โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

เตือน! มนุษย์เงินเดือน “ปวดคอ-ปวดหลัง” อาจไม่ใช่ออฟฟิศซินโดรม

Manager Online

เผยแพร่ 21 ต.ค. 2562 เวลา 17.48 น. • MGR Online

หนุ่มสาวชาวออฟฟิศคงคุ้นหูกับ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ เป็นอย่างดี และคงจะรู้ว่า ‘อาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่’ จากการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เป็นจุดเริ่มต้นของโรคนี้ แต่หลายๆ คนก็ยังเลือกที่จะปล่อยไว้ โดยไม่ได้คำนึงว่า การละเลยอาการปวดเหล่านี้อาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงกว่า อย่าง ‘โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท’ ได้นพ.พิษณุ สุนทรปิยะพันธ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพญาไท 2 อธิบายว่า “คนทำงานออฟฟิศที่มักจะนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน ร่างกายใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ ทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวมากเกินไปจนเกิดอาการปวด มักเป็นบริเวณคอ ไหล่ และหลัง จึงเรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่า ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ซึ่งหากปล่อยปละละเลยต่อไปเรื่อยๆ จนปวดรุนแรงขึ้น ควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่ม เพราะอาจมีสาเหตุมากกว่าปวดกล้ามเนื้อ แต่มาจากกระดูกสันหลังเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกปลิ้นมากดทับเส้นประสาทที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งหากไปกดทับประสาทส่วนที่เชื่อมโยงกับอวัยวะไหน ก็จะทำให้ปวดร้าวลงไปถึงส่วนนั้น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีอาการรุนแรงกว่าออฟฟิศซินโดรม ปวดทรมานจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน และหากปล่อยไว้นานจนเส้นประสาททำงานได้น้อยลงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไปจนถึงไม่สามารถควบคุมแขนขาได้”

ปวดหลังนานกว่า 2-4 สัปดาห์ : หากมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณเอว คนไข้จะมีอาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง หากปล่อยทิ้งไว้จนเป็นหนักขึ้นกล้ามเนื้อขาจะอ่อนแรง ควบคุมการเดินและการขับถ่ายไม่ได้ หากมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณต้นคอ คนไข้จะปวดคอร้าวลงแขน แขนอ่อนแรงหรือชา ไปจนถึงไม่สามารถควบคุมการใช้มือได้เวลาไอ จาม หรือเบ่งจะปวดลึก เพราะเกิดแรงดันในไขสันหลัง : ถ้าพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ หากสงสัยว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แพทย์จะส่งคนไข้เข้ารับการตรวจ MRI หรือ CT Scan เพื่อวินิจฉัยดูความรุนแรงและหาแนวทางในการรักษา หากมีอาการไม่มากแพทย์อาจแนะนำให้ทานยาและทำกายภาพบำบัด แต่หากค่อนข้างรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด

จะออฟฟิศซินโดรมหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก็ป้องกันได้ ‘แค่เปลี่ยนพฤติกรรม’ยืนเส้นยืนสายให้บ่อย เพราะอาการป่วยของโรคเหล่านี้เกิดจากการอยู่ในท่าเดิมนานๆ จึงควรพักทุก 1 ชั่วโมง ขณะพักควรลุกขึ้นขยับร่างกายและยืดกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นการพักไม่ให้กล้ามเนื้อตึงเกินไปจนเกิดอาการปวดปรับท่านั่งให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้ หรือการจัดวางคอมพิวเตอร์ ควรปรับองศาให้พอดี ไม่รู้สึกว่าต้องยกตัวหรือโน้มตัวจนเกินไปเวลาทำงาน เวลานั่งเท้าต้องวางบนพื้นได้พอดี หากไม่ถึงควรมีที่รองเท้ามาช่วยเสริม ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรเล่นกีฬาที่เอ็กซ์ตรีมมากจนเกินไป เพราะการบิดตัวอย่างรวดเร็วและกระทันหัน มีส่วนทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการเสื่อมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้เหมือนกัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0