โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เทคโนโลยีไปไกลแค่ไหน "คนทำธุรกิจ" ควรรู้! "Microsoft" ย้ำต้องเติม "Digital Skills" สร้าง Tech Intensity

Marketing Oops

อัพเดต 22 ต.ค. 2562 เวลา 15.03 น. • เผยแพร่ 22 ต.ค. 2562 เวลา 15.03 น. • Ms.นกยูง
เทคโนโลยีไปไกลแค่ไหน

digital skills
digital skills

บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยียุคนี้ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเพื่อผู้บริโภค แต่ยังมองถึงประเด็น “การขับเคลื่อนเทคโนโลยี” เพื่อสร้างประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ทั้งการเพิ่มโอกาสในการขาย การพัฒนาระบบงาน หรือแม้แต่ความสะดวกในการรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูล

เรื่องนี้ยืนยันด้วยภารกิจของ Microsoft ประเทศไทย กับโจทย์ที่ต้องการผลักดันสังคมไทยสู่ Tech intensity”  และความท้าทายในการสร้างความเข้าใจด้าน Digital Skills แก่ภาคธุรกิจ โดย คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ เล่าถึงความท้าทายและมุมมอง ภายใต้ประสบการณ์ 2 ปี ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่า…

“ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีความกระตือรือร้นด้านดิจิทัลแทบทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และภาคอุตสาหกรรมการผลิต ที่นำ AI และเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้งานเพื่อสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจของตนเอง”

ภาคธุรกิจให้ความสำคัญ “เทคโนโลยี” มากขึ้น “Microsoft” ขยับตัวอย่างไร ?

กรรมการผู้จัดการ Microsoft ประเทศไทย อธิบายความเปลี่ยนแปลงของบริษัทให้ฟังว่า สิ่งที่สะท้อนได้ชัดเจน คือ โครงสร้างรายได้ที่เปลี่ยนแปลงไป จากการเติบโตของกลุ่มธุรกิจคลาวด์ที่กลายเป็นรายได้ 50% ของบริษัท คิดเป็นการเติบโตราว 2.5 เท่าตัวในช่วงที่ผ่านมา และคาดว่ายังสามารถเติบโตเป็น 70-80% ของรายได้ทั้งหมดภายใน 2-3 ปีนี้ ขณะที่กลุ่มธุรกิจไลเซนส์มียอดขายลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะธุรกิจดังกล่าวไม่สามารถทำราคาหลักพัน หรือหลายพันบาทได้แล้ว แต่พูดกันที่หลักร้อยบาทเท่านั้น

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์
ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์

ส่วนเทรนด์การลงทุน AI จากภาคธุรกิจ…ก็ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ Microsoft จับความต้องการดังกล่าวมาต่อยอดเป็นบริการเพื่อลูกค้า ซึ่งยุคนี้เรียกว่าเป็น Advance AI เพราะขีดความสามารถทางเทคโนโลยีในปัจจุบันพัฒนาเทียบเท่ามนุษย์แล้ว กระทั่งองค์กรในต่างประเทศที่ใช้นำ AI มาช่วยกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ สะท้อนว่าการใช้งาน AI ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีพื้นที่ฐาน แต่สามารถใช้ประโยชน์เชิงลึกได้มากกว่าที่หลายคนเข้าใจ แต่ประเด็นที่หลายคนมองว่าเทคโนโลยีเข้ามาแย่งงานบุคลากรไอทีนั้น มองว่า สายงานไอทีในปัจจุบันมีบทบาทใหม่และความหลากหลายมากขึ้นจากเดิม แม้เทคโนโลยีจะช่วยประหยัดเวลาหรือลดขั้นตอนความยุ่งยากโดยไม่ต้องพึ่งพาทักษะคนไอทีได้แต่ก็เป็นเพียงบางส่วน หากต้องใช้ทักษะเชิงลึกก็ยังเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการจากฝ่ายไอทีเช่นเดิม

แต่ประเด็นเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจนั้น Microsoft ยังให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยด้วย โดยมีการเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจ ซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาทิ…

– Ransomware (ไวรัสเรียกค่าไถ่) เพิ่มขึ้น 7.5 เท่าตัวในช่วงดังกล่าว

– ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมไซเบอร์ระหว่างปี 2018-2022 อาจมีมูลค่าถึง 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

– ระยะเวลาเฉลี่ยที่องค์กรจะสามารถตรวจจับความผิดปกติ เช่น ถูกแฮก อาจใช้เวลาถึง 99 วัน ซึ่งค่าเฉลี่ยในประเทศไทย…นานกว่านั้น

