โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เด็กขี้ขโมย: ทำอย่างไรเมื่อลูกรักเป็นนักจิ๊ก

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 17 ม.ค. 2563 เวลา 06.20 น. • Motherhood.co.th Blog
เด็กขี้ขโมย: ทำอย่างไรเมื่อลูกรักเป็นนักจิ๊ก

เด็กขี้ขโมย: ทำอย่างไรเมื่อลูกรักเป็นนักจิ๊ก

นอกจากปัญหาด้านสุขภาพของลูกที่คนเป็นพ่อแม่กังวลแล้ว ปัญหาทางพฤติกรรมก็เป็นอีกสิ่งที่ทำให้กังวลได้ โดยเฉพาะปัญหาการเป็น "เด็กขี้ขโมย" หรือการมีพฤติกรรมชอบจิ๊กของ ที่ในบางครั้งต้นตอของมันมีความซับซ้อนมากกว่าความรู้สึกอยากได้ก็เลยหยิบมา แต่เราจะแก้ปัญหาได้ยังไง มาติดตามถึงต้นตอของปัญหานี้ด้วยกันค่ะ

หน้าที่ของพ่อแม่คือทำให้การขโมยไม่กลายเป็นนิสัย
หน้าที่ของพ่อแม่คือทำให้การขโมยไม่กลายเป็นนิสัย

เมื่อลูกรักกลายเป็นนักจิ๊ก

ไม่ว่าลูกวัย 5 ขวบของคุณจะพยายามนำของเล่นจากเนอเซอรี่กลับบ้าน หรือลูกวัยรุ่นของคุณที่จิ๊กยาทาเล็บสีสวยมาจากร้านค้า การที่คุณพบว่าลูกขโมยของบาอย่างมาเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่เหตุการณ์ "จิ๊กของ" แค่เพียงครั้งเดียวไม่ได้หมายความว่าชะตาชีวิตของลูกคุณจะต้องหันเหเข้าสู่เส้นทางแห่งการเป็นอาชญากร การตอบสนองต่อปัญหาของคุณจะสามารถป้องกันไม่ให้การขโมยกลายมาเป็นนิสัย

หากคุณพบว่าลูกของคุณกำลังขโมยบางอย่าง ให้เข้าไปแทรกทันที ใช้กลยุทธ์ของการฝึกวินัยสอนให้เขารู้ว่าการขโมยของเป็นสิ่งที่ผิด และขัดขวางเขาในการนำสิ่งของที่ไม่ได้เป็นของเขากลับมาด้วย

ทำไมเด็กถึงขโมยของ?

เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่จะเอาสิ่งของของคนอื่น ในวัยนี้พวกเขาขาดความเข้าใจที่ชัดเจนว่าการขโมยส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไรและจะเป็นอันตรายต่อตัวเขาเองได้อย่างไร พวกเขาอาจนำบางสิ่งบางอย่างจากร้านค้าเพียงเพราะพวกเขาไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์ แนวคิดของการซื้ออะไรบางอย่างอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เข้าใจง่ายสำหรับเด็กในช่วงวัยหนึ่ง

เป็นเวลาที่ดีในการเริ่มสอนลูกของคุณเกี่ยวกับความเห็นอกเห็นใจและทำไมการขโมยจึงผิด เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้ที่จะเคารพในทรัพย์สินของผู้อื่น จัดให้มีการสนทนาเป็นประจำเกี่ยวกับความสำคัญของการไม่ไปยุ่มย่ามกับข้าวของของผู้อื่น

เด็กวัยประถมต้นและประถมปลายมักต้องต่อสู้กับการควบคุมแรงกระตุ้น พวกเขาอาจเอาวัตถุที่พวกเขาต้องการใส่ไว้ในกระเป๋าโดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา คุณต้องสอนการควบคุมแรงกระตุ้นของเด็กเพื่อป้องกันการขโมย

เด็กวัยรุ่นอาจมองว่าพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงหลายอย่างเป็นเรื่อง “เจ๋ง”
เด็กวัยรุ่นอาจมองว่าพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงหลายอย่างเป็นเรื่อง “เจ๋ง”

นักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายอาจขโมยเพราะมัน "เจ๋ง" พวกเขาสามารถถูกกดดันโดยกลุ่มเพื่อนให้จิ๊กสินค้าจากร้านค้าหรือขโมยเงินจากกระเป๋าที่ไม่มีคนดูแลในห้องล็อกเกอร์ ในเวลาอื่น ๆ วัยรุ่นขโมยเพราะพวกเขาต้องการมีของสวย ๆ งาม ๆ ที่พวกเขาไม่สามารถจ่ายได้ ในที่สุดแล้ว วัยรุ่นบางคนขโมยเพื่อเป็นวิธีที่จะต่อต้านอำนาจ ในยุคนี้พวกเขามีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัญหาทางกฎหมายหากปัญหาการขโมยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ

ความผิดปกติของพฤติกรรมที่สำคัญหรือปัญหาสุขภาพจิตยังสามารถนำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมเช่นการขโมยได้ เด็กที่ดิ้นรนกับปัญหาการหย่าร้างของพ่อแม่อาจเริ่มแสดงออกบางสิ่งบางอย่าง หรือเด็กที่ดิ้นรนกับภาวะซึมเศร้าอาจใช้การขโมยเป็นวิธีจัดการกับความรู้สึกของเขา

