โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เทรนด์โคเวิร์คกิ้งสเปซจะพลิกโฉมหน้าของธุรกิจในอนาคตอย่างไร

Positioningmag

อัพเดต 15 ต.ค. 2561 เวลา 05.20 น. • เผยแพร่ 15 ต.ค. 2561 เวลา 05.59 น.

อีกไม่นานเราคงได้เห็นการทำตลาดโคเวิร์กกิ้งสเปซ (Co-Working Space) จากอินเทอร์เน็ตที่หลากหลายขึ้นในเมืองไทย เมื่อเริ่มมีผู้ประกอบการต่างชาติบุกเข้าสู่ธุรกิจนี้มากขึ้น โดยมาพร้อมความเชี่ยวชาญด้านการจัดสรรพื้นที่ที่ตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่จากประสบการณ์การทำธุรกิจที่มากกว่า 

แบรนด์หนึ่งในธุรกิจผู้ให้บริการธุรกิจ Co-Working ที่กำลังขยายธุรกิจอย่างหนักคือ WeWork บริษัทสัญชาติอเมริกา ที่ตอนนี้มีสาขากว่า 150 แห่งในกว่า 15 ประเทศทั่วโลก    

WeWork เป็นผู้ครอบครองพื้นที่สำนักงานเอกชนรายใหญ่ที่สุดในลอนดอน และใหญ่เป็นอันดับสองในแมนฮัตตัน มลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอมริกา ปัจจุบันมีที่ตั้ง 24 แห่งในลอนดอนและมีสมาชิกกว่า 33,000 รายทั่วทั้งสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็น บริษัท ที่มีค่ามากที่สุดเป็นอันดับสองของโลกต่อจาก Uber หลังจากกวาดเงินจากการระดมทุนรอบใหม่สูงถึง 760 ล้านดอลลาร์

ทำให้ปัจจุบันบริษัท WeWork มีมูลค่าสูงถึง 20,000 ล้านดอลลาร์ แถมยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SoftBank  เป็นแบคอัพ ทั้งยังหาพันธมิตรจากคนในท้องถิ่นเพื่อสะดวกต่อการขยายตลาดที่ต่างประเทศในอนาคตอีกด้วย

บริษัทแบบไหนที่เหมาะกับโคเวิร์กกิ้งสเปซ?

โดยปกติแล้ว บริษัท ด้านไอที สตาร์ทอัพ จะเหมาะและตอบโจทย์กับการทำงานที่ใช้พื้นที่แบบโคเวิร์กกิ้งสเปซ แต่ช่วงหลังบริษัทขนาดกลางและใหญ่ก็เริ่มหันมาสนใจโคเวิร์กกิ้งสเปญเช่นกัน

เพราะมีข้อดีตรงความยืดหยุ่น รวมไปถึงประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการเริ่มธุรกิจใหม่ๆ  และพื้นที่ทำงานลักษณะนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากกว่าที่คิด รวมทั้งเริ่มมีการขยายให้มีหลากหลายประเภทมากขึ้น

การขยายตัวทั่วโลกของ ธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซ 

ธุรกิจ Co-Working Space พัฒนาไปสู่ปรากฏการณ์ทั่วโลกและค่อนข้างเติบโตอย่างรวดเร็ว ตามที่Ryan Simonetti ซีอีโอของ Convene กล่าวว่า 30% ของอสังหาริมทรัพย์ในสำนักงานการค้าจะอยู่ในรูปแบบ Co-Working Space ภายในปี 2030

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าพื้นที่สำนักงานมีการปรับตัวให้ยืดหยุ่นขึ้นถึง 22% ในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับการเติบโต 1% ในพื้นที่สำนักงานแบบดั้งเดิมในช่วงเวลาเดียวกัน

ความต้องการสำหรับการเช่าพื้นที่ระยะสั้นและแบบยืดหยุ่นจะเพิ่มขึ้นทั่วโลกและจะมีผู้ประกอบการขนาดใหญ่ระดับโลกใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นเพื่อพัฒนากลยุทธ์ด้านอสังหาริมทรัพย์ในระยะยาว  เช่น GM, IBM, Microsoft, Facebook ,Hsbc, Samsung

Zneimer ผู้จัดการทั่วไป WeWork ประจำสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ อธิบายว่า WeWork ไม่ได้เป็นเพียงแค่เวิร์กกิ้งสเปซที่มาแชร์พื้นที่การทำงานโดยใช้ Wi-Fi ร่วมกันเท่านั้น

แต่ยังมีลักษณะแบบ “community company” ที่มุ่งเน้นการทำงานร่วมกัน เทียบเท่าได้กับวัฒนธรรมของการทำงานรูปแบบใหม่  เพราะแบรนด์เชื่อว่าธุรกิจต้องการที่จะสร้างความรู้สึกของชุมชนโดยการเชื่อมต่อผ่านทางแอพลิเคชั่นของตน  รวมไปถึงจัดกิจกรรม Business Networking สร้างเครือข่ายทางธุรกิจและคอนเนคชั่นร่วมกัน 

ตลอดจนถึงการมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนจากหลากหลายสาขาอาชีพ สามารถแชร์ประสบการณ์หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากทำงาน และเกิดไอเดียสร้างสรรค์ ซึ่งจะเห็นได้ว่ารูปแบบจะไม่ตายตัว มีการปรับตัวเข้ากับโมเดลทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ทำให้บางที่มีฟิตเนส โรงหนัง หรือสถานบันเทิงอื่นๆ ตามมาด้วยเช่นกัน

กล่าวโดยสรุป เทรนด์การใช้พื้นที่ร่วมกันหรือโคเวิร์กกิ้งสเปญ กำลังมาแรงและได้รับความนิยมเพราะส่วนหนึ่งมีการปรับตัวเข้ากับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ มีจุดเด่นที่ความยืดหยุ่น  ร่วมถึงตอบโจทย์ด้านไลฟ์สไตล์และประหยัดในส่วนค่าใช้จ่ายซึ่งเหมาะกับยุคใหม่ที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ   

แต่ในอนาคตธุรกิจนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบไหนบ้าง คงต้องคอยติดตามดูกันต่อไป.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0