– 90% ของการโจมตีทางไซเบอร์มักมาในรูปแบบฟิชชิ่งอีเมล (อีเมลลวงให้ใส่รหัส กรอกข้อมูลส่วนตัว) ซึ่งมูลค่าที่เป็นเป้าหมายในการโจมตีแต่ละครั้ง สูงถึง 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

Data
Data

หมากเด็ด Microsoft กับทิศทางปี 2020

ทาง Microsoft มองว่า Advance AI ยังคงเป็นเทรนด์ที่ธุรกิจหลักจะใช้งานกันมากขึ้น ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญด้าน Cyber Security และ Data Privacy รวมถึงประเด็นการสร้าง Digital Skills ที่ไม่ใช่แค่การเพิ่มจำนวนบุคลากรไอทีแต่หมายถึงการทำให้ภาคธุรกิจมีทักษะทางดิจิทัลมากขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี

“แนวคิดที่ Microsoft ยังคงสนับสนุน คือ Tech Intensity หรือความแข็งแกร่งในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานกับภาคธุรกิจ จาก 2 องค์ประกอบสำคัญ ทั้ง Tech Adoption การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน และ Tech Capability การต่อยอดเทคโนโลยีที่ตนเองมีอยู่แล้ว ภายใต้จุดเด่นที่จะตอบโจทย์จากความต้องการจริงในราคาที่เข้าถึงได้ตั้งแต่ SMB กระทั่งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่”

นอกจากการสนับสนุน Digital Skills สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำอย่างเร่งด่วน คือ การเพิ่มจำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญไอที ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 3.4 แสนคน เพราะการเติมเต็มทักษะทางดิจิทัลถือเป็นหนึ่งในการเติมความสามารถแก่ภาคธุรกิจ

business
business

ทั้งนี้ Microsoft ยังเตรียมเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่อย่าง Microsoft Power Platform อีก 3 บริการ เพื่อตอบโจทย์เทคโนโลยีเพื่อภาคธุรกิจ อาทิ

Power BI : เพื่อความสะดวกในการดึงข้อมูลได้โดยง่าย ต่อยอดสู่การทำพรีเซนเตชั่น เปลี่ยนข้อมูลเป็นภาพ หรือกราฟ สร้างมุมมองใหม่ในการเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูล

PowerApps : ช่วยให้การสร้างแอป (เพื่อจัดเก็บข้อมูลธุรกิจ หรือข้อมูลภายในองค์กรที่ต้องเชื่อมโยงกันระหว่างสาขา) เป็นเรื่องง่าย ใช้เวลาน้อยกว่าที่เคย โดยไม่ต้องเขียนโค้ด เรียกว่าเป็นแอปพลิเคชันแนวใหม่ที่ภาคธุรกิจไม่ต้องไปจ้างหรือซื้อจากบุคคลอื่น โดยหากไม่ได้เป็นลูกค้า Microsoft Office ก็สามารถซื้อเฉพาะซอฟต์แวร์ PowerApps เพื่อใช้งานได้

Microsoft Flow : สามารถเชื่อมต่อข้อมูล เอกสาร และบริการ ผ่านระบบอัตโนมัติได้โดยสะดวก และไม่ต้องเขียนโค้ด

ส่วนการขับเคลื่อนธุรกิจในส่วนคอนซูเมอร์นั้น Microsoft ประเทศไทย ก็ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ทิ้งห่างไปไหน โดยเดือนธันวาคมก็จะมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่ม Surface ออกมาด้วย

Related Stories

KING-POWER-THAI-POWER
KING-POWER-THAI-POWER

คิง เพาเวอร์ ส่งแคมเปญ ‘พลังคนไทย พลังชุมชนไทย’ ดันผู้ประกอบการสินค้าพื้นบ้าน จัดงานแฟร์ใจกลางเมือง

เริ่มแล้ว POWER BUY EXPO 2019 – Power Your Future 17-26 พฤษภาคม 2562 ที่ ไบเทค บางน จัดเต็มเทรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าสุดล้ำ พร้อมโปรแรง

อะไรคือจุดร่วมสำคัญของ 3 ยักษ์ไอทีที่มูลค่าบริษัทสูงที่สุดในโลก

“ล้านลูก ล้านพลัง” King Power เดินสายสร้างแรงบันดาลใจ นักเตะรุ่นจิ๋ว

POWER MALL ผนึกกำลังพันธมิตรแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้ากว่า 200 แบรนด์ จัดงาน POWER MALL ELECTRONICA SHOWCASE มหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าไอทีครั้งยิ่งใหญ่ใจกลางเมือง

‘ธรรมชาติ Vs เทคโนโลยี’ เมื่อสองขั้วของความต่างมาบรรจบกันผ่านหลักคิดของ ‘PRUKSA Living Tech’ คุณภาพชีวิตดีๆ ก็ตามมา

อ่านบทความทั้งหมด ที่ MarketingOops.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0