โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เทคนิคบำบัดน้ำเสียในไร่นา ก่อนนำไปใช้แบบปลอดภัย

รักบ้านเกิด

อัพเดต 12 ธ.ค. 2562 เวลา 04.10 น. • เผยแพร่ 12 ธ.ค. 2562 เวลา 04.10 น. • รักบ้านเกิด.คอม

อาจารย์สมโภชน์ ทับเจริญ อดีตอาจารย์ และนักวิชาการเกษตรประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลาออกจากราชการ เพราะพ่อและแม่ของตนเริ่มแก่ชรามากขึ้น จนวันที่คุณแม่เสียชีวิต อาจารย์จึงลาออกมาใช้ชีวิตเป็นเกษตรกร บนที่ดินของพ่อและแม่จำนวนกว่า 50 ไร่ และเริ่มนำความรู้ทั้งหมดที่มีมาปรับพื้นที่ ปรับปรุงดิน ขุดร่อง ทำบ่อน้ำ และทำนา กลายเป็นที่นากลางกรุง ที่ให้คนมาแวะเยี่ยมชมได้ในทุกขั้นตอนของการทำนา และมีร้านเกษตรปลอดภัยให้ผู้คนได้แวะเวียนซื้อหากันได้ในกรุงเทพมหานครนี้เอง

Rice/8864_1_1.JPG
Rice/8864_1_1.JPG

การบำบัดน้ำเน่าเสียจากบ้านเรือนจากสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย ผงสบู่ ผงจากเครื่องซักฟอกที่ต่างประเทศเขาจะมีตัวบำบัด แต่ประเทศไทยไม่มีการบำบัดน้ำก่อนปล่อยลงสู่ลำรารสาธารณะ
อาจารย์จึงต้องใช้ความรู้ที่มีมาจัดการบำบัดนำเสียเอง

Rice/8864_2_2.JPG
Rice/8864_2_2.JPG

การบำบัดน้ำเน่าเสียจากบ้านเรือนจากสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย ผงสบู่ ผงจากเครื่องซักฟอกที่ต่างประเทศเขาจะมีตัวบำบัด แต่ประเทศไทยไม่บำบัดน้ำก่อนปล่อยลงสู่ลำรารสาธารณะ แต่เราก็มีกฎหมายออกมาเกี่ยวกับบ่อบำบัด แต่บ่อบำบัดจะถูกปิดหลังจากใบอนุญาตขอก่อสร้างหมู่บ้านเกิดขึ้น ถูกถมทิ้งกลายเป็นหมู่บ้านขึ้นมาบนบ่อบำบัด เลยปล่อยน้ำลงคลอง เราก็ดูดน้ำที่เสียขึ้นมาก็ผ่านการกรองโดยใช้ร่องน้ำพวกนี้เองในการกรองน้ำเน่าจากคลองบางขวดให้สามารถออกมาเป็นน้ำดีและใช้งานในการเกษตรได้

