โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เปิดตัวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี วัดพระธาตุสุพรณหงส์ ดึงวิถีชนเผ่าลาวผสมผสานกับอาหารพื้นถิ่นโบราณ

77kaoded

เผยแพร่ 21 ต.ค. 2561 เวลา 15.18 น. • 77 ข่าวเด็ด
เปิดตัวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี วัดพระธาตุสุพรณหงส์ ดึงวิถีชนเผ่าลาวผสมผสานกับอาหารพื้นถิ่นโบราณ

ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เปิดวัดพระธาตุสุพรรณหงส์ บ้านหว้าน อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี หมู่บ้านชนเผ่าลาว ลานตลาดโบราณ อาหารพื้นถิ่น กับการ สวมโสร่ง นุ่งซิ่น ผ้าไทย มาทำบุญใส่บาตรทุกเช้าวันอาทิตย์

วันนี้ (21 ต.ค. 61) ที่ วัดพระธาตุสุพรรณหงส์ บ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยนางชุติพร วิจิตร์แสงศรี นายกเหล่ากาชาดจังหวัด, นางทรงลักษณ์ วรภัย พัฒนาการจังหวัด, นายประหยัด ถิลา วัฒนธรรมจังหวัด ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ ประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดรวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมเป็นประธานในการเปิดงาน ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

โดยมี นายนพ พงค์ผลาดิสัย นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ, นายสมคิด คำเสียง พัฒนาการอำเภอเมืองศรีสะเกษ กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต.น้ำคำ ร่วมจัดทำหมู่บ้าน ชุมชน วัดพระธาตุสุพรรณหงส์ เพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน จากเดิมที่เคยการสืบสานประเพณีกันมาโดยตลอด นั้นก็คือ การสวมโสร่ง นุ่งซิ่นผ้าไทย มาร่วมกันใส่บาตร ไหว้พระธาตุสุพรรณหงส์ ในทุกๆ เช้าของวันอาทิตย์

พร้อมกับมาเดิน ช๊อป แชะ ชิม ชม ตลาดโบราณของชุมชน ที่นำสินค้า หัตกรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่น อธิ แกงบอน ขนมตดหมา ตะกร้าไม้ไผ่สาน บ้านโบราณของชนเผ่าลาว ขั้นตอนการทอผ้าไหมแบบดั่งเดิม โดยขณะนี้ในทุกๆ เช้าของวันอาทิตย์ ก็จะมีนักท่องเที่ยว ชาวบ้าน เดินทางมาร่วมการทำบุญใส่บาตร เที่ยวตลาดโบราณ ราวๆ 200 – 300 คน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้กันเป็นประจำ วันนี้ชาวบ้านจึงได้กำหนดขอเปิดเป็น ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี วัดพระธาตุสุพรณหงส์ บ้านหว้าน อย่างเป็นการทาง

นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ในจังหวัดศรีสะเกษ ตนได้มีโอกาสไปเปิด ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี นี้บ่อยครั้งพอสมควร และในทุกๆ ที่ รู้สึก สัมผัสได้ถึงโอกาสของคนในชุมชน ที่จะได้มีโอกาสในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่จะเดินทางมาเที่ยวชมชุมชนของพวกเรา ซึ่งการเดินทางมาของนักท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง ก็จะนำรายได้มาสู่ชุมชน ซึ่งทุกชุมชนได้มีความเข็มแข็งอยู่แล้ว ในการทำหัตกรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่น อันเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวจากต่างแดน ทั้งใน และต่างประเทศ อันจะส่งผลให้มีรายได้ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนสืบไป

อย่างเช่นในวันนี้ พอตนเดินทางมาถึง ได้ขบวนนางรำ ซึ่งต่างวัยกันพอสมควร ทั้งวัยใส และวัยดึก ได้มารำต้อนรับ อันนี้นับว่าเป็นเสน่ห์ที่สวยงามมาก เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน นับตั้งแต่การแต่งตัว สวยงามมาก ประกอบกับการจัดสถานที่ จากวัดปกติของชาวพุทธ ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ของชุมชน นักท่องเที่ยวทุกคนเข้ามา ได้ไหว้พระ ขอพร ได้ไหว้พระธาตุ มีจุดถ่ายภาพสวยๆ นอกจากนั้นยังมีการแสดงไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว ขณะมานั่งทานอาหารพาแลง อิ่มอร่อยทั้งท้อง และสายตา ซึ่งตนเชื่อว่า สถานที่แห่งนี้จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว มาจังหวัดศรีสะเกษ ได้อีกแห่งหนึ่งเช่นกัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0