ใช้ระเบียบวินัยในการรับมือกับการขโมย

ไม่ว่าลูกของคุณจะนำสิ่งของที่น่าสงสัยจากโรงเรียนมาบ้านซึ่งเขาอ้างว่าเป็นของขวัญ หรือคุณจับได้ว่าเขาเอาอะไรบางอย่างมาจากร้านค้า วิธีที่คุณจัดการปัญหาจะมีผลต่อโอกาสที่เขาจะขโมยอีกครั้ง

ลองใช้กลยุทธ์ทางวินัยเพื่อหยุดยั้งการขโมย:

  • เน้นเรื่องความซื่อสัตย์: การสนทนาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ให้บ่อยครั้งสามารถป้องกันการโกหกและการขโมยได้ ให้ผลลัพธ์ที่รุนแรงน้อยลงกับลูกเสมอในยามที่เขาพูดความจริง (แปลในทางตรงข้ามได้ว่า ถ้าคุณโวยวายใหญ่โตหลังเขาพูดความจริง เขาจะกลัวและไม่อยากพูด) และแสดงความชื่นชมเวลาที่คุณเห็นเขาซื่อสัตย์ต่อการกระทำผิด
  • สอนให้เขาเคารพในทรัพย์สิน: ช่วยเด็กเล็กให้เข้าใจความเป็นเจ้าของโดยทำให้เขารับผิดชอบข้าวของของเขา ตัวอย่างเช่น พูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาของเล่นของเขาอย่างทะนุถนอม สร้างกฎเกี่ยวกับการเคารพ โดยให้ทุกคนในบ้านเอ่ยปากถามก่อนที่จะหยิบยืมของ พูดคุยถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งของที่ยืมมาและส่งคืนให้เจ้าของ
  • คืนของที่ขโมยมา: เมื่อคุณจับได้ว่าลูกขโมยของมา คุณจะต้องนำสินค้าที่ถูกขโมยมาส่งคืนเข้าของและทำการขอโทษผู้เสียหาย ช่วยให้ลูกของคุณเขียนจดหมายขอโทษ หรือพาลูกไปคืนของด้วยตนเอง
  • อธิบายผลลัพธ์ของการขโมย: เด็กที่ชอบหยิบเอาของเล่นชิ้นโปรดของพี่ชายมาเล่นโดยไม่ได้รับอนุญาตอาจจะได้รับประโยชน์จากการที่เอาของเล่นของตัวเองให้พี่ยืมบ้าง การนำสิทธิพิเศษออกสามารถเป็นผลลัพธ์ที่สร้างความรู้สึกสมเหตุสมผลได้ เด็กที่โตกว่านั้นอาจจะต้องทำงานพิเศษเพื่อหารายได้ที่เขาต้องชดใช้ให้กับสินค้าที่ถูกขโมย
  • กลยุทธิ์แก้ปัญหาในอนาคต: ทำงานร่วมกันเพื่อใช้กลยุทธ์แก้ไขปัญหา ที่จะลดโอกาสในการขโมยในอนาคต คุณอาจจำเป็นต้องลบสิ่งล่อใจของลูกออกชั่วขณะ ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ลูกวัย 13 ปีของอยู่กับเพื่อน ๆ ที่ร้านค้าโดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล หรือคุณอาจต้องฝึกทักษะการควบคุมตนเองของเด็กเล็กให้ดีขึ้นก่อนที่เขาจะพร้อมที่จะเข้ากลุ่มเล่นอีกครั้ง
หากจัดการกับปัญหาเองไม่ไหว อย่าลังเลที่จะพึ่งผู้เชี่ยวชาญ
หากจัดการกับปัญหาเองไม่ไหว อย่าลังเลที่จะพึ่งผู้เชี่ยวชาญ

เมื่อใดที่ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

การขโมยอาจมีผลทางกฎหมาย ทางสังคม และทางอารมณ์มากมายสำหรับลูกของคุณ ซึ่งอาจถูกไล่ออกจากสถานรับเลี้ยงเด็ก ดังนั้นหากกลยุทธ์ด้านวินัยของคุณไม่สามารถใช้งานเพื่อควบคุมการขโมยของเขา สิ่งสำคัญคือการก้าวไปอีกขั้น

หากการขโมยกลายเป็นปัญหาต่อเนื่องสำหรับลูกของคุณ ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษามืออาชีพจะสามารถระบุสาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการขโมย บางครั้งปัญหาสุขภาพจิตหรือความผิดปกติของพฤติกรรมอยู่ที่ต้นตอของปัญหา ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตสามารถช่วยคุณและลูกรักของคุณด้วยกลยุทธ์ที่จะหยุดยั้งการขโมย

Motherhood เข้าใจดีว่าคงไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้ลูกเป็นเด็กขี้ขโมย แต่การแก้ไขปัญหานี้อาจจะมีความซับซ้อนแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละราย ยังไงก็ขอเอาใจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่สามารถบำบัดให้ลูกรักเลิกพฤติกรรมจิ๊กของได้ในเร็ววันนะคะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0