โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เตรียมตัวให้พร้อม!! ชิมช้อปใช้เฟส 2 เริ่ม 23 ต.ค.นี้

The Bangkok Insight

อัพเดต 16 ต.ค. 2562 เวลา 17.30 น. • เผยแพร่ 16 ต.ค. 2562 เวลา 23.09 น. • The Bangkok Insight
เตรียมตัวให้พร้อม!! ชิมช้อปใช้เฟส 2 เริ่ม 23 ต.ค.นี้

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า โครงการชิมช้อปใช้เฟส 2 จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในวันที่ 22 ตุลาคม 2562 และจะเริ่มให้มีการลงทะเบียนในวันที่ 23 ตุลาคม 2562 ทันที เนื่องจากโครงการมีกระแสการตอบรับที่ดี

ขณะนี้สศค.อยู่ระหว่างการสรุปกับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง เพื่อสรุปจำนวนคนที่ลงทะเบียนเพิ่ม โดยจะได้สิทธิ์ใช้เงิน g-Wallet เป๋า 2 เท่านั้น แต่จะมีสิทธิ์จูงใจเพิ่มเติมจากคืนเงินให้ 15 % ของการใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาท หรือได้เงินคืน 4,500 บาท เป็นได้คืนเงิน 20 % โดยหากฝ่ายนโยบายเห็นชอบก็จะให้สิทธิ์ดังกล่าวกับผู้ที่ได้สิทธิ์ในเฟส 1 ด้วย

ส่วนมาตรการชิมช้อปใช้ เฟส 1 ได้มีการส่ง SMS ยืนยันให้กับผู้ได้รับสิทธิ์ครบ 10 ล้านรายแล้ว โดยมีผู้เข้ายืนยันตัวตนในแอพพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว 9,606,300 ราย โดยยืนยันตัวตนสำเร็จ 9,260,223 ราย ผ่านทั้งช่องทางแอพพลิเคชันและที่สาขา

ในการใช้จ่าย 19 วันแรก มีผู้ใช้สิทธิ์ 8,519,390 ราย ใช้จ่ายรวม 8,282 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดเล็กตามวัตถุประสงค์ของมาตรการฯ 82 % หรือ 6,793 ล้านบาท และการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขามีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่อง จากช่วงเริ่มต้นมาอยู่ที่ร้อยละ 18 หรือ 1,489 ล้านบาท โดยมีการใช้จ่ายกระจายครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ ไม่ได้กระจุกตัวเฉพาะในเมืองใหญ่ โดยการใช้จ่ายในกรุงเทพฯ คิดเป็นเพียงร้อยละ 13

โฆษกกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำถึงเป้าหมายของมาตรการ “ชิมช้อปใช้” ว่า เป็นการพยุงเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นไม่ให้ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลก ผ่านการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว โดยให้แรงจูงใจดึงผู้มีกำลังซื้อออกมาเดินทาง กระจายเม็ดเงินไปยังเศรษฐกิจฐานรากและเกิดความคึกคักในการจับจ่าย ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณในการสร้างแรงจูงใจจะคุ้มค่าเพราะก่อให้เกิด Multiplier Effect ในการบริโภคเอกชนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเศรษฐกิจไทย

ทั้งนี้ มาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมีการช่วยเหลือในภาคส่วนอื่น เช่น เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย และผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งภาครัฐยังคงมีการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำอย่างต่อเนื่อง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0