โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เปิดงานวิจัยแนวปฏิบัติ5ข้อ ให้”สุขภาพดี-อายุยืน” เพิ่มเงินเก็บหลังอายุ 60

Money2Know

เผยแพร่ 18 ก.ค. 2562 เวลา 00.00 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
เปิดงานวิจัยแนวปฏิบัติ5ข้อ  ให้”สุขภาพดี-อายุยืน” เพิ่มเงินเก็บหลังอายุ 60

"ดร.ศุภวุฒิ" เปิดงานวิจัยแนวปฏิบัติ 5 ข้อ แนะคนไทยต้องหันมาใส่ใจสุขภาพ เปลี่ยนวิถีชีวิต ทำให้อายุยืน 12-14 ปี และมีโอกาสหารายได้เพิ่มหลังอายุ 60 รองรับสังคมผู้สูงอายุได้

ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวในเรื่อง "คนไทยสุขภาพดี ทำให้เศรษฐกิจดีได้อย่างไร" ในงาน SET Social Impact  Day 2019 “ออกแบบ ทางออก มหาชน” ที่ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 7 อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯว่า จากข้อมูลผู้สูงอายุในอังกฤษที่สุขภาพไม่ดี เฉลี่ยเวลาป่วยโรคต่างๆ ผู้ชาย 16.2 ปี และ และผู้หญิง 19.2 ปี ระบบสุขภาพปัจจุบัน ไม่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิต สหรัฐฯ ใช้งบประมาณถึง 13% ของ GDP ในการดูแลรักษาสุขภาพ กลับพบว่า มีอายุที่สั้นกว่าประเทศอื่นๆ

จากงานมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำการศึกษา โดยใช้ระยะเวลา 34 ปีในการสังเกตและเก็บข้อมูลประชากรสหรัฐอเมริกา ได้ข้อปฏิบัติตาม 5 ข้อ จะทำให้อายุยืนเพิ่มมากขึ้นอีก 12 ถึง 14 ปี โดยสาเหตุที่ประชากรสหรัฐอายุสั้น เนื่องจาก "โรคอ้วน"

สำหรับคนที่ไม่ได้ทำตามข้อหาดังกล่าวมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 60.7% และตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าถึง 51.7 %

ดังนั้นถ้าหากชอบแก้ตัวของเราเองในการปฏิบัติ 5 ข้อดังกล่าวและเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต ให้ดูและรักษาสุขภาพมากขึ้นก็จะทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น โดย 5 ข้อดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวเลย เพียงเริ่มจากการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกาย 30 นาทีทุกวัน และรอบเอวจะต้องอยู่ที่ 0.4 ถึง 0.5 ของความสูง ดื่มไวน์ไม่เกิน 1-2 แก้วต่อวัน รวมถึงห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด และนอนหลับอย่างเพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งคิดเป็นการหลับลึกและนอนฝันอย่างน้อย 1 ชั่วโมง 50 นาที

จากข้อมูลพบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อถึงร้อยละ 71 แบ่งเป็นคนไทย 10.7 ล้านคนสูบบุหรี่ ร้อยละ 25 ออกกำลังกายไม่เพียงพอในผู้สูงอายุ รวมถึงรับประทานน้ำตาลสูงกว่าปริมาณที่แนะนำถึง 5 เท่า และรับประทานโซเดียม สูงกว่าปริมาณที่แนะนำ 1.5 เท่า

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคนและในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอีก 9 ล้านคน ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักประสบปัญหา "โรคอ้วน" ในช่วงวัยแก่ ซึ่งยังไม่รวมถึงโรคอัลไซเมอร์หรือที่หลายส่วนมากเรียกว่าโรคเบาหวานประเภทที่ 3 เพราะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานก็จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ประกอบด้วย

ขณะที่ผลจากการวิจัยพบว่าการนอนน้อย(นอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมง)อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น 4.5 ถึง 7 กิโลกรัม เพราะทำอะไรโฮโมนต่างๆทำงานผิดปกติ รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งและเบาหวานมากขึ้น คณะที่การหลับลึกจะเป็นการฟื้นฟูสมองและป้องกันโรคอัลไซเมอร์อีกอย่างหนึ่ง

เมื่อพูดถึงนโยบายเรื่องการดูแลสุขภาพ พบว่า บริการ "30 บาทรักษาทุกโรค" เป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่หากมองย้อนกลับไปสิ่งเหล่านี้คือ "บริการรักษาโรค" ไม่ใช่ "บริการรักษาสุขภาพ"

ในปี 2018 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ใช้งบประมาณกว่า 21,000 ล้านบาท ซึ่งหากมองตัวเลขนั้นจะพบว่าประเทศไทยใช้งบประมาณกว่าร้อยละ 50 ในการรักษาโรค เส้นทางในอนาคตผู้สูงอายุ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็จะทำไปให้จำเป็นต้องใช้งบประมาณในการรักษาโรคเพิ่มมากขึ้น

ขณะที่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในช่วงที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ในการพบว่า เซลล์สามารถกลืนกลิ่นตัวเองได้ในการดูดซับของเสียและนำของเสียเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจะทำให้เซลล์ต่างๆแข็งแรงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้จะอายุเพิ่มมากขึ้น นั่นหมายถึงอายุที่ยืนยาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายจะกระตุ้นกระบวนการให้เซลล์ฟื้นฟูตนเอง

การออกกำลังกายก่อนจำเป็นที่จะต้องออกอย่างสม่ำเสมอแต่ไม่มากเกินไป จากการวิจัยในประเทศเยอรมัน พบว่า ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีปัญหาเรื่องโรคสมองเสื่อมช้ากว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายถึง 11 ปี นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ดศึกษาชีวิตของนักวิ่งในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไปพบว่า ร่างกายของนักวิ่งเสื่อมสภาพช้ากว่าบุคคลทั่วไปถึง 16 ปี ขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า "สารต้านอนุมูลอิสระ(ที่เป็นอาหารเสริม)" ไม่ได้ทำให้อายุยืน เพราะจากการวิจัยโดยการทดลองให้ผู้ที่สูบบุหรี่รับประทานสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นอาหารเสริมกับต้องหยุดกลางขันเพราะผู้สูบบุหรี่มีแนวโน้มเสียชีวิตสูงมากขึ้น

"มีอายุยืนยาวเพิ่มมากขึ้นก็หมายถึงจะสามารถที่จะทำงานหารายได้เพิ่มมากขึ้นและเมื่อมีรายได้เพิ่มมากขึ้นก็สามารถที่จะเก็บเงินไว้ใช้ชีวิต หลังเกษียณได้ซึ่งหากลองคำนวณจะพบว่า ชีวิตหลังเกษียณจะมีเงินมากกว่าผู้ที่เกษียณอายุตอน 60 ปีและไม่ทำงานหาเงินอื่นๆเพิ่มเติม ซึ่งหากอายุ 75 ปีและมีเงินเก็บ 10 ล้านบาทเท่ากับว่าเมื่ออายุถึง 75 ปีเงินจะหมดทันที ดังนั้นหากรักษาสุขภาพตั้งแต่วันนี้ก็จะมีเงินเก็บและลดภาระให้กับประเทศชาติในช่วงที่ใกล้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ" ดร. ศุภวุฒิ  กล่าวทิ้งท้าย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0