Rice/8864_3_3.JPG
Rice/8864_3_3.JPG

อาจารย์กรองน้ำโดยการเพิ่มระยะทางการไหลของน้ำ โดยการใช้ร่องน้ำที่เลี้ยวไปเลี้ยวมาในพื้นที่เพราะว่าน้ำที่เราเอาเข้ามา ถ้าเราดูดลงไปในบึงมันไม่มีการไหล พอไม่มีการไหลการดูดซับของตัวพืชจะไม่ดี เพราะฉะนั้นเราเองก็จะผ่านร่องน้ำมาในฤดูแล้งจะใช้เวลาประมาณหกเดือน เพราะว่าหน้าฝนของบ้านเรามันฝนไม่จริง น้ำมันท่วมมาแล้วก็ท่วมไป คือหายไปหมด แต่ของเราจะเป็นบ่อบำบัดอยู่ข้างหลัง ตรงนี้จะปลูกกะทกรกของโคลัมเบียที่ผลของมันออกมาจะเป็นเปลือกสีส้ม จะมีรสหวาน ไม่ใช่กะทกรกเปรี้ยว ก็จะทำร้านขึ้นมาแบบนี้ มีต้นไผ่เป็นแนว ในร่องนี้ก็ปลูกมะพร้าว เป็นมะพร้าวน้ำหอมทั้งหมด ประมาณ 300 ต้น ตรงกลางนั้นก็จะเป็นมะม่วงซึ่งเป็นมะม่วงสามฤดูทั้งหมด เป็นมะม่วงที่กินได้ทั้งเปรี้ยวและหวาน หวานตอนที่ลูกมันเล็กๆ มีเครื่องสูบน้ำ 100 กว่าแรง กลับท่อหน้า 10 แหย่ลงไปในคลอง แล้วก็ดูดผ่านท่อพีวีซี 12 นิ้วเข้ามาในบ่อ ซึ่งบ่อนี้กับตรงที่ข้ามมานั้นไม่ต่อกัน จะมีคันกั้นตลอด เพราะดูดน้ำเข้ามา น้ำจะถูกรากผักตบชวาพวกนี้กรองตะกอนและดูดสารพวกไนเตรต ไนไตรต์ที่มาจากผงซักฟอกที่มาจากสิ่งปฏิกูลทั้งหมด น้ำไหลผ่านเสร็จเรียบร้อยก็จะไหลไปตรงนี้ เข้าร่องโน้นทะลุร่องโน้นเข้าร่องนี้ วนไปแปดรอบ พอแปดรอบแล้วทะลุมาที่นี่ทะลุออกไปตรงโน้นวนอีกสี่รอบแล้วถึงจะไปออกปลายทาง การทำแบบนี้เองเราสามารถที่จะมีน้ำใช้ในหน้าแล้งที่เป็นน้ำดีอย่างพอเพียง ใช้แค่พืชน้ำตัวเดียวไม่มีระบบการตีอากาศ ไม่มีการใช้ระบบจุลินทรีย์เพราะว่าปริมาณน้ำ อาทิตย์ละ 1,000 คิวถึง 10,000 คิวที่เราต้องการ มันยังไม่จำเป็นที่จะต้องไปใช้การเพิ่มตัวบำบัดน้ำ แค่รากพืชกับระยะทางตรงนี้เอง ก็เพียงพอกับน้ำที่ออกมามีคุณภาพดีแล้ว ถ้าเกิดวันนี้เราต้องการน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 คิว อาจจะต้องตีอากาศเพิ่ม อาจจะต้องใช้จุลินทรีย์ในการที่จะบำบัดเพิ่มเติมลงไปทุกอย่างเลย

Rice/8864_4_4.JPG
Rice/8864_4_4.JPG

ที่นี่จะมีการวัดค่า ph ด้วย จะมีค่าดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่าเราจะเก็บน้ำทั้งหมด 10 จุด ทุก 150 เมตรทั้งหมด 10 จุด แล้วก็มาวางเรียงกัน จะเห็นได้ว่าน้ำสระมีสีที่เปลี่ยนแปลงกันไปอย่างไร ค่า ph เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
การบำบัดน้ำเสียของอาจารย์นั้น ตั้งแต่เดือนธันวาคมเริ่มนำน้ำเข้ามา หลังจากนั้นต้องหยุดเอาน้ำเข้าประมาณพฤษภาคม จะต้องใส่น้ำในบ่อกรองนี้ปีละประมาณหกเดือน หลังจากนั้นจะเริ่มนำผักตบชวาขึ้น เพราะว่าเมื่อฝนตกลงมาผักตบชวาพวกนี้จะมีปัญหาเวลาที่เราจะดูดน้ำออก น้ำจะไหลช้าลง พอลอกออกแล้วพวกนี้ก็จะไปกองรวมกันไว้ จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย แล้วปุ๋ยพวกนี้ก็นำไปผสมดินเพื่อปลูกพืชต่อไป ในหนึ่งปีคุณก็จะได้ปุ๋ยมาประมาณเป็น 100 ตันจากตัวของผักตบชวาที่คุณได้ใช้ในการบำบัดลักษณะนี้ เป็นผลที่เกิดขึ้น แล้วก็ได้น้ำที่สะอาดเป็นจุดหมุนเวียนของการที่จะเอื้อซึ่งกันและกันระหว่างพืชน้ำกับน้ำที่ต้องการ แล้วก็ได้ปุ๋ยด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0