โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เตือน!! กินอาหารร่วมกัน ไม่ใช้ช้อนกลาง เสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

MThai.com

เผยแพร่ 23 ก.ค. 2562 เวลา 05.06 น.
เตือน!! กินอาหารร่วมกัน ไม่ใช้ช้อนกลาง เสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคร้ายที่ไม่มีอาการเฉพาะของโรค แต่จะมีอาการคล้ายกับโรคกระเพาะอาหาร
คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อดูวีดีโอ
คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อดูวีดีโอ

ดูวีดีโอ

The Doctor เรื่องเล่าเรากับหมอ ตอน โรคกระเพาะ

มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคร้ายที่ไม่มีอาการเฉพาะของโรค แต่จะมีอาการคล้ายกับโรคกระเพาะอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก จึงกลายเป็นภัยเงียบที่กว่าจะรู้ก็สายเกินไปแล้ว กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบกเทอร์ไพโลรี (Helicobacter pylori) ที่นิยมเรียกกันว่า เอช.ไพโลไร เป็นเชื้อที่ติดได้จากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อนี้เข้าไป โดยจะทำให้เกิดการอักเสบและเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเชื้อนี้จะแฝงอยู่ในกระเพาะอาหารจนกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารในที่สุด แม้แต่ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ กินอาหารเพื่อสุขภาพ ก็มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ทำให้เป็นโรคนี้ได้ เช่น พันธุกรรม หากคนในครอบครัวเป็นมะเร็งก็จะเพิ่มเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมากกว่าคนอื่นนั่นเอง

ปัจจัยเสี่ยงของโรค

  • พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัว พ่อ แม่ พี่น้อง เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นประจำหรือสูบบุหรี่จัด
  • มักชอบรับประทานอาหารแปรรูป หมักดอง ปิ้งย่าง เช่น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง
  • รับประทานผักผลไม้น้อยเกินไป
  • มีประวัติเป็นผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร 
  • ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นโรคแผลกระเพาะอาหาร จากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า เฮลิโคแบกเทอร์ไพโลรี

อาการของโรค

  • ช่วงเริ่มต้นมักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
  • คลื่นไส้เล็กน้อย
  • ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • ในกรณีที่ลุกลาม อาจอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ตัวเหลืองตาเหลือง

การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

  • หลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง สารก่อมะเร็งที่สำคัญก็คืออาหารที่ไหม้เกรียม ซึ่งทำให้ก่อมะเร็งกระเพาะอาหารได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง รมควัน เช่น ไข่เค็ม ไส้กรอก แฮม เบคอน ปลาร้า ปลาเค็ม เนื้อเค็ม เนื้อแดดเดียว
  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงมากเกินไป ลดปริมาณการกินผงชูรส
  • งดสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์มีผลโดยตรงต่อหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร
  • ใช้ช้อนกลาง สามารถรับเชื้อจากน้ำลายของผู้ร่วมวงอาหารหากไม่ได้ใช้ช้อนกลาง
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0