โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิดสาเหตุ "ไฟป่าอเมซอน" ปอดสำคัญของโลกที่กำลังถูกทำลาย

TNN ช่อง16

อัพเดต 24 ส.ค. 2562 เวลา 00.49 น. • เผยแพร่ 24 ส.ค. 2562 เวลา 00.49 น. • TNN Thailand
เปิดสาเหตุ
รู้จักความสำคัญของ “อเมซอน” ปอดสำคัญของโลกที่กำลังมอดไหม้จากไฟป่า เปิดต้นตอปัญหาว่าวิกฤติการณ์ครั้งนี้มีสาเหตุจากอะไรกันแน่

- ป่าอเมซอนเป็นป่าฝนขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่ 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร ขณะที่ ลุ่มน้ำอเมซอนมีพื้นที่ 7.4 ล้านตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย บราซิล โคลอมเบีย เอกวาดอร์ กายอานา เปรู ซูรินาเม และเวเนซูเอลา แต่ 60% ของพื้นที่ลุ่มน้ำอเมซอนอยู่ในบราซิล ถือเป็นแหล่งโอโซนที่สำคัญของโลกและผลิตออกซิเจนมากถึง 20% นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ สูงสุด 1.4 แสนล้านตัน ซึ่งช่วยควบคุมภาวะโลกร้อน

- ปัญหาไฟป่าอเมซอนเป็นปัญหาเรื้อรังที่รัฐบาลบราซิลพยายามแก้ไขมาเนิ่นนาน เนื่องจากมีการบุกรุกป่าแผ้วถางเพื่อทำการเกษตร ทั้งนี้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ประมาณ 34 ล้านคน บ้านของชนพื้นเมือง 420 เผ่า

- ปัญหาไฟป่าอเมซอน ยิ่งแย่เข้าไปอีกจากนโยบายเปิดป่า โดยเมื่อ 23 ส.ค. 2560 รัฐบาลบราซิลได้เผยแพร่คำสั่งของ มิเชล เตเมร์ อดีตประธานาธิบดี ที่ประกาศยกเลิกคำสั่งเขตพื้นที่สงวนแห่งชาติในเขตป่าอเมซอน (National Reserve of Copper and Associates: Renca) ที่ถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ปี 1984 เพื่อเปิดพื้นที่ดังกล่าวให้เอกชนเข้าไปทำเหมืองแร่ ส่งผลให้มีการแผ้วถางพื้นที่ ตัดไม้ทำลายป่า 1 ในนั้นคือการ "เผา" 

- นายชาอีร์ โบลโซนาโร นักการเมืองจากพรรคเสรีนิยมสังคม ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีบราซิลเมื่อเดือนตุลาคม 2561 ซึ่งเขามีนโยบายสิ่งแวดล้อมสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าไปตัดไม้ทำลายป่าอเมซอนหวังให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ นอกจากนี้ นายชาอีร์ และรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องยังไม่เห็นด้วยกับบทลงโทษที่รุนแรงกับผู้บุกรุกทำลายป่า ส่งผลให้การปราบปรามการทำไม้และการจับกุมผู้ก่ออาชญากรรมต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลดลงอย่างเห็นได้ชัด

- เมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติของบราซิล (ไอเอ็นพีอี) ได้เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับการตัดไม้ทำลายป่าในผืนป่าอเมซอน ซึ่งระบุว่าอัตราการทำลายป่าในเดือน มิ.ย. 2562 เพิ่มขึ้นถึง 88% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ส่งผลให้นายชาอีร์ ไม่พอใจอย่างมากสั่งปลดผู้บริหารของสถาบันออกจากตำแหน่ง โดยไม่สนกระแสต้านของนักสิ่งแวดล้อมและนักอนุรักษ์ 

- 19 ส.ค. กระแสลมแรงได้พัดพากลุ่มควันจากไฟป่าลงไปไกลถึงรัฐเซาเปาลู ซึ่งห่างจากป่าอเมซอนราว 2,700 กิโลเมตร ควันอันหนาแน่นนี้ส่งผลให้เมืองทั้งเมืองตกอยู่ในความมืดสลัวเป็นชั่วโมง

ภาพจากทวิตเตอร์  @shannongsims

- รายงานของไอเอ็นพีอีเปิดเผยว่า ระหว่างเดือน ม.ค.-ส.ค. 2562 ตรวจพบการเกิดไฟป่าในป่าอเมซอนมากถึง 72,000 จุด ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา และในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ระหว่างวันที่ 15-21 ส.ค. เกิดไฟป่ามากถึง 9,500 ครั้ง เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

- ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เรียกร้องให้ประเทศกลุ่มจี-7 ขอให้เรื่องไฟป่าอเมซอนเป็นวาระสำคัญในที่ประชุมสุดยอดจี-7  เช่นเดียวกันกับอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ หรือยูเอ็น แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งและเรียกร้องให้ช่วยกันปกป้องป่าอเมซอน

- ประธานาธิบดี ฌาอีร์ โบลโซนาโร่ ของบราซิล กล่าวตอบโต้มาครงและกูเตอร์เรสด้วยความไม่พอใจว่า ห้ามต่างชาติแทรกแซงเรื่องนี้ แม้เขาจะยอมรับว่า บราซิลไม่มีทรัพยากรเพียงพอ ที่จะดับไฟป่าอเมซอนก็ตาม ทำให้ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้เลยว่าไฟป่าจะดับลงเมื่อใด

- โลกโซเชียลมีเดียต่างพากันแฮชแท็ก #PrayforAmazonia เพื่อเรียกร้องให้ประชาคมโลกให้ความสนใจกับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ เนื่องจากถูกนำเสนอเป็นข่าวน้อยมากทั้งๆที่แหล่งโอโซนของโลกกำลังถูกทำลาย 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0