โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เตือนไทย อุตสาหกรรมข้าวไทยเตรียมล้มละลาย เวียดนาม แซง พันธุ์ดี กำไรงาม!

Khaosod

อัพเดต 08 ธ.ค. 2562 เวลา 14.14 น. • เผยแพร่ 08 ธ.ค. 2562 เวลา 14.14 น.
เตือนอุตสาหกรรมข้าวไทย

เตือนไทย อุตสาหกรรมข้าวไทยเตรียมล้มละลาย เวียดนาม แซง พันธุ์ดี กำไรงาม!

นายสมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมข้าวเตรียมล้มละลาย โรงสีทะยอยปิดกิจการจำนวนมาก หลังรัฐบาลเดินหน้าประกันราคาข้าว เกษตรกร ข้าวราชการที่รับผิดชอบการพัฒนาพันธุ์ข้าวไม่สามารถทำให้ความหอมของข้าวหอมมะลิคงอยู่ เป็นข้าวพรีเมี่ยมที่ราคาสูงกว่าคู่แข็งเกือบ 100% ครองส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ของตลาดรวมจากการส่งออกเริ่มถูกเบียดจากตลาดคู่แข่งอย่างเวียดนาม เห็นได้ชัดจากยอดส่งออกข้าวเวียดนามเมื่อ 8 ปีก่อนมีการส่งออกประมาณ 8 แสนตันปัจจุบันส่งออก 2 ล้านตัน โดยปี 2561 จีนนำเข้าจากเวียดนาม 6 แสนตัน ขณะที่จีนและฮ่องกง นำเข้าจากไทยรวม 3 แสนตัน

กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า เวียดนาม ไม่เคยหยุดพัฒนาพันธุ์ มีการพยายามลดต้นทุน เพิ่มเพิ่มสัดส่วนรายได้ของชาวนาต่อไร่ให้มากขึ้น โดยหากเทียบการทำนาของชาวนาเวียดนามข้าว 1 ตันจะมีกำไรประมาณ 5,000 บาทเพราะต้นทุนต่ำ ขณะที่ชาวนาไทย ข้าว 1 ตันจะมีกำไรเพียง 500 บาท หากรัฐบาลไม่เปลี่ยนแปลง ไม่พัฒนา ไม่นำชาวนาส่การพัฒนาและแข่งขันบน แพลตฟอร์ม หรือ สร้างสภาวะแวดล้อมใหม่ให้การประกอบอาชีพชาวนา เหมือนที่ขณะนี้ชาวนาเวียดนามทำนาบนแพลตฟอร์มใหม่แล้ว อุตสาหกรรมข้าวก็ตายกันหมด

“นโยบายแจกเงิน เอาเร็ว แบบที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีการพัฒนาในเรื่องวิชากการ ไม่มีการลดต้นทุน ไม่พัฒนาพันธุ์ แบบนี้ตายบกันทั้งหมด ต้นทุนสู้คู่แข่งไม่ได้ พันธุ์ข้าวหอมมะลิ ไม่หอมอีกต่อไป ในท่ามกลางที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลง คนลดการกินข้าวลง หันไปกินโปรตีนมากขึ้น เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจคู่ค้ามีปัญหา เงินบาทแข็งค่า คนขาย คนปลูก ไม่ปรับตัว ความหอมที่หายไป เป็นปัญหาใหญ่ของอนาคตข้าวไทย บอกไม่ได้ว่าใช้เวลานานไหม ความสามารถในการแข็งขันของข้าวไทยจะหายไปจากตลาดโลก แต่คิดว่าไม่นาน”

