โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิดประวัติเจ้าแห่งตะกรุด ตำนานเกจิดัง'พระอุ้มแม่'

เดลินิวส์

อัพเดต 23 ต.ค. 2562 เวลา 01.56 น. • เผยแพร่ 23 ต.ค. 2562 เวลา 01.53 น. • Dailynews
เปิดประวัติเจ้าแห่งตะกรุด ตำนานเกจิดัง'พระอุ้มแม่'
เปิดประวัติ “หลวงปู่บุญอุ้ม” พระอาจารย์นักปฏิบัติธรรมสายป่า เจ้าแห่งตะกรุดแคล้วคลาดปลอดภัย หลังละสังขาร สิริอายุ 65 ปี 36 พรรษา ปิดตำนานเกจิดังพระอุ้มแม่

กรณีที่จ.นครพนม สิ้นพระอาจารย์บุญอุ้ม อาภัสสโร จ้าอาวาสวัดบ้านป่าโนนแพง จ.นครพนม เกจิสายป่า สิริอายุ 65 ปี 36 พรรษา สร้างความโศกเศร้าแก่คณะศิษยานุศิษย์และลูกหลานญาติ โดยก่อนหน้านี้หลวงปู่บุญอุ้ม อาพาธด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือด แต่ด้วยที่ท่านมีจิตเมตตาสูง จึงรับกิจนิมนต์จากญาติโยมเหมือนไม่ได้เจ็บป่วย โดยเฉพาะพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ทุกครั้งที่พบเจอสาธุชนในพิธีต่าง ๆ ท่านจะยิ้มร่าเริงตลอดเวลา จนบางครั้งหลังอธิษฐานจิตต้องนำท่านส่งโรงพยาบาลประจำ ล่าสุดอาการกำเริบหนักลูกศิษย์จึงนิมนต์ท่านมาพักรักษาตัวที่รพ.นครพนม

นพ.ยุทธชัย ตริสกุล ผอ.รพ.นครพนม เปิดเผยว่า ทุกครั้งที่หลวงปู่มีอาการอาพาธ ทางคณะแพทย์ พยาบาลจะดูแลท่านอย่างใกล้ชิด เมื่อวันที่ 20ต.ค.ที่ผ่านมา แพทย์การตรวจวัดความดันยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ กระทั่งช่วงเที่ยงของวันต่อมา ความดันเริ่มลดลงเรื่อย ๆ คณะศิษยานุศิษย์มีความเห็นว่า ควรให้ท่านละสังขารที่วัดป่าโนนแพง จึงจัดรถพยาบาลนำหลวงปู่กลับวัด แต่เมื่อหลวงปู่กลับถึงกุฏิ ปรากฏว่าความดันกลับมาเป็นปกติ เมื่อญาติโยมทราบถึงอาการของหลวงปู่ทรุดหนักต่างเดินทางมายังกุฏิของหลวงปู่จนแน่น พร้อมทำพิธีขอขมา สวดอุณหิสสวิชัยสูตรพระสูตรต่ออายุตลอดทั้งคืน กระทั่งเวลา 05.09 น. หลวงปู่บุญอุ้มก็ได้ละสังขารอย่างสงบ

แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์บรรดาไก่ป่าที่หลวงปู่เลี้ยงไว้ ตลอดจนนกและอีกาบนต้นไม้ ต่างส่งเสียงร้องระเบ็งเซ็งแซ่คล้ายอาลัยในการจากไปของพระผู้มีเมตตาสูงแห่งวัดป่าโนนแพง

ประวัติของหลวงปู่บุญอุ้ม อาภัสสโร หรือ พระครูไพศาลธรรมมงคล เจ้าอาวาสวัดป่าโนนแพง ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม เป็นพระเกจิที่มีลูกศิษย์ทั่วประเทศ เป็นพระสายป่าที่สืบทอดสายธรรมจากหลวงปู่มหาเหรียญ ปภาคโร วัดบ้านหันห้วยทราย อ.ประทาย จ.นครราชสีมา

