โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เทคนิคบริหารหนี้

Wealth Me Up

เผยแพร่ 24 ม.ค. 2562 เวลา 04.55 น. • Wealth Me Up

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เศรษฐกิจไม่ดี รายได้มีโอกาสหดหาย แต่ค่าใช้จ่ายกลับเพิ่ม โอกาสเป็นหนี้คงมีมากขึ้น และคนที่เป็นหนี้อยู่แล้ว อาจมีปัญหาหนักกว่าเก่าจากดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

ดังนั้นการบริหารหนี้ หรือเทคนิคการเป็นหนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับปีนี้ มาดูกันดีกว่า เราจะทำยังไงดี

 

กันไว้ดีกว่าแก้

ไม่จำเป็น อย่าเป็นหนี้ เพราะการใช้เครดิต ต้องแลกด้วยต้นทุนเงินที่สูงขึ้นและเครดิตของเราเอง ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องแลก ก็แลกกับสิ่งที่จำเป็นจริงๆ เช่น การรักษาพยาบาล หรือบ้านที่อยู่อาศัย ฯลฯ และขอให้การก่อหนี้เป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะใช้ ดังคำกล่าวที่ว่า การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่การไม่เป็นหนี้เป็นสุขยิ่งกว่า

 

มีวินัยในการใช้จ่าย

การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย และงบประมาณ ไม่ว่าเป็นหนี้หรือไม่ วินัยการใช้จ่ายเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งเป็นหนี้ ยิ่งสำคัญ เพื่อเราจะได้เตรียมพร้อมสำหรับการใช้จ่ายที่จำเป็นต่างๆ

 

เข้าใจธรรมชาติหนี้แต่ละประเภท

อย่างเช่น สินเชื่อรถยนต์ เป็นหนี้แบบต้นลด ดอกไม่ลด ทำให้ดอกเบี้ยที่เราจ่ายจริง จะอยู่ประมาณ 2 เท่าของอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศ เช่น ประกาศอัตราดอกเบี้ย 3% ดอกเบี้ยที่เราจ่ายจริงจะประมาณ 6% ต่อปี หนี้บัตรเครดิต ดอกเบี้ยประมาณ 18-20% ต่อปี แต่ถ้าเป็นหนี้นอกระบบ ดอกเบี้ยจะสูงมาก อย่างที่เป็นข่าว วันละ 3% หรือเท่ากับ 1080% ต่อปี ดังนั้นลำบากยังไง ก็อย่าเป็นหนี้นอกระบบ

 

ก่อนก่อหนี้ หาข้อมูลแหล่งเงินกู้หรือสถาบันการเงินที่จะกู้ไว้หลายๆ แห่ง

ประเมินเงื่อนไขของเงินกู้ ให้รู้วิธีคิดต้นทุนของสินเชื่อ พิจารณาถึงความสามารถในการรับภาระหนี้ของเราเอง วิธีดูก็คือ ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือนต้องไม่เกิน 28% ของรายได้ และหากนับเฉพาะภาระหนี้เพื่อการบริโภค เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ที่ต้องชำระในแต่ละเดือนต้องไม่เกิน 15% ของรายได้

 

ถ้ามีรายได้เพิ่มขึ้น รีบเอามาชำระหนี้ให้เร็วที่สุด

ดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากอยู่แล้ว การรีบชำระหนี้ ก็เปรียบเสมือนเราเพิ่มผลตอบแทนเงินออมของเราเหมือนกัน

 

หนี้เก่าไม่หมด อย่าก่อหนี้ใหม่

ถ้าจ่ายหนี้เก่ายังไม่หมด อย่าเพิ่งก่อหนี้ใหม่ ไม่งั้นจะกลายเป็นดินพอกหางหมู

 

Refinance

กู้เงินจากแหล่งใหม่ที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่า เพื่อมาใช้หนี้เดิม โดยใช้สินทรัพย์ตัวเดิมเป็นหลักประกัน (Refinance) เดี๋ยวนี้มีสถาบันการเงินหลายแห่งให้บริการด้านนี้ ลองติดต่อดู แต่ต้องเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะต้องเสียด้วยว่า คุ้มหรือไม่ที่จะปรับหนี้

 

เจรจากับเจ้าหนี้โดยเร็ว

หากมีปัญหาการชำระหนี้  ต้องชี้แจงถึงความจำเป็น และปัญหา เพื่อแสดงให้เจ้าหนี้เห็นถึงความรับผิดชอบของเรา การแก้ปัญหาร่วมกันจะทำได้ง่ายขึ้น

 

*ห้ามเด็ดขาด “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” *

เพราะประวัติเราจะปรากฎในบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (Credit Bureau) แล้วเดี๋ยวนี้ หลายบริษัทโดยเฉพาะสถาบันการเงินเริ่มใช้ข้อมูลจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ มาประกอบการพิจารณารับพนักงานกันแล้ว

 

สู้คดีในชั้นศาล

การสู้คดีในชั้นศาลเป็นอีกทางเลือกที่สามารถทำได้ หากเรามีเหตุผลเพียงพอ ก็มีโอกาสที่ศาลจะช่วยต่อรองให้ได้รับผลประโยชน์ที่ดีขึ้น และหากหนี้ดังกล่าวเกิดจากความไม่เป็นธรรม ก็สามารถจะยื่นฟ้องเจ้าหนี้คืนได้ ซึ่งศาลจะสั่งระงับการบังคับคดีเอาไว้ชั่วคราว เพื่อให้เราต่อสู้คดีต่อไป

 

หากถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ต้องตรวจสอบว่าดำเนินการถูกต้องหรือไม่

ถ้าสู้คดีแล้วแพ้และถึงขั้นตอนการยึดหรืออายัดทรัพย์ เราก็ควรจะตรวจสอบด้วยว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดไปนั้น ดำเนินการถูกต้องตามกระบวนการหรือไม่ และมีการประเมินราคาต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่ เพื่อที่จะได้ไม่เสียประโยชน์ในส่วนนี้

 

กล่าวโดยสรุป ปัญหาหนี้ต้องแก้ที่ตัวเองสำคัญที่สุด ก่อนจะก่อหนี้ ควรคิดให้ดี ๆ ว่าเป็นหนี้ที่จำเป็นหรือไม่ และเรามีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้หรือไม่ เพราะหากโดนฟ้องร้องขึ้นมา โอกาสที่จะชนะคดีนั้นน้อยเหลือเกิน รวมถึงการที่จะพ้นภาระไม่ต้องจ่ายหนี้ที่ก่อไว้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเช่นกัน

 

#WealthMeUp

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0