ด้านนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ผลการประกวดข้าวในเวที World’s Best Rice Contest สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเป็นผู้รวบรวมตัวอย่างข้าวหอมมะลิ ครั้งล่าสุดข้าวหอมมะลิไทย แพ้เวียดนาม ซึ่งเป็นการแพ้ 2 ปีต่อเนื่องจากปีก่อนประเทศกัมพูชาได้แชมป์ แต่หากย้อนกลับไปตั้งแต่มีเวทีการประกวดข้าวหอมมะลิโลกจำนวน 11 ครั้ง ไทยเป็นแชมป์มากสุดคือ จำนวน 5 ครั้ง ซึ่งไม่ยืนยันว่า ข้ามหอมมะลิไทยแย่ เพราะถ้าข้าวเวียดนามดีกว่าข้าวหอมมะลิไทยจริง ราคาต้องแพงกว่าข้าวหอมมะลิไทย

ขณะนี้ ข้าวมะลิของไทยยังขายได้ราคาสูงกว่าข้าวเวียดนามมาก หรือ แม้แต่ข้าวขาวธรรมดาของไทยยังขายได้ราคาสูงกว่าข้าวหอมมะลิเวียดนามอยู่ดี ส่วนข้าวพันธุ์ใหม่ของไทยที่กรมการข้าวพัฒนาขึ้นมีทั้งข้าวแข็ง ข้าวนิ่ม และข้าวมีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งพันธุ์พื้นเมืองปรับปรุง ข้าวสำหรับแปรรูป รวมกว่า 100 พันธุ์ กรมข้าวขายไม่เป็น กรมการข้าวในฐานะผู้พัฒนาพันธุ์ให้รัฐบาลหรือพ่อค้าช่วยขาย ดังนั้นเรื่องนี้ผู้ที่มีหน้าที่ขาย หรือโปรโมทต้องมาคุยกับกรมการข้าว ว่าตลาดต้องการข้าวแบบไหน เพื่อจะได้มีการพัฒนาตรงความต้องการ ไม่ใช่เอาแต่ต่อว่ากันไปมา

“เวทีประกวดข้าวหอมระดับโลก เหมือนสมบัติผลัดกันชม การจัดประกวดเป็นของเอกชน พ่อค้าข้าวจะเป็นคนเลือกข้าวส่งประกวด คนตัดสิน คือพ่อครัว ดังนั้น การแพ้ครั้งนี้จะเหมารวมว่าข้าวหอมมะลิไทยไม่ดีไม่ได้ เพราะหอมมะลิไทย เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก แม้ราคาเราจะสูงว่าคู่แข่งก็ยังสามารถขายได้ แต่การแพ้ครั้งนี้ น่าจะมีจากหลายสาเหตุ ที่ทำให้เกิดความกังวล เพราะขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยดี เงินบาทแข็งค่า เมื่อนำข้าวหอมมะลิขึ้นประกวดแล้วแพ้ จึงเกิดความกังวลว่าจะสู่คู่แข่งไม่ได้”

นายอนันต์ กล่าวว่า เวทีการประกวดข้าวหอมมะลิโลก ครั้งนี้กรมการข้าวกระทรวงเกษตรฯได้รับการต่อว่ามามาก เรื่องการพัฒนาพันธุ์ ซึ่งการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิของกรมการข้าว ไม่เคยหยุดนิ่ง ข้าวหอมที่มัทั่วประเทศมีจำนวนมาก ภาคเอกชนจะต้องเลือกว่าจะเอาพันธุ์อะไร จากพื้นที่ไหนไปประกวด การพลาดตำแหน่งครั้งนี้ไม่ได้แสดงว่า ข้าวไทยจะไร้อนาคต จะไม่สามารถส้กับคู่แข่งไม่ได้ ข้าวหอมมะลิไทยยังคงหอมไม่ต่างจากเดิม แต่หากมีการเลือกตัวอย่างที่ไม่ดี มีการเก็บไว้ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้ความหอมลดลง หากเก็บในอุณภิมิที่ไม่ดี หรือนำข้าวเก่าไปประกวดก็จะทำให้คุณภาพลดลง จะโทษการพัฒนาพันธุ์ไม่ได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0