โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิดสูตรคำนวณ “คะแนนเลือกตั้ง 62” บัตรใบเดียวมีความหมายอย่างไร

PPTV HD 36

อัพเดต 23 ต.ค. 2561 เวลา 11.33 น. • เผยแพร่ 23 ต.ค. 2561 เวลา 09.45 น.
เปิดสูตรคำนวณ  “คะแนนเลือกตั้ง 62” บัตรใบเดียวมีความหมายอย่างไร
หลังจากที่เมื่อวานเราเปรียบเทียบบัตรเลือกตั้งใบเดียว กับ บัตรเลือกตั้งสองใบ ไปแล้ว วันนี้ทีมข่าว PPTV จะอธิบายวิธีการคำนวณจากคะแนนเสียงเลือกตั้งที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับจากประชาชน กลายเป็นจำนวน ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคราวนี้ เป็นครั้งแกที่ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ลงคะแนนครั้งเดียว แต่นำมาคิดคะแนน 2 ครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้จำนวน ส.ส.ของแต่ละพรรคเปลี่ยนไป โดยเฉพาะในระบบบัญชีรายชื่อ น่าสนใจว่า กติกาแบบนี้… พรรคแบบไหน “ได้เปรียบ หรือ เสียเปรียบ”

 วลี “เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ” ใช้ไม่ได้กับการเลือกตั้งในปี 2562 ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะระบบเลือกตั้งใหม่ ที่เรียกว่า  “จัดสรรปันส่วนผสม” ถูกออกแบบให้มีบัตรเลือกตั้งเพียง 1 ใบ  แต่ถูกนำไปนับคะแนน 2 ครั้ง

การกากบาท 1 ครั้ง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงหมายถึงการกำหนดอนาคตของพื้นที่ เพราะมีค่าในการเลือก ส.ส.แบ่งเขต และคะแนนที่เลือกไปนั้น จะถูกนำไปคิดรวมเป็นคะแนนของพรรค ให้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ในคราวเดียวกัน ไม่ว่า คุณจะต้องการให้เลือกพรรคนั้นหรือไม่ก็ตาม

ในทางกลับกัน หากผู้ลงคะแนน ตัดสินใจลงคะแนนให้พรรคที่ชอบ คะแนนจะถูกคิดให้ส.ส.เขต ของพรรคนั้นด้วย หลังหีบเลือกตั้งปิดลง คือ สัญญาณว่าการนับคะแนนจะเริ่มขึ้น แม้บัตรเลือกตั้งจะมีเพียง 1 ใบ แต่คะแนนทั้งหมดจะถูกนำมาคิดหาจำนวนส.ส.ที่แต่ละพรรค “พึงมี”

ตัวอย่างเช่น หากมีผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 38 ล้านคน มีบัตรเสีย 2 ล้านใบ และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1 ล้านใบ หมายความว่า มีผู้ไปลงคะแนนให้พรรคการเมืองทุกพรรครวมกัน  35 ล้านคะแนน

บัตรดี 35 ล้านเสียง จะถูกหารด้วย จำนวน ส.ส.ทั้งสภา 500 คน ได้ตัวเลขเท่ากับ 70,000 นั่นหมายความว่าตัวเลข 70,000 จะเป็นเลขฐานของ ส.ส. 1 คน ในสภา หากพรรค A ได้คะแนนรวมของพรรค 7 แสน คะแนน ก็จะได้ ส.ส.รวม 10 คน 

การคำนวณว่า แต่ละพรรคจะได้เก้าอี้ส.ส.ในสภา เท่าไหร่  ให้นำคะแนนเสียงทุกคะแนนทุกเขต ที่เลือกพรรคการเมืองนั้น มาคิด เช่น หาก พรรค B ส่งผู้สมัคร 350 เขต ได้คะแนนเสียงรวม 14 ล้านคะแนน เมื่อนำไปหารด้วย 70,000 จะเท่ากับว่า พรรค B จะมีส.ส.ในสภา 200 คน

จากนั้น ต้องไปดูว่า 350 เขต ที่พรรค B ส่งผู้สมัครลงแข่งขันในแบบเขต ชนะการเลือกตั้งไปกี่คน เช่น หากชนะ ไปแล้ว 195 เขต ได้ ส.ส.ไปแล้ว 195 คน เท่ากับว่า พรรค B จะได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพียง 5 คน เท่านั้น แต่หากได้ ส.ส.เขตไปแล้ว 180 คน ก็จะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อถึง 20 คน

การคำนวณนี้ใช้หลักว่า คะแนนเสียงทั้งหมด ที่พรรค B ได้รับ จะกลายเป็น ส.ส.ในสภา 200 คน สิ่งที่น่าจับตามอง คือ การใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว อาจผลิกโฉมการเลือกตั้งไปจากเดิม เพราะ หากย้อนไปดูการเลือกตั้งในอดีต จะพบว่า นักการเมืองมีชื่อของแต่ละพรรคการเมือง มักจะลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งการออกแบบกติกาใหม่นี้ พรรคขนาดใหญ่ที่ชนะการเลือกตั้งแบบเขตจำนวนมากๆ มีโอกาสสูงที่จะได้ส.ส.บัญชีรายชื่อน้อยลง

ในขณะที่พรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก มีโอกาสสูงกว่าที่จะได้ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพราะ แม้จะแพ้เลือกตั้งในทุกเขต แต่หากคะแนนรวมกัน ครบ 70,000 คะแนน ก็สามารถเปลี่ยนเป็นเก้าอี้ส.ส.ในสภาได้ 1 ที่นั่ง

ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> https://www.pptvhd36.com/special/ข่าววันนี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0