โดยหลวงปู่บุญอุ้ม เกิดเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2498 ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม บิดาชื่อนายอ่อนศรี (หรือหลวงปู่อ่อนศรีขันติกโร ในกาลต่อมา) มารดาชื่อนางทิพย์ อภัยโส เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 6 คน ครั้นอายุ 13ปีหลังเรียนจบประถมปีที่ 4ได้บรรพชาเป็นสามเณรติดตามหลวงปู่มหาเหรียญธุดงค์ไปปักกลดตามป่าดงดิบหลายจังหวัด เช่น นครพนม ร้อยเอ็ดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี สระบุรี และอีกหลายจังหวัดทางภาคเหนือ เป็นเวลากว่า 5 ปี กระทั่งอายุ 29 ปี ได้อุปสมบทที่วัดศรีวิชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม และได้ไปจำพรรษาบนเทือกเขาภูลังกา ภายในถ้ำมืด ถ้ำโขง ร่วมกับหลวงปู่อ่อนศรีขันติกโร บิดา อายุ 70 ปี เพื่อนั่งสมาธิ ฝึกจิตเป็นเวลาถึง 18 ปี และออกธุดงค์ไปกับสามเณรอีก 2 รูป ในภาคเหนือ ก่อนย้อนกลับมาจ.นครพนม เพื่อดูแลบิดาที่อาพาธ 2-3 ปี

หลวงปู่อ่อนศรี ผ้เป็นบิดา ก่อนละสังขารไปเมื่อ 7 ต.ค. 2545 ท่านได้ยกที่ดินหัวไร่ปลายนา จำนวน 20 ไร่อยู่ในเขตหมู่ 5 ต.บ้านแพง อ.บ้านแพง ให้เป็นสำนักสงฆ์ต่อมาขออนุญาตตั้งชื่อ วัดป่าโนนแพง และแต่งตั้งให้หลวงปู่บุญอุ้มเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา กระทั่งปี พ.ศ.2543 หลวงปู่บุญอุ้มได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านแพง-นาทม นาน 2-3 ปี ก่อนจะได้ลาออกให้พระรุ่นใหม่ปกครองคณะสงฆ์แทน ประกอบกับต้องดูแลมารดาที่บวชเป็นชีที่วัด และป่วยจนวาระสุดท้ายจนมีภาพท่านอุ้มมารดา และมรณกรรมเมื่อวันที่ 30 ก.ย. พ.ศ.2550 เมื่อสิ้นมารดาท่านได้ธุดงค์ข้ามโขงฝึกสมาธิตามป่าเขาลำเนาไพรในฝั่งประเทศลาว เน้นการปฏิบัติตามรอยหลวงปู่มหาเหรียญและหลวงปู่อ่อนศรี ขันติกโร ผู้เป็นบิดา นั่งสมาธิวิปัสสนาจนมีจิตเข้มแข็ง

ด้านเครื่องรางที่ท่านได้สร้างขึ้นเป็นที่รู้จักคือและเป็นเจ้าตำรับ คือ ตะกรุดหนังงูเหลือม ตะกรุดหนังเสือ ตะกรุดไม้ไผ่สีสุกโดยในปี พ.ศ.2551 สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้กราบนิมนต์ท่านจัดสร้างตะกรุดไม้ไผ่สีสุก ซึ่งทำจากไม่ไผ่สีสุกลงอักขระติดแผ่นทอง แล้วนิมนต์ท่านนั่งเฮลิคอปเตอร์ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ

นอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์แล้วหลวงปู่บุญอุ้มท่านยังเป็นพระนักปฏิบัติ ให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาด้วยการส่งเสริมการเรียน การศึกษา ได้บริจาควัตถุปัจจัยให้แก่ภิกษุ สามเณรอุปการะสนับสนุนการศึกษา โรงพยาบาล โรงเรียน วัดวาอารามสาธุชนผู้ตกทุกได้ยากมิได้ขาด การละสังขารของท่านจึงนำมาสู่ความเศร้าโศกของญาติโยม.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0