โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิดประวัติ "สัปปายะสภาสถาน" รัฐสภาแห่งใหม่ ก่อนเปิดใช้งานจริงในวันที่ 22 มิถุนายน

Amarin TV

เผยแพร่ 29 พ.ค. 2562 เวลา 08.40 น.
เปิดประวัติ
สัปปายะสภาสถาน เป็นโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ของประเทศไทยและแห่งที่ 3 ของประเทศไทยแทนที่อาคารเดิมบริเวณข้างสวนสัตว์ดุสิต โครงการก่อสร้างต

สัปปายะสภาสถาน เป็นโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ของประเทศไทยและแห่งที่ 3 ของประเทศไทยแทนที่อาคารเดิมบริเวณข้างสวนสัตว์ดุสิต โครงการก่อสร้างตั้งอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บนถนนทหาร (เกียกกาย) แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โครงการได้ริเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 สมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ในการประชุมจัดหาสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จนมีมติเลือกที่เดินราชพัสดุถนนทหาร (เกียกกาย) เป็นสถานที่ในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

สัปปายะสภาสถาน เป็นผลงานชนะเลิศการประกวดแบบของธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) จากผู้ส่งประกวดทั้งหมด 5 ราย โครงการได้เริ่มวางเสาเข็มตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยมีบริษัทซิโนไทยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งเดิมต้องแล้วเสร็จภายใน 900 วัน หรือในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 แต่ปัจจุบันโครงการได้ล่าช้าออกไป เนื่องจากปัญหาการส่งมอบพื้นที่และการปรับรายละเอียดแบบก่อสร้างในบางส่วน ทำให้โครงการได้เลื่อนออกไป โดยคาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562

<strong>อาคารรัฐสภาเดิม</strong>
อาคารรัฐสภาเดิม

สัปปายะสภาสถาน เป็นโครงการสร้างรัฐสภาขนาดใหญ่ บนพื้นที่ดิน 119.6 ไร่ มีพื้นที่ใช้สอยในอาคาร 424,000 ตารางเมตร มีที่จอดรถทั้งสิ้น 2,069 คัน มีพื้นที่สีเขียวรวม 115,529 ตารางเมตร โดยใช้งบประมาณทั้งหมดราว 22,987 ล้านบาท มีความสูงจากฐานถึงยอดเจดีย์พระสุเมรุ 134.56 เมตร ภายในประกอบด้วยส่วนสภาทั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน นอกจากนี้ยังมีการออกแบบพิพิธภัณฑ์ ศูนย์ประชุม ห้องสัมมนา สโมสรจัดเลี้ยง ห้องทำงาน สส. และ สว. อีกด้วย

ด้วยพื้นที่ในอาคารถึง 424,000 ตารางเมตร ทำให้เมื่อก่อสร้างเสร็จ สัปปายะสภาสถานจะเป็นอาคารของรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกแทนที่อาคารรัฐสภาแห่งโรมาเนีย ซึ่งมีพื้นที่ในอาคาร 365,000 ตารางเมตร โดยจะเป็นรองเพียงอาคารเดอะเพนตากอนในสหรัฐที่มีพื้นที่ 600,000 ตารางเมตรเท่านั้น

<strong>ภาพจำลองสัปปายะสภาสถาน อาคารรัฐสภาแห่งที่ 3 ของประเทศไทย เมื่อมองจากฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา</strong>
ภาพจำลองสัปปายะสภาสถาน อาคารรัฐสภาแห่งที่ 3 ของประเทศไทย เมื่อมองจากฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

สำหรับชื่อ สัปปายะสภาสถาน เป็นการรวมคำระหว่าง “สัปปายะ” และ “สภาสถาน” โดย “สัปปายะ” หรือ “สัปปายะ 7” ซึ่งแปลว่า สิ่งที่สบาย, สภาพเอื้อ, สิ่งที่เกื้อกูล, สิ่งที่เหมาะสมกัน เมื่อรวมกับ “สภาสถาน” จึงมีความหมายถึง สภาที่มีแต่ความสงบร่มเย็นสบาย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0