โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เตือนภัยผู้เลี้ยงโคกระบือ พบโรคปากเท้าเปื่อยระบาดในสัตว์ หลายอ.นครศรีธรรมราช

สยามรัฐ

อัพเดต 17 พ.ย. 2562 เวลา 06.36 น. • เผยแพร่ 17 พ.ย. 2562 เวลา 06.36 น. • สยามรัฐออนไลน์
เตือนภัยผู้เลี้ยงโคกระบือ   พบโรคปากเท้าเปื่อยระบาดในสัตว์  หลายอ.นครศรีธรรมราช

ที่ ต.บางรูป อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช หลับทราบเรื่องการแพร่ระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย ซึ่งมีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสระบาดอย่างรุ่นแรงไปทั่วทั้งตำบล ทำให้เกษตรกรที่เลี้ยงวัวได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรุ่นแรงของโรคเกิดที่หมู่ 2, 4, 5, 6, และหมู่ 7 พบวัวติดเชื้อป่วยแล้วทั้งตำบลกว่า 300 ตัว และวัวเสียชีวิตไปแล้วกว่า 20 ตัว

นายบุญนาก ศรีกุมาร อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 38/1 หมู่ 2 ต.บางรูป ทำอาชีพสวนยางพาราและเลี้ยงวัวเป็นอาชีพเสริม มีทั้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์รวมถึงลูกวัวที่เลี้ยงไว้จำนวน 11 ตัว ติดเชื้อมีอาการเซื่องซึมนำลายฟูมปากไหลย้อยที่ต้องเฝ้าระวังรวม 5 ตัว และตายลงในวันนี้ 2 ตัว ส่วนที่ตายได้นำไปฝังกลบใช้ปูนขาวโรยในหลุมและรอบปากหลุมป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ ส่วนที่บ้านนายอำนวย หมวกทอง อายุ 67 ปี อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ 2 ต.บางรูป มีวัวอยู่ทั้งหมด 7 ตัว เป็นโรคปากเท้าเปื่อยทั้งหมดต้องเฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นได้ใช้ปฏิชีวนะสมานแผลและยาสีม่วงทาที่ปากและกลีบเท้าของวัวทุกตัว

นายนพดล กีรติกรพิสุทธิ์ นอภ.ทุ่งใหญ่ ทราบเรื่องที่เกิดขึ้นพร้อมสั่งการให้นายธนันดร ทองเนื้อสุก ปศุสัตว์อำเภอลงพื้นที่ไปพร้อมกับนายพรศักดิ์ นราอาจ เจ้าพนักงานสัตว์บาล และผู้ใหญ่บ้านของแต่ละพื้นที่นำยาปฏิชีวนะและยาต้านไวรัสไปฉีดให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนทุกหมู่บ้านที่มีการแพร่ระบาดของโรคอย่างเร่งด่วน ซึ่งทางปศุสัตว์อำเภอก็ได้ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและปฏิบัติกับวัวที่เลี้ยงไว้ให้ถูกวิธี เบื้องต้นให้ทายาสีม่วงหรือยาสมานแผลที่ริมฝีปาก นำแฮลกอฮอร์มาเช็ดที่กลีบเท้าป้องกันเชื้อโรค และให้สุมกองไฟป้องกันแมลงไม่ให้เข้าใกล้วัวเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ส่วนยาฉีดทางเจ้าหน้าที่จะเข้ามาฉีดให้กับวัวที่ติดเชื้อเอง เนื่องจากยามาราคาแพงและต้องฉีดให้ถูกวิธี ที่สำคัญในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยห้ามมีการเคลื่อนย้ายสัตว์โดยเด็ดขาด

สำหรับการระบาดล่าสุดในพื้นที่นครศรีธรรมราช มีการพบการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์กีบแล้ว 5 อำเภอ โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช เร่งเข้าควบคุมพื้นที่การระบาดและแจ้งเตือนให้ประชาชนที่เลี้ยงสัตว์กีบหากพบความผิดปกติของสัตว์ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0