โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เทคนิคการวัดค่า ph ในแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

รักบ้านเกิด

อัพเดต 21 พ.ย. 2562 เวลา 07.43 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2562 เวลา 07.43 น. • รักบ้านเกิด.คอม

กนกวรรณ อยู่สุข หรือ คุณวรรณ เจ้าของใบผักฟาร์มที่สนุกกับการเล่น และทำงานแบบเล่น ๆ จนใบผักฟาร์มมีอายุ 5 -6 ปีแล้ว การเล่นของคุณวรรณ จะอยู่บนพื้นที่ทั้งหมด 4 - 5 ไร่ มีทั้งส่วนที่เป็นผักไฮโดรโปนิกส์ 12 โต๊ะ และ สวนผลไม้อื่น ๆ เช่น สวนฝรั่ง ลําไย มะม่วง กล้วย ส่วนผักที่ปลูกหลัก ๆ มีอยู่สามชนิด ก็จะมีกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค แล้วก็พันธุ์ฟินเล่ ที่คุณวรรณดูแลอย่างใส่ใจ เพื่อให้ลูกค้าได้ผักที่มีคุณภาพดีที่สุด

ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปัจจัยสำคัญคือน้ำในการตั้งต้นที่สำคัญมาก ค่าที่ต้องตรวจวัดกันแทบทุกวัน คือ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของสารละลาย หรือที่เรียกกันว่า pH ของสารละลายในระบบ สาเหตุที่ต้องตรวจวัดค่า ph อย่างสม่ำเสมอนั้น เพราะว่าพืชจะเจริญเติบโตได้ดีจะต้องได้รับธาตุอาหารอย่างเพียงพอ และเหมาะสมต่อความต้องการ และมีปริมาณออกซิเจนในสารละลายอย่างเพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมค่า pH และ EC ของสารละลายเพื่อให้ผักสามารถดูดปุ๋ย หรือสารละลายธาตุอาหารพืชได้ดี ตลอดจนต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและออกซิเจนในสารละลายอาหารพืช ซึ่งคุณวรรณก็มีเทคนิควิธีในการวัดค่า ph อย่างง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

โดยปกติโดยทั่วไป จะมีการวัดค่า EC pH ตามที่สอนกันมา หรือใช้เครื่องมือในการวัด แต่สำหรับคุณวรรณ จะใช้วิธีสังเกตจากตัวต้นผัก ว่าเขาเป็นอย่างไร ใบมีลักษณะอย่างไร มีสีซีด หรือสีเหลืองรึเปล่า ยอดด้านในที่แตกออกมามีสีอะไร มีสีเขียวจางกว่าปกติ หรือสีเท่ากาบใบด้านนอก หากว่าใบมีสีเหลือง หรือ ยอดที่ขึ้นใหม่สีเขียวจาง แสดงว่าเขาขาดแร่ธาตุอาหาร ก็ต้องเติมอาหารให้เขา ซึ่งธาตุอาหารที่ใช้เติมนั้น คุณวรรณซื้อแบบสำเร็จรูปมาแล้ว เมื่อเห็นใบสีซีดจาง ก็เติมได้ทันที เทคนิควิธีนี้ อาจจะเป็นเทคนิคส่วนตัวที่ไม่ต้องวัดค่า ใช้วิธีสังเกตด้วยตาของเธอเอง

ธาตุอาหารที่คุณวรรณเติม เป็นแบบสูตรสำเร็จซึ่งทางบริษัทจัดเตรียมมาให้เรียบร้อยแล้ว คุณวรรณเพียงแค่ผสมตามสูตร
ต้องบอกว่าเรื่องธาตุอาหาร เรื่องปุ๋ย ทางคุณวรรณออกตัวว่าไม่เก่ง จึงใช้วิธีทำตามสูตรที่อาจารย์ให้มา แต่จะมาดู มาปรับเอง คือ ค่อย ๆใส่ธาตุอาหารลงไป สังเกตจากประสบการณ์ในการปลูกว่าต้นผักเล็ก ๆ เขาไม่ต้องการธาตุอาหารเยอะ คุณวรรณก็จะค่อย ๆ ใส่ ค่อยๆ เติมไปเรื่อย ๆ จนถึงก่อนเก็บ ก็จะหยุดใส่สักประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้มีสารตกค้างอยู่ในผัก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0