โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เปิดที่มา ลีโอนาร์โด ดิ คาปริโอ จุดเริ่มต้นจนวันให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่คดี 1MDB

TODAY

อัพเดต 24 ก.พ. 2563 เวลา 17.08 น. • เผยแพร่ 23 ก.พ. 2563 เวลา 19.50 น. • Workpoint News
เปิดที่มา ลีโอนาร์โด ดิ คาปริโอ จุดเริ่มต้นจนวันให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่คดี 1MDB

ชื่อของ 1MDB กลับมาเป็นสิ่งที่ถูกล่าวถึงอีกครั้ง หลังน.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีตกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) เปิดอภิปรายนอกสภาครั้งแรก ระบุว่ามีหลักฐานบอกว่า รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปกปิดข้อเท็จจริงและบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม  และปล่อยให้อาชญากรข้ามชาติลอยนวล ที่เกี่ยวข้องกับคดีอื้อฉาวทางการเงินระดับโลกของกองทุน 1MDB ของมาเลเซีย

นอกจากบรรดานักการเมืองและนักการธนาคารที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยแล้ว คดีนี้ยังเกี่ยวโยงไปถึงวงการฮอลลีวู้ด ที่รวมถึงนักแสดงชื่อดังอย่าง "ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ" เราจะย้อนไปดูที่มาที่ไป และผลกระทบที่มีต่อนักแสดงชื่อดังรายนี้อย่างช่วยไม่ได้

 

1MDB เกี่ยวข้องกับเซเล็บฮอลลีวูดอย่างไร

หากใครเคยชมภาพยนตร์เรื่อง "เดอะ วูลฟ์ ออฟ วอลล์สตรีท" (The Wolf of Wall Street) ก็จะทราบว่า หนังบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสร้างจากเรื่องจริงของอดีตโบรกเกอร์ซื้อขายหุ้นในตลาดวอลล์สตรีท ที่ใช้กลโกงในการยักยอกเงินจากนักลงทุนในตลาดจนร่ำรวย

ความเกี่ยวข้องระหว่างหนังเรื่องนี้และ 1MDB คือ ทุนในการสร้างหนังส่วนหนึ่งมากจากบริษัท "เรด แกรนิต พิกเจอร์ส" (Red Granite Pictures) ซึ่งก่อตั้งโดยนายริซา ชาห์ริซ บิน อับดุล อาซิซ โดยอัยการสหรัฐฯ กล่าวว่า "โจ โลว์" ฟอกเงินที่ยักยอกมาจาก 1MDB ผ่าน "เรด แกรนิต" โดยนำมาเป็นทุนสร้างหนังหลายเรื่อง เช่น "เดอะ วูลฟ์ ออฟ วอลล์สตรีท" "ดัมบ์ แอนด์ ดัมเบอร์ ทู" (Dumb and Dumber To) และ "แดดดีส์ โฮม" (Daddy's Home)

ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ กับของขวัญเจ้าปัญหา

ทั้งนี้ พบว่า "โจ โลว์" ได้เคยมอบของขวัญราคาแพงให้กับมิรานดา เคอร์ เป็นสร้อยเพชรรูปหัวใจมูลค่ากว่า 1.8 ล้านดอลลาร์ รวมแล้ว เคอร์ได้รับของกำนัลจาก "โจ โลว์" เป็นมูลค่ากว่า 8.1 ล้านดอลลาร์

 

View this post on Instagram

 

📸 by @ninomunoz ❤️

A post shared by Miranda (@mirandakerr) on Feb 13, 2020 at 12:21pm PST

ส่วนลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ เคยได้รับของขวัญเป็นภาพเขียนของปิกัสโซ มูลค่ากว่า 3.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ งานศิลปะผลงานของ "ฌอง-มิเชล บาสเคียต" มูลค่า 9.19 ล้านดอลลาร์ และรางวัลออสการ์ของมาร์ลอน แบรนโด จากภาพยนตร์เรื่อง "ออน เดอะ วอเตอร์ฟรอนท์" (On the Waterfront) ซึ่งดิคาปริโอได้คืนข้าวของเหล่านี้ไปแล้วโดยสมัครใจให้แก่รัฐบาลสหรัฐฯ รวมไปถึงเงินทุนในการทำภาพยนตร์ The Wolf of Wall Street

