โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เปิดกฎหมายห้าม "จอด-ขี่" มอเตอร์ไซค์บนฟุตปาธ ทั้งวินทั้งคนทั่วไปโดนหมด!!

Amarin TV

เผยแพร่ 22 พ.ค. 2562 เวลา 03.32 น.
เปิดกฎหมายห้าม
กลับมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์อีกครั้ง สำหรับกรณีการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์บนทางเท้า ซึ่งเหตุการณืล่าสุดถูกเผยแพร่โดยผู้ใช้ทวิตเตอร

กลับมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์อีกครั้ง สำหรับกรณีการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์บนทางเท้า ซึ่งเหตุการณืล่าสุดถูกเผยแพร่โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @MooNatcassy ที่ได้เผยแพร่ภาพที่ถ่ายจากบริเวณป้ายรถเมล์ฝั่งตรงข้ามปากซอยลาดพร้าว101 ที่มีรถมอเตอร์ไซค์จำนวนมากขับขี่ขึ้นมาจอดติดบนฟุตปาธ จนผู้คนไม่สามารถเดินผ่านไปได้

สรุปนี่ทางเท้าคนเดินหรือทางของมอเตอร์ไซค์ คือจอดติดแบบเดินไม่ได้เลย จะแก้ไขยังไงคะ มีทุกเช้าเลย @ป้ายรถเมล์ลาดพร้าว101 @js100radio #ถนนลาดพร้าว pic.twitter.com/KamaNUAwqC

— MooNatCassy (@MooNatcassy) 22 พฤษภาคม 2562

จากข้อมูลตาม พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (11) ได้กำหนดให้ ทางเท้าเป็นพื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดินซึ่งอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของทาง หรือทั้งสองข้างของทาง หรือส่วนที่อยู่ชิดขอบทางซึ่งใช้เป็นที่สำหรับคนเดินเท่านั้น ดังนั้นการที่มีรถจักรยานยนต์ขับบนทางเท้า ถือว่าเป็นการละเมิดต่อผู้ที่เดินสัญจรไปมาบนทางเท้า และผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก 2522มาตรา 43(7) (8) “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น” หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่400-1,000 บาท ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเห็นสามารถดำเนินการจับปรับได้ทันที

นอกจากนี้ ในกรณีที่จอดรถจักรยานยนต์อย่างเดียว แต่ไม่ได้ขับขี่ก็ถือว่าเป็นการจอดรถกีดขวางทางเท้าก็จะมีความผิดเช่นกันแต่จะเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2535 มาตรา 17 (2) “ห้ามมิให้ผู้ใดจอดหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคาร หรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้”

และมาตรา 50 “ในกรณีที่มีการกระท าความผิดหรือมีเหตุอันสมควรว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมผู้กระท าความผิดหรือผู้ที่ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดนั้นพร้อมด้วยยานพาหนะ เครื่องมือ และสิ่งของที่ใช้ในการกระทำความผิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมายได้” หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติก็ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจหากพบเห็นก็สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้ทันทีเช่นเดียวกัน

ในกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จะมีความผิดเพิ่มเติม โดยหากถูกดำเนินคดีในครั้งที่ 1 จะห้ามไม่ให้วิ่งรถ 1 เดือน ครั้งที่ 2 ห้ามวิ่งรถเป็นเวลา 3 เดือน และในครั้งที่ 3 เป็นเวลา 6 เดือน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0