้ำหั่นสุดมัน ไทม์ไลน์ชี้ชะตา

Khaosod

อัพเดต 20 พ.ค. 2562 เวลา 07.51 น. • เผยแพร่ 19 พ.ค. 2562 เวลา 10.22 น.
465645465456321321321132132132213321

*“เทพไท” ชี้ไทม์ไลน์ ประชาธิปัตย์ มี 2 ขั้วร่วม-ไม่ร่วมตั้งรัฐบาล เชื่อประธานสภาอยู่ฝั่งไหนคนนั้นได้เปรียบ จับตา 3 ปรากฏการณ์ *

วันที่ 19 พ.ค. นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรค ประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ว่า โดยส่วนตัวหากพรรคประชาธิปัตย์จะร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐตนไม่ขัดข้อง แต่ก็ต้องมีเงื่อนไข ไทม์ไลน์ของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะตัดสินใจร่วมรัฐบาลหรือไม่นั้น

วันนี้ต้องยอมรับว่าในพรรคประชาธิปัตย์มีความคิดเห็นแตกต่างกัน 2 ขั้ว คือ ขั้วของหัวหน้าพรรคและขั้วของเลขาธิการพรรค ฉะนั้นจึงมีการต่อสู้ทางความคิดให้ตกผลึกว่าพรรคจะร่วมรัฐบาลหรือไม่

รอบแรกในวันที่ 20 พ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ก็จะมีความคืบหน้าระดับหนึ่ง แต่ที่จะชัดเจนมากกว่านั้นคือไทม์ไลน์ของปรากฏการณ์ทางการเมืองหลังจากมีพิธีเปิดประชุมรัฐสภาในวันที่ 24 พ.ค. และวันที่ 25 พ.ค.จะมีการประชุมส.ส.เพื่อเลือกประธานสภาคนใหม่ ซึ่งการเลือกประธานสภานั้น เป็นดัชนีที่จะวัดและเป็นสัญญาณที่จะบ่งบอกว่าขั้วไหนจะมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล

ขั้วไหนจะได้เปรียบทางการเมืองนั้น ก็คือขั้วพรรคพลังประชารัฐและขั้วพรรคเพื่อไทย

ฉะนั้นต้องจับตาดูว่าประธานสภาคนใหม่จะเป็นใคร ถ้าประธานอยู่ในขั้วของพรรคพลังประชารัฐนั่นแสดงว่าพรรคนี้กำลังได้เปรียบในการที่จะถือไพ่เหนือกว่าที่จะเป็นขั้วจัดตั้งรัฐบาล แต่ถ้าหากประธานสภาอยู่ในขั้วของพรรคเพื่อไทยก็แสดงว่าเพื่อไทยได้เปรียบ มันมีเสียงก้ำกึ่งกันมากระหว่าง 251 เสียง กับ 149 เสียง

พรรคที่อยู่ตรงกลางที่สามารถสวิงได้มากที่สุดก็คือ 52 เสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนกระแสข่าวที่ว่าประชาธิปัตย์จะได้เปรียบในการที่จะสวิงเข้าไปอยู่ในขั้วไหนก็ได้นั้น มีคนวิเคราะห์ประธานสภาจะต้องเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ จึงมีชื่อของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ปรากฏขึ้นมา

เพราะคนมองว่าถ้าประชาธิปัตย์เป็นประธานสภาก็สามารถที่จะเป็นคนกลางในการคุมฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อที่จะให้ดุลของขั้วพรรคพลังประชารัฐกับขั้วพรรคเพื่อไทยได้ต่อสู้กันต่อ

อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายหลังการประชุมส.ส.และเลือกประธานสภาไปแล้ว ก็จะมีการเลือกนายกรัฐมนตรีหลังจากนั้น 5 วันเราก็จะได้ชื่อนายกฯ เพราะฉะนั้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ ที่น่าจับตามองคือ

  • ท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์
  • ใครจะเป็นประธานสภา
  • สิ้นเดือน พ.ค.พรรคการเมืองจะมีมติที่จะสนับสนุนใครเป็นนายกฯ

ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ตนเชื่อว่าครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อที่จะให้ตกผลึกความคิดว่าจะเข้าร่วมรัฐบาลหรือไม่ ผู้ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคก็ต้องชั่งน้ำหนักผลดีผลเสีย อนาคต อุดมการณ์ รวมถึงทิศทางของประเทศ ผลประโยชน์ของประชาชนจะไปทิศทางไหน

อีกอย่างตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการเมืองขณะนี้อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคการเมืองอื่นอาจจะมีธงคำตอบในตัวเองอยู่แล้ว ก็มีการเดินเกมกันเพื่อการต่อรองทางการเมือง แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีการต่อรองทางตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น และยังไม่ได้มีการเตรียมการที่จะเข้าร่วมรัฐบาลกับขั้วไหน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0