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2016 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ สั่งยึดทรัพย์สินมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ที่เชื่อว่าได้มาจากการยักยอกกองทุน 1MDB เช่น แมนชั่นในย่านเบเวอร์ลี่ฮิลส์ และคอนโดมีเนียมในนครนิวยอร์กของนายอาซิซ, แมนชั่นและอพาร์ทเมนท์ของ ของ "โจ โลว์" ทั้งในลอสแองเจลิสและนิวยอร์ก รวมถึงผลกำไรในอนาคตของหนังด้วย

เมื่อต้นปีที่แล้ว ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ ได้เข้าให้การต่อคณะลูกขุนใหญ่เขตดิสทริกต์ ออฟ โคลัมเบีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขยายผลการสืบสวนคดี 1MDB อัยการพิจารณาแล้วว่า ดิคาปริโอ ได้ให้การที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ "โจ โลว์" ที่ถูกกล่าวหาว่ายักยอกและฟอกเงินหลายพันล้านดอลลาร์จากกองทุนฯ และพยายามวิ่งเต้นเพื่อติดสินบนให้มีการยุติการสืบสวนคดี  และดิคาปริโอไม่ได้เป็นเป้าหมายของการสืบสวนครั้งนี้

รายงานของอัยการยังระบุว่า "โจ โลว์" พยายามเข้าไปตีสนิทกับดิคาปริโอ ด้วยการให้ดิคาปริโอ "เสี่ยงโชค" ที่โต๊ะของเขาในคาสิโน "เดอะ เวเนเชียน" ในเมืองลาสเวกัส รวมถึงการมอบงานศิลปะ และช่วยเหลือด้านเงินทุนให้กับหนัง โดยผู้ที่แนะนำให้ทั้งสองรู้จักกันก็คือนายอาซิซ

ทั้งยังมีรายงานว่า ดิคาปริโอ ได้กล่าวขอบคุณ "โจ โลว์" ด้วยการเอ่ยชื่อของเขา ในระหว่างการรับรางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยมบนเวทีลูกโลกทองคำอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม หลังจากคดีนี้เกิดเป็นเรื่องอื้อฉาวขึ้น ดิ คาปริโอ ก็ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี

ลีโอนาร์โด ดิ คาปริโอ ขนาบข้างกับ ริซ่า อาซิซ ลูกติดภรรยาอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นาจิบ ราซัค ระหว่างการโปรโมทหนัง The Wolf of Wall Street

ย้อนเปิดที่มา 1MDB คืออะไร?

"วันเอ็มดีบี" (1MDB) ย่อมากจาก กองทุน "วัน มาเลเซีย ดีเวลลอปเมนต์ เบอร์ฮัด"  (1Malaysia Development Berhad) เป็นหนึ่งในกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) ของประเทศมาเลเซีย ด้วยการนำเงินจากธนาคารกลางของประเทศไปลงทุนเพื่อประโยชน์ทางการเงิน

1MDB เป็นกองทุนสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและระบบสาธารณูปโภคของมาเลเซีย เริ่มก่อตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลของนายนาจิบ ราซัก เมื่อปี 2009 โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนกรุงกัวลาลัมเปอร์ให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงิน โดยนายนาจิบดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาของกองทุนดังกล่าว ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังมาเลเซีย

กองทุนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินมาใช้การพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวของมาเลเซีย โดยมุ่งเน้นลงทุนในโครงการต่างๆ ในหลายธุรกิจตั้งแต่ธุรกิจพลังงาน อสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว เพื่อนำกำไรกลับเข้ามาพัฒนาประเทศ รวมถึงพัฒนากรุงกัวลาลัมเปอร์ให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค และให้ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2020

