โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิดบทเรียน อินโดนีเซียเจ็บหนักสุดจากโควิด-19 ในอาเซียน

TODAY

อัพเดต 09 เม.ย. 2563 เวลา 17.44 น. • เผยแพร่ 09 เม.ย. 2563 เวลา 09.45 น. • Workpoint News
เปิดบทเรียน อินโดนีเซียเจ็บหนักสุดจากโควิด-19 ในอาเซียน
  • สถานการณ์ของอินโดนีเซียขณะนี้

กลุ่มประเทศอาเซียนขณะนี้กำลังวุ่นวายกับการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยอินโดนีเซียถือเป็นประเทศที่บอบช้ำจากปัญหานี้มากที่สุด เนื่องจากเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนและสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเกือบ 2 เท่า

อินโดนีเซียเปิดเผยว่ามีคนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เคสแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา หลังจากนั้นภายใน 1 เดือน ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเกือบ 2,000 คนและยอดผู้เสียชีวิตขณะนี้อยู่ที่ 181 คน ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดในอาเซียนและมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดในภูมิภาคด้วย อัตราการเสียชีวิตในอินโดนีเซียคิดเป็น 9.1% น้อยกว่าอิตาลีซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในโลกเพียงเล็กน้อย

  • การรับมือที่ล้มเหลวของอินโดนีเซีย (?)

การรับมือของอินโดนีเซียตอนนี้ดูเหมือนว่าจะรับมือได้ไม่ดีเท่าที่ควร ในโลกออนไลน์มีการแชร์ภาพบุคลากรทางการแพทย์ของอินโดนีเซียที่ต้องใส่ชุดกันฝนราคาถูกเพื่อปกป้องตัวเองจากการติดเชื้อโควิด-19

อีวาวันกี (Evawangi) แพทย์ประจำโรงพยาบาลรัฐฯแห่งหนึ่งในเขตชานเมืองของจาการ์ตา กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ของอินโดนีเซียว่าขณะนี้มีความน่าเป็นห่วงอย่างมากเพราะจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องส่งผลทำให้อุปกรณ์ไม่เพียงพอที่จะรองรับ โดยเขาเปิดเผยกับสำนักข่าวนิคเคอิ อาเซียน รีวิว (Nikkei Asian Review) ว่าหน้ากาก N95 หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (surgical mask) และชุดป้องกันต่างๆถูกเก็บไว้ใช้สำหรับหน่วยฉุกเฉินเท่านั้นเพราะทรัพยากรมีจำกัด ปัจจุบันโรงพยาบาลที่เขาทำงานอยู่มีอุปกรณ์ป้องกันเชื้ออยู่ราวๆ 40-50 ชุดแต่ความต้องการใช้กลับมีมากเป็นเท่าตัว

ขณะนี้สมาคมการแพทย์ของอินโดนีเซียออกมาเรียกร้องรัฐบาลว่าต้องให้ความคุ้มครองกับคนที่อยู่หน้าด่านทั้งแพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขที่ต้องดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยไม่มีอุปกรณ์ในการป้องกันตัวเอง ขณะนี้มีสมาชิกในสมาคมเสียชีวิตจากการติดเชื้อแล้วอย่างน้อย 18 คน ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์อีกเกือบ 100 คนในจาการ์ตาติดเชื้อแล้ว

แม้รัฐบาลอินโดนีเซียกล่าวว่ามีการแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันและอุปกรณ์ทางการแพทย์แล้วทั่วประเทศ แต่อุปกรณ์ก็ยังขาดแคลนอยู่ ทำให้หลายโรงพยาบาลต้องออกมาขอรับบริจาคเองแม้แต่อุปกรณ์ป้องกันพื้นฐานอย่างถุงมือหรือเจลล้างมือ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งถึงกับโพสต์ลงในทวิตเตอร์เปรียบเปรยเหตุการณ์ ณ ขณะนี้ว่า "Make this a war that we can win, not a suicide mission" หรือ “ทำสงครามที่ทำให้เราชนะไม่ใช่ฆ่าตัวตายเสียเอง”

  • เตรียมรับมืออีกระลอก

ในอีกทางหนึ่งอินโดนีเซียต้องเผชิญหน้ากับแรงงานที่ไหลบ่ากลับจากการไปทำงานที่มาเลเซียซึ่งทยอยกลับอย่างต่อเนื่อง และชาวมุสลิมกำลังจะเข้าสู่เดือนรอมดอน เดือนแห่งการถือศีลอดที่กำลังจะมาถึงในช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ โดยปกติจะมีประชาชนนับล้านเดินทางกลับบ้านในช่วงนี้

คาดการณ์ว่าสาเหตุที่ทำให้อินโดนีเซียมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเนื่องมาจากการรับมือที่ล่าช้า จากการคำนวนทางคณิตศาสตร์พบว่าอินโดนีเซียน่าจะมีผู้ติดเชื้อจริงมากถึง 1 ล้านคนเรียบร้อยแล้ว แต่มีเพียง 2% เท่านั้นที่ถูกตรวจพบ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆอินโดนีเซียมีการใช้จ่ายด้านการลงทุนกับสาธารณสุขต่ำมาก อัตราส่วนของแพทย์ต่อประชาชนอยู่ที่แพทย์ 3 คนต่อประชาชน 10,000 คน ขณะนี้อินโดนีเซียปิดการเดินทางจากต่างประเทศแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมทั้งที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้าและพื้นที่สาธารณะต่างๆก็ถูกปิดเช่นเดียวกัน

ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซียได้ยอมรับผ่านสื่อว่า รัฐบาลไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 ทั้งหมดต่อสาธารณะเพราะหวั่นว่าประชาชนจะตื่นตระหนกจนเกินเหตุและเขายังกล่าวด้วยว่า เราจะไปเลียนแบบประเทศอื่นๆไม่ได้ เพราะแต่ละประเทศมีคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกัน

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0