ทำไม 1MDB ถึงกลายเป็นปัญหา

เมื่อปี 2010 นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านและสมาชิกรัฐสภาในขณะนั้น ได้ตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของกองทุนฯ เนื่องจากไม่มีที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และไม่มีการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี ต่อมาพบว่า ในระหว่างเดือนกันยายน 2009 ถึง มีนาคม 2010 กองทุนมีผลกำไรเพียง 140 ล้านดอลลาร์ และในปี 2015 จากการตรวจสอบพบว่าหนี้ของกองทุนมีมากกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว  372,000 ล้านบาท

เมื่อต้นปี 2015 "แคลร์ รูว์คาสเซิล-บราวน์" ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ "ซาราวัก รีพอร์ต"  ซึ่งทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาการคอร์รัปชั่นในเอเชียจะวันออกเฉียงใต้ ได้รับเอกสาร "รั่วไหล" ราว 227,000 ชิ้น ที่เกี่ยวกับ 1MDB ขณะที่หนังสือพิมพ์เดอะ วอลล์สตรีท เจอร์นัล ได้รายงานเรื่องนี้ที่อ้างอิงจากเอกสารชุดเดียวกัน ที่ระบุว่าโครงการต่างๆ ที่ 1MDB ไปลงทุน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในต่างประเทศนั้น ไม่ได้สร้างผลกำไร คณะทำงานพิเศษสืบสวนกรณีทุจริต 1MDB จึงเริ่มตั้งข้อสงสัย และเริ่มตรวจสอบว่า เงินกองทุนนั้นมีการไปลงทุนที่ใดบ้าง ซึ่งจากการตรวจสอบกลับพบว่า เงินบางส่วนไม่ได้มีการลงทุนตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และเชื่อกันว่า เงินจำนวนกว่า  700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 21,700 ล้านบาท อาจถูกโอนไปยังบัญชีส่วนตัวของนายราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซียในขณะนั้น

อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน คณะกรรมการต่อต้านทุจริตมาเลเซีย หรือ MACC ได้ยืนยันว่า ไม่มีการโอนเงินไปยังบัญชีของนายราซักตามที่ถูกกล่าวอ้าง และระบุว่า การกระทำของวอลล์สตรีท เจอร์นัล อาจมีการเมืองอยู่เบื้องหลัง

ยิ่งสอบสวนยิ่งพบ

ต่อมาในปี 2016 ​สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ ได้เข้ามาตรวจสอบคดีฟอกเงิน 1MDB เพื่อตรวจสอบหาความเกี่ยวข้องของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินระดับโลกอย่างโกลด์แมนแซคส์ และนายราซัก นอกจากนั้นยังมีการสืบสวนในลักษณะเดียวกันนี้ในอีกหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฮ่องกง และสิงคโปร์

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุคำร้องที่ยื่นต่อศาลระบุว่า ระหว่างปี 2009 - 2014 เจ้าหน้าที่ของ 1MDB ได้ยักยอกเงินจำนวน 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 140,000 ล้านบาท โดยโยกย้ายฟอกเงินนี้ผ่านระบบการทำธุรกรรมทางการเงินนานาชาติรวมทั้งในสหรัฐฯ โดยเงินนี้ถูกใช้ไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 หลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ หลังกลุ่มแนวร่วมแห่งความหวัง (Pakatan Harapan) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป นายลิม กวน เอ็ง รัฐมตรีกระทรวงการคลัง ได้สั่งให้มีการแต่งตั้งให้บริษัท "พีดับเบิลยูซี" (PwC) หรือเดิมคือ "ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์"  เข้ามาตรวจสอบระบบบัญชีของ 1MDB

เอกสารยังระบุตัวนาย โลว์ แต๊ก โจ (Low Taek Jho) หรือ "โจ โลว์"  นักธุรกิจชาวมาเลเซีย เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยของนายริซา ชาห์ริซ บิน อับดุล อาซิซ บุตรบุญธรรมของนาจิบ ราซัก ว่าเป็นตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการทุจริต 1MDB

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0